เจาะลึกการตลาดคนชอบอวด

เริ่มต้นปี 2565 ปีด้วยการอัปเดตพฤติกรรมของผู้บริโภคกันสักหน่อยว่ามีอะไรที่น่าสนใจบ้าง โดยที่ผ่านมามีข้อมูลของงานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการอวดของคนรุ่นใหม่ ซึ่งมีการนำเสนอแง่งุมต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปปรับใช้เป็นกลยุทธ์ต่างๆ ได้ มาดูกันว่ามีข้อมูลอะไรที่เป็นประโยชน์และนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการตลาดในปีนี้กันได้บ้าง

นายบุญยิ่ง คงอาชาภัทร หัวหน้าสาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ระบุว่า ซีเอ็มเอ็มยูได้ทำการสำรวจเพื่อนำมาเป็นข้อมูลงานวิจัยเรื่อง “BRAGGER MARKETING รู้ก่อนใครได้ใจคนชอบอวด” ศึกษาทัศนคติและตัวแปรสำคัญที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการอวดของผู้บริโภค และในภาคธุรกิจจะทำอย่างไรให้ผู้บริโภคสนใจสินค้าและบริการของตน

กระทั่งต้องการที่จะแสดงความคิดเห็นเชิงบวก ตลอดจนจะสามารถเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับผู้บริโภค เพื่อหากลยุทธ์ที่สามารถรองรับหรือสร้างโอกาสทางธุรกิจให้อยู่รอดต่อไป ซึ่งพบข้อมูลวิจัยที่มีประโยชน์ต่อนักการตลาด นักสร้างแบรนด์ เจ้าของกิจการ และอินฟลูเอนเซอร์หน้าใหม่หลากหลายประเด็น

อย่าง การอวด แบ่งได้ 2 ประเภท คือ การอวดแบบเปิดเผย (BRAGGER) มีลักษณะอวดแบบให้โลกรู้ว่าเราอวด และการอวดแบบถ่อมตน (HUMBLE BRAGGER) มีลักษณะอวดให้คนอื่นคิดว่าเราไม่ได้อวด จากการศึกษา ผู้บริโภคชอบให้ผู้ที่มีประสบการณ์ อินฟลูเอนเซอร์ รีวิว แนะนำสินค้าและบริการด้วยวิธีการอวดแบบถ่อมตัว แต่หากเป็นการรีวิว แนะนำสินค้าและบริการจากคนธรรมดาทั่วไป ผู้บริโภคมีแนวโน้มชอบวิธีการอวดแบบเปิดเผย ตั้งใจอวดมากกว่า

ซึ่งเมื่อศึกษาการอวดสไตล์ใดที่ผู้บริโภคคนไทยชอบด้วยการเปรียบเทียบการบอกเล่าเกี่ยวกับการบริการและสินค้า พบว่า ผู้บริโภคชอบการบอกเล่าเกี่ยวกับการบริการในลักษณะอวดแบบจริงจัง 51.2% มากกว่าการอวดแบบถ่อมตน 48.8% ขณะที่การบอกเล่าเกี่ยวกับสินค้า หากเป็นการอวดแบบจริงจัง เช่น ถ่ายรูปสินค้าแบรนด์เนมเห็นโลโก้ชัดเจน ผู้บริโภคมีผลตอบรับ 29.5% น้อยกว่าการอวดแบบถ่อมตนที่มากถึง 70.5% เช่น ถ่ายรูปแก้วกาแฟโพสต์ลงอินสตาแกรม โดยมีกระเป๋าแบรนด์เนมวางด้านข้างดูไม่ตั้งใจ นอกจากนี้การอวดยังนำไปสู่การรีวิวหรือการแชร์บนโลกออนไลน์ในรูปแบบบอกปากต่อปาก ซึ่งมีอิทธิพล สามารถกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการซื้อ โดยผู้มีรายได้มากกว่า 100,000 บาท มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมการซื้อตามมากกว่าระดับรายได้อื่นๆ

และแน่นอนว่า Gen Z มีแนวโน้มที่จะอวดมากกว่า Gen อื่น เนื่องจากเกิดมาในยุคที่มีอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยี มีความชำนาญในการเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างสะดวก และมีพฤติกรรมในการเข้าสังคมผ่านโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์มากกว่าเจนอื่น รวมถึงระดับรายได้ 15,000-25,000 บาท มีแนวโน้มที่จะอวดมากกว่าระดับรายได้อื่นๆ โดยให้ความคิดเห็นว่า “กว่าจะเก็บเงินซื้อได้ ไม่ใช่ง่ายๆ นะ พอได้มาแล้วก็อยากโชว์บ้าง ให้คนอื่นเห็นว่าเราก็มีนะ”

ส่วนผู้ที่ชอบแสดงตัวตนก็มีแนวโน้มที่จะอวดมากกว่า โดยแสดงความคิดเห็นว่า “ถ้าได้รับของขวัญจากแบรนด์ดังจะโพสต์แน่นอน ต้องการโพสต์ให้คนเห็น บางทีก็อยากเป็นจุดสนใจ” ซึ่งช่องทางที่คนนิยมใช้มากที่สุดในการอวดคือ อินสตาแกรม เพราะจะใช้โพสต์เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ เช่น วันนี้ไปกินข้าวที่ไหน กินกาแฟที่ไหน แต่งตัวอย่างไร ร้านอาหารที่ชอบคือร้านใด และอินสตาแกรมเป็นแพลตฟอร์มใช้งานง่าย โดยคอนเทนต์ที่คนชอบอวดมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ 1.สินค้าแบรนด์เนม 2.การบริการที่รู้สึกประทับใจ และ 3.ไลฟ์สไตล์ชีวิตประจำวัน ถ่ายรูปว่าอยู่ตรงไหน กินอะไร พร้อมรูปตนเอง แคปชันจะไม่ค่อยใส่ ใส่เป็นอีโมติคอน

อย่างไรก็ตาม เมื่อศึกษางานวิจัยการตลาดคนชอบอวดแล้วก็พบสิ่งที่ผู้บริโภคคนไทยไม่ต้องการอวดเช่นกัน คือ กิจกรรมตามกระแส เนื่องจากมีความรู้สึกว่าตนเองตกจะเป็นเหยื่อการตลาด และเมื่อกิจกรรมตามกระแสเกิดจำนวนมากก็ทำให้ผู้บริโภครู้สึกเหนื่อยที่จะตามในทุกๆ กิจกรรม รวมถึงบางกิจกรรมก็ไม่ใช่สิ่งที่สนใจมากพออีกด้วย.

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐตื่นสกัดสินค้าจีน

มีเสียงบ่นดังๆ มาจากผู้บริโภค ผู้ประกอบการไทย ที่พบว่าตอนนี้ทำการค้าขายได้ยากมากๆ เนื่องจากถูกสินค้าจีนเข้ามาตีตลาดอย่างหนักหน่วง ซึ่งธุรกิจจีนที่เข้ามาก็มีทั้งแบบถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย ทั้งในรูปแบบเปิดร้านค้าขายในไทยอย่างชัดเจน และอีกส่วนก็เข้ามาค้าขายในแพลตฟอร์มออนไลน์

ปากท้อง เรื่องแรก

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ความคาดหวังของประชาชนต่อ ครม.ชุดใหม่” ระหว่างวันที่ 21-23 สิงหาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,164 คน

อุตฯฮาลาลยังเดินต่อ!

ต้องยอมรับว่า หนึ่งในอุตสาหกรรมที่เริ่มเป็นที่รู้จักและได้รับการพูดถึงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา จากการผลักดันที่จริงจังของ “พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

เร่งเครื่องดึงนักท่องเที่ยว

จากสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมในช่วงเกือบ 7 เดือนเต็ม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-28 ก.ค.2567 ทั้งสิ้น 20,335,107 คน

ต้องเร่งแก้ปัญหาปากท้อง

หลังจากนายกรัฐมนตรีหญิง แพรทองธาร ชินวัตร รับตำแหน่งอย่างชัดเจน ทำให้ภาคเอกชนต่างก็ดีใจ เพราะไม่ทำให้ประเทศเป็นสุญญากาศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสิ่งแรกที่ภาคเอกชนอย่าง

แนะเจาะใจผู้บริโภคด้วย‘ความยั่งยืน’

คงต้องยอมรับว่าประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งจากผู้บริโภค ภาคเอกชน และภาครัฐ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัว