ผู้เขียนขอหยิบยกรายงานจากสถานทูตอื่นๆที่มีต่อเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองต่อจากตอนที่แล้ว โดยผู้เขียนได้คัดลอกมาจากหนังสือ ฝรั่งมองไทยในสมัยรัชกาลที่ 7: ตะวันออกที่ศิวิไลซ์ ของ ธีระ นุชเปี่ยม จัดทำโดยมูลนิธิประชาธิปก-รำไพพรรณี
“5.2 ตะวันตกมองการเริ่มต้นของระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญในสยาม
“ในการรับรู้และความเข้าใจของอัครราชทูตอังกฤษ หากกลุ่มหัวไม่รุนแรงสามารถจะเสริมฐานะทางอำนาจของกลุ่มให้เข้มแข็งได้ ‘….ก็จะมีความหวังสำหรับอนาคตของสยามมากกว่าที่เคยมีมาแล้ว ไม่ว่าจะในช่วงใดหลังการปฏิวัติเมื่อเดือนมิถุนายนที่แล้ว’
นอกจากนั้น เขายังมีทัศนะที่ค่อนข้างเป็นลบต่อสภาผู้แทนราษฎรขณะนั้นด้วยในการยุบสภาผู้แทนราษฎรครั้งนี้ ผู้นำรัฐบาลมิได้ดำเนินการเร็วเกินไปสภาแห่งนี้มิได้ตอบสนองวัตถุประสงค์ที่เป็นประโยชน์ และก็มิได้ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นใดๆ แทบจะไม่มีคนในในบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่มีประสบการณ์ทางการเมือง แต่ตราบใดที่ยังคงมีบทบาทในลักษณะของสำนักทะเบียน (registry office) ก็จะไม่มีพิษมีภัยอะไร อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังๆ มานี้ หลวงประดิษฐ์มนูธรรมและกลุ่มผู้สนับสนุน 3-4 คนในคณะรัฐบาล เมื่อเห็นว่าฝ่ายตนเป็นเสียงข้างน้อย ก็เริ่มกระตุ้นให้เกิดการต่อต้านขึ้นในบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นผู้ที่พวกเขาเสนอแต่งตั้งเข้ามาเมื่อมีการจัดตั้งสภาแห่งนี้ พวกเขาไม่มีกลุ่มผู้สนับสนุนนอกสภาแต่ในสภาผู้แทนราษฎรมีสมาชิกประมาณ 25-30 คนจากทั้งหมด 70 คนที่พวกเขาพึ่งพาได้ ในเดือนมิถุนายนจะมีการเลือกตั้ง ซึ่งจะทำให้มีสมาชิกทั้งจากการเลือกตั้งและแต่งตั้งรวมกัน 240 คน (น่าจะผิดพลาด เพราะตัวเลขที่ถูกต้องคือ ประมาณ 140 คน/ผู้เขียน) สภาผู้แทนราษฎรก็คงจะกลายเป็นสภาฝูงชน (mob assembly) และก็ไม่เป็นที่น่าแปลกใจที่ลู่ทางเช่นนี้จะทำให้พวกหัวไม่รุนแรงเกิดความวิตกหวาดผวา ข้าพเจ้าเห็นว่าแถลงการณ์ของรัฐบาล [ที่อธิบายเรื่องการออกพระราชกฤษฎีกายุบสภา] เป็นการแถลงข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา
อัครราชทูตอังกฤษได้ระบุในรายงานฉบับเดียวกันนี้ด้วยว่า หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินกลับมาพระนครในวันที่ 11 มีนาคม แล้ว ก็ประทับอยู่เพียง 2-3 วัน จากนั้นก็ได้เสด็จกลับไปหัวหินและประทับอยู่ที่นั่นตลอดมา
อัครราชทูตอังกฤษย้ำว่า ‘แน่นอน ไม่เป็นที่สงสัยเลยแม้แต่น้อยว่ารัฐบาลได้กระทำการไปตามที่พระองค์จะทรงปรารถนา [1] แต่ข้าพเจ้าคิดว่า รัฐบาลดำเนินการโดยดำริของตนเอง แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงให้ความเห็นชอบก็ตาม’
สถานอัครราชทูตฝรั่งเศสได้รายงานสถานการณ์ความตึงเครียดทางการเมืองที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้น ค.ศ. 1933 ไว้โดยละเอียดเช่นเดียวกัน ผู้ที่มีส่วนสำคัญในการจัดทำรายงานเหล่านี้ คือ พันโท รูซ์ ผู้ช่วยทหารประจำสถานอัครราชทูต ความเคลื่อนไหวสำคัญที่ปรากฏในรายงานมีตั้งแต่ข่าวลือเกี่ยวกับการก่อการรัฐประหารครั้งใหม่โดย ‘ฝ่ายฝักใฝ่เจ้า’ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ไปจนกระทั่งเหตุการณ์รุนแรงของ ‘กบฏบวรเดช’ ในเดือนตุลาคมต่อมา
การรัฐประหารครั้งใหม่ที่ลือกันว่ากำลังอยู่ในระหว่างเตรียมการนั้นถูกมองว่าเกี่ยวข้องกับสมาชิกของ ‘คณะชาติ’ ที่ได้ถูกปฏิเสธไม่ให้จัดตั้งขึ้น และในช่วงเดียวกันนี้ ก็มีความขัดแย้งรุนแรงในคณะรัฐมนตรีระหว่างพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี และพันเอก พระยาทรงสุรเดช ผู้นำสำคัญคนหนึ่งของคณะราษฎร
พันเอก พระยาทรงสุรเดช เสนอให้ยกเลิกการหยุดราชการในวันที่ 6 เมษายน ซึ่งเป็นวัน ‘จักรี’ และให้มีวันหยุด 3 วันเนื่องในโอกาสครบรอบวันก่อการปฏิวัติ วันที่ 24 มิถุนายน แทน
ธาดาได้ถาม พันเอก พระยาทรงสุรเดช ว่า เสียสติไปหรือเปล่า และลืมไปแล้วหรือว่า ราชวงศ์จักรีนั้นมีความสำคัญต่อประเทศอย่างไร พระยาทรงสุรเดชตอบว่า ถ้าข้าพเจ้าเสียสติ ข้าพเจ้าก็จะแสดงให้เห็นว่ายังสามารถกระทำการเรื่องเสียสติเรื่องอื่นๆ ได้อีก นับตั้งแต่นั้นมา ก็มีกรณีวิวาทเกิดขึ้นอีกหลายครั้งในที่ประชุมดังกล่าว’
การแสดงท่าทีต่อต้านราชวงศ์ของผู้นำคณะราษฎรบางคนเช่นที่กล่าวข้างต้น น่าจะเกี่ยวข้องกับการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้เสด็จพระราชดำเนินจากหัวหินเพื่อการพระราชพิธีฉัตรมงคลในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ด้วย
รายงานของพันโท รูซ์ กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ไว้ดังนี้
‘ตามหมายกำหนดการพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะต้องเสด็จพระราชดำเนินกลับจากแปรพระราชฐาน ณ พระราชวังหัวหินมายังกรุงเทพฯ เมื่อ 3 วันก่อน เพื่อทรงเป็นองค์ประธานฉลองครบรอบวันบรมราชาภิเษก ข้าราชการทุกฝ่ายได้เดินทางไปรอถวายการต้อนรับที่สถานีรถไฟ แต่ก็ต้องผิดหวัง เพราะพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้เสด็จพระราชดำเนินกลับมา วันรุ่งขึ้นมีประกาศแถลงการณ์สั้นๆ ในหนังสือพิมพ์ว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวรเล็กน้อย จึงต้องเปลี่ยนแปลงวันเสด็จพระราชดำเนินกลับ’
กล่าวคือ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ‘….จึงดูประหนึ่งว่าได้เกิดสงครามเย็นระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับคณะราษฎร…..’
รายงานฝรั่งเศสกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ‘….ที่แน่นอนก็คือ มีผู้นำหลายคนของคณะปฏิวัติ ซึ่งเคยกระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพต่อองค์พระมหากษัตริย์ในขณะที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ เกิดความอับอายขายหน้าที่ต้องประกอบพิธีขอพระราชทานอภัยโทษอย่างเอิกเกริก ประสงค์จะแก้หน้าตนเองด้วยการตัดลิดรอนเอกสิทธิ์ขององค์พระมหากษัตริย์ การเสนอให้ยกเลิกการจัดงานเฉลิมฉลองวันจักรี จึงเป็นเพียงแค่ฉากหนึ่งของสงครามเย็นนี้
นอกจากเรื่องนี้แล้ว ยังมีกรณีที่รัฐบาลตกลงให้นำช้างหลวงทุกเชือก (ยกเว้นช้างเผือก 2 เชือก) ไปปล่อยที่ป่าไม้สักอุตรดิตถ์เพื่อให้ ‘หากินเอง’ โดยรัฐบาลอ้างว่าเป็นการสอดคล้องกับมาตรการทางเศรษฐกิจ แต่ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงและต่อเนื่องในหน้าหนังสือพิมพ์ จนในที่สุด ต้องยกเลิกมาตรการนี้และนำช้างกลับมาทั้งหมด
พันโท รูซ์ ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า ‘ในสายตาของพวกเราชาวยุโรปแล้ว เรื่องช้างดังกล่าวดูจะไม่สู้สลักสำคัญแต่ประการใด แต่เรื่องช้างนี้กลับจะมีผลกระทบต่อคณะรัฐบาลใหม่ยิ่งกว่าเรื่องอื่นใดเสียอีก’”
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
[1] เป็นที่ประจักษ์ในเวลาต่อมาว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงเห็นด้วยกับพระยามโนปกรณ์นิติธาดาในเรื่องการตัดสินใจยุบสภา แต่ก็ทรงเข้าใจปัญหาความยากลำบากที่นายกรัฐมนตรีต้องเผชิญอยู่ขณะนั้น (เชิงอรรถนี้อยู่ในหนังสือ ฝรั่งมองไทยในสมัยรัชกาลที่ 7: ตะวันออกที่ศิวิไลซ์ ของ ธีระ นุชเปี่ยม จัดทำโดยมูลนิธิประชาธิปก-รำไพพรรณี)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คนเสื้อแดงแห่รับ 'ทักษิณ' เตรียมปราศรัยหาเสียงนายกอบจ. วันเดียว 3 เวที
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ช่วยหาเสียง ของนางสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช ผู้สมัครนายก
ย้อนวิบาก...3ป.67 ปิดฉาก...ก้าวไกล เปลี่ยน...นายกฯ เปิด...ระบอบทักษิณ I อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร
อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร : วันเสาร์ที่ 04 มกราคม 2568
'วันนอร์' ชี้นักการเมืองไม่ใช่อาชญากร บทลงโทษไม่ควรรุนแรงถึงขั้นตัดสิทธิ-ยุบพรรค
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์กรณีสถานการณ์การเมืองปี 2568 มีโอกาสเกิดคดีความที่นำมาสู่การยุบพรรคการเมือง และตัดสิทธิ สส. ว่า เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับองค์กรที่มีหน้าที่วินิจฉัย
'ชูศักดิ์' ดักคอฝ่ายค้านยื่นซักฟอก บอกปม 'ชั้น14-MOU44' คุยนานแล้วไม่มีน้ำหนัก
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีฝ่ายค้านเตรียมยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบมีการลงมติตามมาตรา 151 ในสมัยประชุมนี้ว่า ถือเป็นสิทธิของฝ่ายค้าน แต่ตนคิดว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้นขึ้นอยู่กับประเด็น
เชือดนิ่มแต่เจ็บจี๊ด! 'นิพิฏฐ์' ตอกกลับ 'เด็จพี่-พายัพ' ตำหนิ 'ชวน หลีกภัย'
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ โพสต์เฟซบุ๊กว่า สันดานเดียวกัน คบกันได้ ผมอ่านข่าว นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ และ นายพายัพ ปั้นเกตุ ออกมาวิจารณ์ท่านชวน
'ภูมิธรรม' มั่นใจรัฐบาลอยู่ครบเทอม 4 ปีแน่!
'ภูมิธรรม' มั่นใจรัฐบาลอยู่ครบ 4 ปี เชื่อปี 68 ไม่มีเหตุวุ่นวายนำสู่รัฐประหาร ชี้ ปชต.ไม่ควรสะดุดขาดตอน ย้ำสัมพันธ์ทหารดีมาก มอง 'ยิ่งลักษณ์' กลับไทยธรรมดาของคนอยู่ ตปท.