ถึงเวลาสกัดสินค้าจีนด้วยภาษี

ปัญหาสินค้าจีนทะลักเข้ามาในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน กำลังกลายเป็นโจทย์ใหญ่สำหรับรัฐบาลและหน่วยงานราชการของแต่ละประเทศ ที่จะต้องหามาตรการในการดูแลผู้ประกอบการภายในประเทศ เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันได้ จนทำให้หลายธุรกิจต้องล้มหายตายจากไปในที่สุด

สำหรับประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในเป้าหมายที่ทางการจีนส่งสินค้าเข้ามาขาย ทั้งในรูปแบบนำเข้ามาขายผ่านระบบการค้าปกติ และขายในรูปแบบอีคอมเมิร์ซ อย่างที่ทราบ ไทยกับจีนเรามีข้อตกลงเขตการค้าเสรี ซึ่งสินค้าหลายประเภทไม่มีภาษีนำเข้า ส่งผลให้มีสินค้าทะลักเข้ามาในไทยอย่างมหาศาล และสินค้าเหล่านี้มีราคาที่ถูกจนสามารถแย่งมาร์เก็ตแชร์จากสินค้าในท้องถิ่นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ถ้ายังปล่อยไว้แบบนี้ จะทำให้ธุรกิจของคนไทยอาจถึงวันพังพินาศก็เป็นไปได้ อย่างที่เห็นตัวอย่างของโรงงานหลายแห่งที่ต้องปิดตัวลงไป

 ต้องยอมรับจริงๆ ว่าสภาวการณ์ของไทยเวลานี้ เหมือนเมืองที่กำแพงป้องกันกำลังจะแตก สินค้าจำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้นจากการผลิตที่มากเกินความต้องการในจีน กำลังหาช่องทางระบายออก จนเกิดเป็นการดัมพ์ราคาเข้ามาในหลายตลาด ทั้งกลุ่มสินค้าอุปโภค บริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ สินค้าเหล่านี้ทะลักเข้ามาผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ และแทรกซึมเข้ามาแบบไม่รู้ตัว เผลอแว่บเดียวก็เข้ามายึดตลาดในบ้านเราไปเสียแล้ว

แต่ตอนนี้ดูเหมือนรัฐบาลของไทยเริ่มมีการตระหนักรู้แล้วว่า คงจะปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรมไม่ได้ เพราะแต้มต่อของผู้ประกอบการไทยไม่มีเลยเมื่อเทียบกับสินค้าจีนที่ทะลักเข้ามา โดยไม่มีการเสียภาษีทั้งศุลกากร ในส่วนภาษีนำเข้า รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งแตกต่างจากสินค้าที่ผลิตโดยคนไทย ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไปเต็มๆ

ล่าสุด ทางกระทรวงการคลังจึงได้ออกประกาศเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7% สินค้านำเข้าจากต่างประเทศที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1,500 บาท และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 ก.ค.ที่จะถึงนี้ ซึ่งเดิมทีไทยเราไม่เคยคิดจะเก็บภาษีจากส่วนนี้ เพราะต้องการอำนวยความสะดวกทางการค้า แต่ตอนนี้คงปล่อยปละแบบเดิมไม่ได้อีกแล้ว

มีข้อมูลจากกรมศุลกากรระบุว่า ปัจจุบันสินค้านำเข้าที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1,500 พันบาทนั้น มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วง 8 เดือนของปีงบประมาณ 2567 (ต.ค.66-พ.ค.67) พบว่ามีปริมาณสินค้าดังกล่าวราว 89 ล้านชิ้น คิดเป็นมูลค่าราว 2.7 หมื่นล้านบาท เติบโตกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 30-40% ซึ่งหากมีการจัดเก็บภาษีแวตดังกล่าว รัฐจะมีรายได้ราว 1.8 พันล้านบาท และคาดว่าทั้งปีงบประมาณ 2567 สินค้ากลุ่มนี้จะมีมูลค่าราว 3 หมื่นล้านบาท ดังนั้นหากคิดเป็นการจัดเก็บภาษีตลอดทั้งปีน่าจะอยู่ที่ราว 2.1 พันล้านบาท

หวังเหลือเกินว่า มาตรฐานนี้จะช่วยลดช่องว่างราคาสินค้าระหว่างผู้ผลิตในประเทศ พอจะสู้กับสินค้าจากจีนได้ แม้ว่าอาจจะช่วยอะไรไม่ได้มากนัก แต่ก็ยังดีกว่าปล่อยให้สินค้าจีนเข้ามาตีตลาดแบบนี้

แต่เมื่อเทียบกับความจริงจังของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ดูเหมือนมาตรการของประเทศเรานั้นดูเบาบางไปเลย โดยเฉพาะอย่างประเทศอินโดนีเซีย มีการออกคำสั่งห้ามซื้อขายสินค้าบนสื่อสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น TikTok, Facebook หรือ Instagram ตั้งแต่เมื่อปีก่อน เพื่อปกป้องธุรกิจในประเทศ ขณะเดียวกันก็มีแนวคิดจะเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน โดยตั้งกำแพงภาษี 100-200% เลยทีเดียว

แม้ว่ามาตรการของไทยจะเข้มข้นน้อยกว่า แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้ลงมือทำอะไรเลย และคงต้องมีการติดตามผลว่า เมื่อมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มนี้แล้ว จะสร้างผลดีต่อเศรษฐกิจของไทยอย่างไรบ้าง ต้องติดตามกันต่อไป.

 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร

จุดเปลี่ยนผ่านอุตฯยานยนต์

จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ประเทศไทยเริ่มเห็นทิศทางอุตสาหกรรมใหม่ๆ มากขึ้น และเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนากลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ ทั้งเครื่องมือแพทย์