เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ

รายงานอ้างแหล่งข่าวชาวพม่ารายหนึ่งซึ่งเคยเป็นครูโรงเรียนประถมในเขตอิรวดีเปิดเผยกับ Frontier Myanmar ว่าเขาถูกเพื่อนซึ่งเป็นผู้ต่อต้านรัฐบาลทหารด้วยกันหลอกไปทำงานที่ลาวโดยอ้างว่าเป็นงานบริการในธุรกิจท่องเที่ยว

แต่เมื่อไปถึงที่ทำงานซึ่งฉากหน้าเป็นกาสิโนในสถานบันเทิงครบวงจรแห่งหนึ่งใน SEZ (Special Economic Zone) ลาว เขาจึงรู้ว่าตัวเองถูกหลอกมาทำงานเพื่อเป็นตัวตายตัวแทนให้นายจ้างยอมปล่อยเพื่อนเขากลับบ้านเกิด

หลังจากนั้นเขาต้องร่วมปฏิบัติการ ‘เชือดหมู’ (pig butchering) ซึ่งเป็นศัพท์ที่กลุ่มทุนผิดกฎหมายใช้แทนการหลอกลวงเหยื่อในประเทศต่างๆ ทางออนไลน์

โดยเริ่มจากการสั่งให้แรงงานต่างชาติเหล่านี้สร้างบัญชีปลอมในสื่อโซเชียลต่างๆ ให้ดูร่ำรวย-น่าเชื่อถือ

จากนั้นจึงสั่งให้หาเหยื่อเพื่อชักชวนมาลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซีปลอม

ในระยะแรกจะมีการจ่ายเงินตอบแทนด้านการลงทุนให้เหยื่อตายใจ และหลอกให้เหยื่อเพิ่มเงินลงทุนมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงระดับที่ตั้งเป้าไว้ว่าได้กำไรแล้วจึงยึดเงินของเหยื่อและตัดขาดการติดต่อทั้งหมด

แหล่งข่าวชาวพม่าคนดังกล่าวมีการศึกษาระดับปริญญา สื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี จึงได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 3,000 หยวน (ประมาณ 1.3 ล้านจ๊าต)

และถูกสั่งให้หลอกลวงเหยื่อในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเป็นหลัก ซึ่งรวมถึงคนอเมริกัน

ระหว่างทำงานนายจ้างจะจับตาดูแรงงานเหล่านี้ตลอดเวลา อนุญาตให้ออกนอกสถานที่ได้แค่เดือนละครั้ง

ทั้งยังตั้งเป้าชัดเจนว่าแต่ละคนต้องทำเงินให้บริษัทต่อเดือนเท่าไร

ใครที่ทำไม่ได้ตามเป้าจะถูกลงโทษ ซึ่งมีทั้งการทุบตี อดอาหาร หรือบางรายที่คิดหลบหนีจะถูกซ้อมหรือถูกขายต่อให้ธุรกิจสีเทาอื่นๆ ที่ให้ค่าจ้างน้อยยิ่งกว่าเดิม

แต่ถ้าใครยอมจ่ายเงินชดเชยให้บริษัทสีเทาเหล่านี้ก็มีโอกาสได้รับการปล่อยตัว

ด้วยเหตุนี้ หลังจากที่แหล่งข่าวรายนี้บอกว่าตัวเองถูกใช้งาน ‘เยี่ยงทาส’ อยู่หลายเดือน เขาก็เลือกที่จะจ่ายเงินไถ่ตัวเองกลับประเทศบ้านเกิด

ทำให้ครอบครัวของเขากลายเป็นหนี้หนักยิ่งกว่าเดิมเพราะต้องกู้หนี้ยืมสินก้อนใหญ่มาจ่ายค่าไถ่ตัว

แต่เขารู้สึกว่ายังดีกว่าการหลอกคนมาทำงานแทนเหมือนกับที่เขาเคยถูกเพื่อนหลอก

ส่วนแหล่งข่าวอีกรายเป็นหญิงชาวพม่า ให้ข้อมูลว่าเธอทำงานที่ SEZ ลาวตั้งแต่ก่อนโควิด-19 ระบาด และเป็นพนักงานทำความสะอาดในสถานบันเทิงครบวงจร

ขณะที่แรงงานจากเมียนมาที่เข้ามายัง SEZ ในช่วงแรกๆ ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสีเทา เพราะส่วนใหญ่ถ้าไม่รับทำความสะอาดก็จะทำงานครัวหรือก่อสร้าง

แต่หลังจากโควิดบรรเทาลง รัฐบาลลาวเปิดรับนักท่องเที่ยว คนรุ่นใหม่จากเมียนมาที่มีการศึกษาสูงๆ และสื่อสารภาษาต่างชาติได้เริ่มมาทำงานให้เครือข่ายสแกมเมอร์เพิ่มขึ้น ซึ่งก็มีทั้งผู้ที่ถูกหลอกลวงและผู้ที่สมัครใจมา

แต่เมื่อต้องทำงานหลอกลวงคนและเจอสภาพการทำงานที่กดดันเพราะการตั้งเป้ารายได้ต่อเดือนของนายจ้างนั้นสูงมาก แรงงานเหล่านี้จึงพยายามหลบหนีหรือไม่ก็หาทางกลับประเทศ

 

รายงานของ Frontier Myanmar สอดคล้องกับรายงานของ ICG และ USIP ที่ระบุว่าการปราบปรามกลุ่มอาชญากรข้ามชาติของทางการจีนในเล้าก์ก่ายและสีหะนุวิลล์ของกัมพูชา

ทำให้กลุ่มทุนสีเทาเปลี่ยนเป้าหมายจากการหลอกลวงเหยื่อในประเทศจีนไปยังประเทศอื่นๆ แทน และมีการล่อลวงแรงงานจากหลายประเทศมาทำงานเพิ่มขึ้น ซึ่งรวมถึงคนเมียนมา มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บราซิล ไนจีเรีย จอร์เจีย และไทย

ขณะเดียวกัน การส่งแรงงานจากเมียนมาไปป้อนให้กับธุรกิจผิดกฎหมายใน SEZ ลาวยังเกี่ยวพันกับกลุ่มชาติพันธุ์ว้าอีกด้วย เพราะกองทัพว้า – UWSA (United Wa State Army) เป็นผู้ดูแลเขตปกครองตนเองในรัฐฉานของเมียนมา

ซึ่งด้านหนึ่งมีพรมแดนติดกับจีน อีกฝั่งติดไทย ไม่ไกลจากสามเหลี่ยมทองคำที่มีแม่น้ำโขงเชื่อมต่อไทย เมียนมา ลาว ทั้งยังเป็นเส้นทางลักลอบขนส่งสินค้าผิดกฎหมายในแถบนี้มานานแล้ว ไม่ว่าจะสัตว์ป่า ยาเสพติด อาวุธเถื่อน หรือการค้ามนุษย์

สำนักข่าวชายขอบบอกว่ารายงานของทั้ง 3 แห่งจึงสรุปใกล้เคียงกันว่าประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอื้อต่อการก่อเหตุของขบวนการผิดกฎหมายต่างๆ

โดยกรณีของเมียนมามีปัญหาความขัดแย้ง รัฐบาลทหารพม่าต้องรับมือกับกลุ่มติดอาวุธและการต่อสู้ของฝ่ายต่อต้าน พื้นที่ชายแดนจึงมักขึ้นอยู่กับอำนาจของกองกำลังติดอาวุธกลุ่มชาติพันธุ์ว่าจะจัดการหรือจะต่อรองผลประโยชน์กับกลุ่มอิทธิพลเถื่อนอย่างไร

อีกประเด็นที่สำคัญคือหลายประเทศแถบนี้มีปัญหาเรื้อรังเรื่องเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวพันการทุจริตรับเงินสินบนและอาจมีส่วนร่วมกับเครือข่ายอาชญากรรมเสียเอง

ขณะที่การก่อเหตุของกลุ่มอาชญากรข้ามชาติในยุคดิจิทัลก็ไม่จำกัดพื้นที่ สามารถหลอกลวงไปได้ไกลและอาจพบผู้เสียหายทั่วโลก

การตั้งฐานปฏิบัติการในประเทศเหล่านี้จึงช่วยให้กลุ่มอาชญากรมีโอกาสลอยนวลพ้นผิดได้มากกว่าการเสี่ยงก่อเหตุในประเทศอื่นที่มีระบบตรวจสอบและธรรมาภิบาลที่ดีกว่า

น่าเชื่อว่าหน่วยราชการไทยตรงชายแดนและที่โยงกับความมั่นคงก็ควรจะมีข้อมูลเหล่านี้พอสมควร

แต่เรายังไม่ได้เห็นการปฏิบัติการของฝ่ายไทยที่จะร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านที่เกี่ยวข้องในการประสานงานเพื่อปราบปรามเครือข่ายมิจฉาชีพข้ามชาติที่กำลังจะกลายเป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคงต่อประเทศต่าง ๆ ในแถบนี้อย่างน่าหวาดหวั่นยิ่ง

 

(แหล่งอ้างอิง: FrontierMyanmar, USIP, International Crisis Group, UNODC)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน

นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ

แหล่งค้ามนุษย์ใน 3 เหลี่ยมทองคำ

เขตเศรษฐกิจพิเศษหรือ SEZ บริเวณสามเหลี่ยมทองคำที่โยงกับไทยนั้นกลายเป็นประเด็นเรื่องอาชญกรรมข้ามชาติที่สมควรจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยอย่างจริงจัง

พรุ่งนี้ ลุ้นดีเบตรอบแรก โจ ไบเดนกับโดนัลด์ ทรัมป์

ผมลุ้นการโต้วาทีระหว่างโจ ไบเดน กับโดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ (27 มิถุนายน) เพราะอยากรู้ว่า “ผู้เฒ่า” สองคนนี้จะมีความแหลมคมว่องไวในการแลกหมัดกันมากน้อยเพียงใด

เธอคือ ‘สหายร่วมรบ’ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรค NLD คนสุดท้าย!

อองซาน ซูจีมีอายุ 79 ปีเมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา...และยังถูกจำขังในฐานะจำเลยของกองทัพพม่าที่ก่อรัฐประหารเมื่อกว่า 3 ปีที่แล้ว

อองซาน ซูจี: เสียงกังวล จากลูกชายในวันเกิดที่ 79

วันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมาคือวันเกิดที่ 79 ของอองซาน ซูจี...ในวันที่เธอยังถูกคุมขังเป็นปีที่ 4 หลังรัฐประหารโดยพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2021