“ความยั่งยืน” โอกาสการเติบโตทางธุรกิจ

สภาวะโลกร้อนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน เป็นตัวเร่งที่ทำให้ทั้งโลกต้องหันมาให้ความสนใจการไปต่อของโลกอย่างยั่งยืนมากขึ้น โดยเฉพาะภาคธุรกิจซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการก่อปัญหาภาวะโลกร้อน และเป็นความหวังในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ดังนั้นทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างตระหนักและร่วมกันแก้ปัญหา องค์กรจึงจำเป็นต้องมีความรู้ เพื่อดำเนินธุรกิจโดยไม่เพิ่มปัญหา หรือยิ่งไปกว่านั้นยังสร้างประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาก๊าซเรือนกระจก หรือปัญหาภาวะโลกร้อน

จนเกิดการผลักดันให้เกิดองค์กรต่างๆ เพื่อรับมือกับสภาพอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลงรุนแรงขึ้น

ซึ่งผลสำรวจของ บริษัท การ์ทเนอร์ จำกัด บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษา ระบุว่า ซีอีโอ 54% มองว่าธุรกิจของพวกเขาได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระดับปานกลางเป็นอย่างต่ำ และมากกว่าครึ่งหนึ่ง (51%) ยอมรับว่าสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาต้องอยู่ในขั้นของการปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานหรือปรับเปลี่ยนไปแล้ว

ทั้งนี้ คริสติน โมเยอร์ รองประธานฝ่ายนักวิเคราะห์ของการ์ทเนอร์ ระบุว่า ในขณะที่ซีอีโอมีการปรับกลยุทธ์ระยะยาวกันใหม่ ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่กำหนดกรอบการแข่งขัน สภาพเศรษฐกิจได้กระตุ้นให้เกิดกระแสการวกกลับของความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล หรือ ESG แม้ว่าจะมีการฟอกเขียว หรือ Greenwash ในองค์กรต่างๆ มากมาย และไปให้ความสำคัญกับผลกำไรจากต้นทุน อย่างไรก็ตาม พันธกิจภาพรวมของซีอีโอยังไม่เปลี่ยนไปแต่อย่างใด

นอกจากนี้ยังพบว่า บรรดาซีอีโอและผู้บริหารระดับสูงในองค์กรธุรกิจต่างๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมหลากหลาย ในกลุ่มรายได้และขนาดองค์กรแตกต่างกันออกไปมากกว่า 400 ราย จากทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชีย/แปซิฟิก ลาตินอเมริกา ตะวันออกกลาง และแอฟริกาใต้ มองว่าความยั่งยืนยังเป็นปัจจัยสำคัญของการทำธุรกิจที่อยู่ใน 10 อันดับแรกอย่างต่อเนื่อง โดยแซงหน้าเรื่องผลิตภาพ (Productivity) และประสิทธิภาพ (Efficiency) ขึ้นมาในปีนี้

ซึ่งผู้นำและนักลงทุนต่างทราบดีว่าองค์กรที่มีพฤติกรรมที่ไม่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมเป็นความเสี่ยงที่สร้างผลกระทบระยะกลางถึงระยะยาวต่อผลลัพธ์ทางธุรกิจ โดยมีราคาที่ต้องจ่ายมหาศาลหากละเลยปัจจัยในด้านสิ่งแวดล้อม และซีอีโอยังตระหนักดีว่าความท้าทายด้านความยั่งยืนจะสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ เพิ่มขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม การ์ทเนอร์ยังพบว่าผลกระทบใหญ่ที่สุดของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ซีอีโอกล่าวถึงคือ พลวัตการดำเนินงานมีถึง 30%, โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงด้านโลจิสติกส์ เช่น การจัดเก็บสินค้า การกำหนดเวลา และกำหนดเส้นทางการจัดส่ง หรือการย้ายสถานที่ ซึ่งรวมถึงการทำงานในพื้นที่ใกล้เคียง อยู่ในอันดับสอง 14% รองลงมาคือ ระบบอัตโนมัติ เทคโนโลยี และข้อมูล (13%)

ดังนั้นแนวทางหลักที่ซีอีโอใช้ความยั่งยืนขับเคลื่อนการเติบโตทางธุรกิจ ได้แก่ การใช้ผลิตภัณฑ์และบริการที่ยั่งยืน 33%, ยึดแนวทางปฏิบัติทางธุรกิจที่ยั่งยืน 18%, สร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 18% และมุ่งลดการปล่อยคาร์บอน 18% โดยการลงทุนด้านนวัตกรรมและดิจิทัลอยู่ในอันดับที่ 9 ที่ 8%

และยังพบว่าซีอีโอเห็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กำลังทำให้สภาพอากาศแปรปรวนและกระทบตรงๆ ต่อการดำเนินธุรกิจของพวกเขาแล้ว และการดำเนินงานจะต้องปรับเปลี่ยนใหม่ โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห่วงโซ่อุปทาน

โมเยอร์ ระบุว่า เทคโนโลยีดิจิทัลนั้นมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนผลลัพธ์ด้านการเงินและความยั่งยืน ตัวอย่างเช่น Internet of Things (IoT), ข้อมูลและการวิเคราะห์ (Data & Analytics) ที่สามารถปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม ช่วยลดต้นทุนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมี AI และ IoT คอยช่วยลดต้นทุนของอาหารและขยะที่สูญไป ขณะที่ตลาดในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) สามารถสร้างรายได้ใหม่และลดขยะไปพร้อมๆ กัน
ดังนั้นเทคโนโลยีดิจิทัลสามารถเร่งการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน นอกจากการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายต่างๆ เช่น การเปิดรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ และการสร้างช่องทางรายได้ใหม่ๆ.

 

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จุดเปลี่ยนผ่านอุตฯยานยนต์

จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ประเทศไทยเริ่มเห็นทิศทางอุตสาหกรรมใหม่ๆ มากขึ้น และเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนากลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ ทั้งเครื่องมือแพทย์

เจาะกลยุทธ์“อาร์ตทอย”ตัวท็อปสุดแรร์

กระแสความนิยม “อาร์ตทอย” (Art Toy) เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในไทยซึ่ง “อาร์ตทอย” ไม่ได้เป็นเพียงแค่ของเล่นสำหรับเด็กเท่านั้น แต่กลายเป็นของเล่นและของสะสมที่มีการออกแบบสะท้อนถึงตัวตนและความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินผู้สร้างสรรค์

รณรงค์ใช้สินค้าไทย

ข่าวการปิดตัวโรงงานการผลิตของรถยนต์ ซูบารุ และซูซูกิ ในประเทศไทย เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยในขณะนี้อยู่ในช่วงที่อ่อนแอ เพราะไม่เพียงอุตสาหกรรมรถยนต์สันดาปเท่านั้นที่กำลังสั่นคลอน แต่อีกหลายอุตสาหกรรมของไทยก็กำลังประสบปัญหา

ใช้ไอเดียพัฒนาบรรจุภัณฑ์ไทย

สินค้าและผลิตภัณฑ์บนโลกนี้นอกจากจะต้องพัฒนารูปลักษณ์ หน้าตา ฟังก์ชัน หรือรสชาติใหม่ๆ ให้สามารถตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญและสามารถดึงดูดความสนใจให้กับผู้ซื้อได้ก็คือบรรจุภัณฑ์

ตนเป็นที่เพึ่งแห่งตน

ปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็จะเห็นเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าออนไลน์ การทำธุรกรรมโอนเงิน การเรียกใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ

ส่องการตลาดธุรกิจการแพทย์มาแรง

จะดีแค่ไหน หากเราจะมีโปรแกรมดูแลรักษาสุขภาพที่สอดคล้องเหมาะสมกับตัวเราจริงๆ หรือหากเราเจ็บไข้ได้ป่วยโดยเฉพาะด้วยโรคเรื้อรังหรือโรคร้ายแรงที่รักษายาก ก็มียาและวิธีการรักษา “เฉพาะ” ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเราเท่านั้น