บันทึกหน้า 4

24 มิถุนายน ครบรอบ 92 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็น 92 ปีที่คืบคลานอย่างเชื่องช้า เพราะประชาธิปไตยไทยเจออุปสรรคมากมาย ทั้งจากการปฏิบัติรัฐประหารโดยทหารบ่อยครั้ง และนักการเมืองฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างต่อเนื่องยาวนาน จวบจนปัจจุบันพูดกันติดปากว่า ประเทศไทยมีประชาธิปไตยครึ่งใบ แม้ช่วงที่มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็ใช่ว่าประชาธิปไตยจะเบ่งบาน นั่นเพราะพรรคการเมือง นักการเมืองยังคงแย่งชิงอำนาจ แย่งครอบครองผลประโยชน์ผ่านกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ

ขณะที่ประชาชนยังคงนิยมพรรคการเมืองที่ใช้นโยบายประชานิยม ลดแลกแจกแถม ส่วนคนรุ่นใหม่ความหวังของประเทศติดหล่มอุดมคติ

ต้องการพัฒนาประชาธิปไตยแบบตะวันตก แต่ละเลยรากเหง้าของตนเอง ที่สำคัญต้องการสิทธิ แต่ไม่รู้หรือไม่ทำหน้าที่ ความขัดแย้งทางการเมืองจึงแปรเปลี่ยนจากสงครามระหว่างสีเสื้อ มาเป็นคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ และความขัดแย้งนี้อาจลากยาวเลย 100 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ...๐

วันอาทิตย์ที่ผ่านมา "เศรษฐา ทวีสิน" นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ เดินทางลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง เพื่อติดตามโครงการสำคัญตามนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะมาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี กลับมีเงาของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ปรากฏอยู่เป็นฉากหลังตลอดเวลา 

"...สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ซึ่งเป็นโครงการลงทุนเมกะโปรเจกต์ขนาดใหญ่ ที่รัฐบาลให้ความสำคัญ แต่ยังติดปัญหาความล่าช้าบ้าง เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 สถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน และดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงขึ้น ซึ่งคาดว่าภายในปลายเดือนกรกฎาคม 2567 นี้ จะได้ข้อสรุปทั้งหมดเกี่ยวกับการเดินหน้าโครงการดังกล่าว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดการลงทุนในมาตรฐานระดับโลก และแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีความพร้อมให้เกิดการลงทุนต่อเนื่อง โดยขณะนี้ความคืบหน้าการลงทุนในพื้นที่อีอีซีมีภาคเอกชนได้เข้ามาหารือกับอีอีซี และสนใจใช้สิทธิประโยชน์ตามประกาศสิทธิประโยชน์ฉบับใหม่อยู่กว่า 30 ราย วงเงินลงทุนรวมกว่า 2.1 แสนล้านบาท ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ที่ได้ส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีอีซี ได้แก่ อุตสาหกรรมการแพทย์ และสุขภาพ อุตสาหกรรมบริการ อุตสาหกรรมดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และอุตสาหกรรม BCG โดยอีอีซีได้ตั้งเป้าหมายดึงเม็ดเงินลงทุนจริงให้ได้ปีละ 1 แสนล้านบาท ต่อเนื่อง 5 ปี ตั้งแต่ปี 2567–2571..."

คำให้สัมภาษณ์ของ "เศรษฐา ทวีสิน" ทำให้นึกถึงการทำงาน 8 ปี ของรัฐประบาลประยุทธ์ เพราะอีอีซีคือรากฐานที่รัฐบาลประยุทธ์ได้วางไว้ให้ และรัฐบาลเศรษฐาคือรัฐบาลแรกที่กำลังจะได้ประโยชน์จากอีอีซี หากรัฐบาลประยุทธ์ไม่ก่อร่างสร้างไว้ให้ รัฐบาลเศรษฐาจะเอาอะไรมาสานต่อ เพราะลำพังรัฐบาลเศรษฐาแทบไม่มีผลงานอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอัน ...๐

การเมืองสร้างภาพวันนี้ไม่มีใครเกิน "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ล่าสุดสำลัก "สว.สีส้ม" ถูกจับได้ว่า พรรคก้าวไกลสนับสนุนคนของตัวเองสมัคร สว. จนหลายคนผ่านเข้ารอบเลือกระดับประเทศ วันที่ 26 มิถุนายนนี้ 

"...ไม่จำเป็นที่จะต้องเติมนามสกุลให้ใครด้วยการไปป้ายสี เพราะเชื่อว่าแต่ละคนก็มีวุฒิภาวะและจุดยืนของตนเอง ซึ่งตามความหมายของตน ก็คงจะเป็นอดีตผู้สื่อข่าว นักวิชาการฝ่ายประชาธิปไตย ที่ยืนตรงในเรื่องประชาธิปไตย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีนามสกุลเป็นสีส้ม..."

คำพูดของ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ก็แค่แก้เกี้ยว นี่คือผลพวงจากการเดินสายหาเสียงเลือก สว.ของ "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" ที่ กกต.บอกว่าไม่ผิด เพราะเป็นการประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้คนไปสมัคร สว. แต่วันนี้เริ่มชัดเจนแล้ว คนที่เคลื่อนไหวทางการเมืองร่วมกับพรรคก้าวไกล คณะก้าวหน้า กำลังจะได้เป็น สว.สีส้ม ...๐

ในมุมนักวิชาการ มองการเลือก สว.ครั้งนี้ว่า 2 พรรคใหญ่กินรวบ "โอฬาร ถิ่นบางเตียว" อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ฟันธงเกมนี้นำไปสู่เผด็จการรัฐสภา

 “...นายทักษิณเขาฉลาด คือเขาเห็นแล้วว่าตอนนี้พื้นที่การเมือง ไม่ว่าอย่างไรเสีย ดูจากผลโพลต่างๆ ก่อนหน้านี้ พื้นที่ซึ่งยึดครองการเมืองคือก้าวไกลกับเพื่อไทย เพียงแต่หลายคนไปมองว่า เพื่อไทยกับก้าวไกลเวลานี้คือฝ่ายตรงข้ามกัน แต่ถามว่าในอนาคตหากก้าวไกลได้ สส.มาอันดับหนึ่งหลังเลือกตั้ง ใครจะจับมือกับก้าวไกล ถ้าไม่ใช่เพื่อไทย เพราะก้าวไกลไม่มีทางได้ สส.สามร้อยเสียงขึ้นไป และหากสองพรรคคุม สว.ได้มันก็จบ...”

หลังวันที่ 26 มิถุนายน การแยกแยะ สว.แต่ละสายจะปรากฏออกมาชัดเจน แน่นอนว่า 2 พรรคใหญ่คือก้าวไกลกับเพื่อไทย จะมี สว.อยู่ในการควบคุมจำนวนมาก มีโอกาสที่รัฐธรรมนูญจะถูกแก้ไขในหมวดสำคัญ สิ่งที่เกิดหลังจากนั้นคือความขัดแย้งรอบใหม่จะปรากฏ ทั้ง 2 สภาอาจต้องพับพาบไปพร้อมกัน ...๐

 

นายชื่น ประชา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บันทึกหน้า 4

บันทึกกันในวันแรกของครึ่งปีหลัง ท่ามกลางความคาดหวังว่า บรรยากาศบ้านเมืองว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจจะเขยิบดีขึ้น โดยเฉพาะดัชนีในตลาดหลักทรัพย์ที่โงนเงนง่อกแง่กซะเงาะซะแงะมาตั้งแต่ต้นปี จะโงหัวขึ้นอย่างสม่ำเสมอ

บันทึกหน้า 4

ฟ้าผ่าเปรี้ยงกลางกบาล "นายใหญ่" อุตส่าห์ภูมิใจนำเสนอน้องเขยวางตัวประมุขสภาสูง นึกว่าเป็นเทวดาเสกได้สารพัดอย่างเหมือนคราวดันก้น "สมชาย วงศ์สวัสดิ์" นั่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ต้องน้ำตาตกร่วงตกเก้าอี้ชนิดล็อกถล่ม ได้แค่ 10 คะแนน

บันทึกหน้า 4

เรียกว่าสายตาทางการเมืองใน วันพุธที่ 26 มิถุนายน 2567 ต่างจับจ้องไปที่เวที “อิมแพ็ค ฟอรัม เมืองทองธานี” เพราะคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ระดับประเทศ โดยมีผู้ที่ได้รับเลือกเป็น สว.ระดับจังหวัด จากทั้ง 77 จังหวัดใน 20 กลุ่มอาชีพ รวม 2,995 คน

บันทึกหน้า 4

เชื่อว่าคนไทยทุกคนรู้จัก “สุนทรภู่” ครูกวีเอกบทประพันธ์ เด็กๆที่เรียนภายในประเทศต้องได้อ่านกลอน บทนิราศ สัมผัสใน สัมผัสนอกในวรรคตอนที่ไพเราะเสนาะหูและสละสลวยเวลาเดียวกัน ถนนการเมืองลาดยางสู่เมืองทองธานี

บันทึกหน้า 4

กระแสพรรคก้าวไกลยังแรงไม่หยุด สวนทางกับความนิยมของรัฐบาลเพื่อไทย ที่นับวันนำมาสู่ความหายนะ สะท้อนได้จากตลาดทุน หุ้นตกต่ำสุดในรอบ 4 ปี ขณะที่ผลงานเรือธงอย่างแจกเงินหมื่นกลายเป็นเรือเกลือ

บันทึกหน้า 4

ก็เป็นอันว่า ศึกบิ๊กสีกากี ระหว่าง บิ๊กต่อ-พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. กับ บิ๊กโจ๊ก-พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล ที่ห้ำหั่นกันมาหลายเดือน ขณะที่เส้นทางบนเก้าอี้ ผบ.ตร.ของบิ๊กต่อ ก็นับถอยหลังไปเรื่อยๆ เพราะ 30 ก.ย.ปีนี้ก็ต้องเกษียณอายุราชการแล้ว