ครบ ๙๒ ปีชิงอำนาจ

๒๔ มิถุนายน บรรจบมาอีกครั้ง

ครบรอบวันเปลี่ยนแปลงการปกครองทีไร ต้องนึกถึง  หนังสือ "เบื้องแรกประชาธิปตัย"

บันทึกความทรงจำของผู้อยู่ในเหตุการณ์ สมัย พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๕๐๐ ที่รวบรวมและจัดพิมพ์โดยสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๑๖ ทุกคราไป

ต้องหยิบมาอ่านแทบทุกปี 

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ แทบไม่มีการเสียเลือดเนื้อ เมื่อเทียบกับการปฏิวัติฝรั่งเศส ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เพราะล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ให้เป็นเช่นนั้น

ตอนหนึ่งที่ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงเล่า ผ่านคณะกรรมการสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ณ พระตำหนักวังศุโขทัย

"...ในหลวงท่านรับสั่งว่า ไม่ได้ ไม่อยากให้มีการรบพุ่งกัน เพราะจะเสียเลือดเนื้อประชาชนเปล่าๆ เจ้านายหลายองค์ก็ถูกจับเป็นประกันอยู่ เพราะฉะนั้นจะยังไม่ทำอะไร  แต่ก็รับสั่งว่าจะต้องมาปรึกษาฉันก่อนว่าจะไปหรือจะอยู่ เพราะฉันต้องไปกับท่าน..."

"...ในหลวงได้รับสั่งไว้แล้วว่าไม่ให้ยุ่ง ตอนนั้นเจ้านายถูกจับกันมาก ขืนรบกันพวกที่ถูกจับอยู่แล้วก็ต้องตายก่อน นองเลือดกันเปล่าๆ ถ้าจะให้คนอื่นตายแล้วหนีเอาตัวเองรอด ท่านไม่เอา เมื่อกรมพระกำแพงฯ ขึ้นไปกราบบังคมทูลเหตุการณ์ ในหลวงทรงรับสั่งว่ารบกันก็ไม่มีประโยชน์

มารู้เอาตอนที่กลับมาแล้วว่าพวกทหารมหาดเล็กทุกคนขังตัวเองหมด มีทหารปืนใหญ่ที่อยู่ในบังคับบัญชาของในหลวงก็ได้รับคำสั่งให้ไปประจำเสียที่เขาพระบาท ถึงแม้แต่พระองค์เจ้าบวรเดช ในหลวงก็เคยรับสั่งห้ามว่าไม่ให้ทำอะไรเป็นอันขาด

ขึ้นชื่อว่าเจ้าล่ะก็ไม่ให้ทำอะไรทั้งนั้น ถ้าทำจะยิ่งร้ายใหญ่ ถ้าเผื่อเป็นคนอื่นเขาจะปฏิวัติซ้อนมาชิงอำนาจถวาย นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง  แต่ว่าเจ้าทำไม่ได้ ในหลวงทรงเตือนเอาไว้เฉยๆ แล้วก็ไม่ได้ทรงทราบอะไรจากพระองค์เจ้าบวรเดชอีกว่าจะคิดทำอะไรหรืออย่างไร แต่ผลที่สุดก็เกิดขึ้นจนได้..."

เป็นบริบทที่ต่างไปจากแถลงการณ์ของคณะราษฎรอย่างสิ้นเชิญ

แถลงการณ์คณะราษฎร เต็มไปด้วยการปลุกเร้า

มีการใช้คำว่า ราษฎร ซ้ำแล้วซ้ำอีก เพื่อโจมตีพระมหากษัตริย์ ว่ามีความไม่ชอบธรรม ทำประเทศล้มเหลว กษัตริย์อยู่เหนือกฎหมาย ให้อภิสิทธิ์กับเจ้านาย ปล่อยให้มีการทุจริต ไร้หลักวิชาในการปกครอง และกดขี่ราษฎร

ให้ราษฎรสำนึกตัวเองว่าเป็นเจ้าของประเทศ ไม่ใช่กษัตริย์

โดยเฉพาะหลังคณะราษฎรได้ตัวประกันคนสำคัญมาไว้ในมือหมดแล้ว จึงได้ออกประกาศว่า

"...ด้วยบัดนี้ คณะราษฎรได้จับพระบรมวงษานุวงศ์มาไว้เป็นประกันแล้ว ถ้าผู้ใดขัดขวางคณะราษฎร ผู้นั้นจะต้องถูกลงโทษ และพระบรมวงษานุวงศ์จะต้องถูกทำร้ายด้วย..."

นั่นคือเรื่องราวที่เกิดขึ้นเมื่อ ๙๒ ปีที่แล้ว

วันนี้มีผู้ประกาศสืบสานเจตนารมณ์ของคณะราษฎรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

พรรคก้าวไกลนั่นเอง

ครับ...วานนี้ (๒๓ มิถุนายน) นายกฯ เศรษฐา เฉลยเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่า ๘ ปีรัฐบาลลุงตู่ไม่ทำอะไรเลยนั้นคือเรื่องจริงหรือเฟกนิวส์

ก็ต้องแสดงความขอบคุณ นายกฯ เศรษฐา ที่ทำความจริงเรื่องนี้จนกระจ่างชัด

ขีดเส้นใต้ ๑๐ เส้นนะครับ...นายกฯ เศรษฐา ไปตรวจราชการ ที่จังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง เพื่อติดตามโครงการสำคัญตามนโยบายของรัฐบาล

โดยเฉพาะมาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี

นายกฯ เศรษฐา บอกแบบนี้ครับ...

"...ความก้าวหน้าการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ เพื่อรองรับการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี และการก่อสร้างโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โดยปัจจุบันมีความก้าวหน้าโดยเฉพาะงานด้านระบบสาธารณูปโภคที่สำคัญๆ เช่น ระบบไฟฟ้าและน้ำเย็น ก่อสร้างแล้ว ๒๖.๔๒% ระบบบริการเติมเชื้อเพลิงอากาศยาน ก่อสร้างแล้ว ๔๘.๔๑% และงานด้านประปาและบำบัดน้ำเสีย ก่อสร้างแล้ว ๙๘.๔๔% เป็นต้น ในส่วนการประสานแจ้ง

ให้เอกชนเริ่มก่อสร้างโครงการฯ (NTP) คาดว่าจะสามารถแจ้ง NTP ได้ภายในปี ๒๕๖๗ นี้ เพื่อเริ่มก่อสร้างงานสำคัญๆ เช่น อาคารผู้โดยสารหลังที่ ๓ อาคารเทียบเครื่องบินรอง และศูนย์ธุรกิจการค้า เป็นต้น ซึ่งคาดว่าโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ จะสามารถเปิดให้บริการในปี ๒๕๗๒

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ซึ่งเป็นโครงการลงทุนเมกะโปรเจกต์ขนาดใหญ่ ที่รัฐบาลให้ความสำคัญ แต่ยังติดปัญหาความล่าช้าบ้าง เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-๑๙ สถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน และดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงขึ้น

คาดว่าภายในปลายเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๗ นี้ จะได้ข้อสรุปทั้งหมดเกี่ยวกับการเดินหน้าโครงการฯ ดังกล่าว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดการลงทุนในมาตรฐานระดับโลก และแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีความพร้อมให้เกิดการลงทุนต่อเนื่อง

โดยขณะนี้ ความคืบหน้าการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี มีภาคเอกชนได้เข้ามาหารือกับ อีอีซี และสนใจใช้สิทธิประโยชน์ตามประกาศสิทธิประโยชน์ฉบับใหม่อยู่กว่า ๓๐ ราย วงเงินลงทุนรวมกว่า ๒.๑ แสนล้านบาท ใน ๕ กลุ่มอุตสาหกรรม ทีได้ส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีอีซี ได้แก่  อุตสาหกรรมการแพทย์ และสุขภาพ อุตสาหกรรมบริการ  อุตสาหกรรมดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และอุตสาหกรรม BCG โดย อีอีซี ได้ตั้งเป้าหมายดึงเม็ดเงินลงทุนจริง ให้ได้ปีละ ๑ แสนล้านบาท ต่อเนื่อง ๕ ปี ตั้งแต่ปี ๒๕๖๗-๒๕๗๑..."

ยินดีด้วยครับ รัฐบาลเศรษฐา กำลังจะเก็บเกี่ยวผลไม้ทองคำ ที่รัฐบาลลุงตู่ลงทุนลงแรงปลูกไว้ให้

เมื่อคราวที่พรรคเพื่อไทยเป็นฝ่ายค้าน โจมตีรัฐบาลลุงตู่ว่า บริหารไม่เป็น ทำประเทศเสียหาย วันนี้ก็คงประจักษ์แล้ว 

อีอีซี คือหนึ่งในหลายๆ ผลงานที่รัฐบาลลุงตู่วางรากฐานเอาไว้ให้รัฐบาลเศรษฐาเข้ามาเก็บเกี่ยว

หาก ๘ ปี รัฐบาลลุงตู่ไม่ทำอะไรเลย วันนี้รัฐบาลเศรษฐาคงจะเริ่มไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ฯลฯ ตรงไหน

นี่คือข้อเท็จจริงที่คนรุ่นใหม่ควรรับรู้

ก็ทำนองเดียวกับที่รัฐบาลป๋าเปรม สร้างอีสเทิร์นซีบอร์ด ไว้เป็นรากฐานสำหรับอุตสาหกรรมไทยในวันนี้   และ ไทยซัมมิท ของ "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" ก็ได้ประโยชน์จากมรดกทางการเมืองของ "ป๋าเปรม" ไปมากโข

และเมื่อถึงยุคที่เราต้องก้าวไปอีกขั้น เพราะ อีสเทิร์นซีบอร์ด ไม่เพียงพอต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศแล้ว รัฐบาลลุงตู่จึงสร้าง อีอีซี ขึ้นมา

วันนี้จึงนับว่ากระจ่างชัดแล้วรัฐบาลที่ถูกด่าว่า เผด็จการสืบทอดอำนาจ ไร้ผลงาน ทำประเทศเสียหาย กลับกลายเป็นรัฐบาลที่วางรากฐานให้รัฐบาลที่อ้างตัวว่าเป็นฝ่ายประชาธิปไตย แต่ถูกกังขาว่า เหนือนายกฯ คือนักโทษคดีโกง

ประเทศจะเดินหน้าไปได้เพราะการวางรากฐานทางเศรษฐกิจให้แข็งแกร่ง

ไม่ใช่หายใจเข้าออก แก้ ม.๑๑๒ รื้อรัฐธรรมนูญ สืบสานคณะราษฎร ๒๔๗๕.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ ฝึกงาน

ขยี้ตาสิบที... แถลงผลงานในรอบ ๓ เดือนแน่นะ "อิ๊งค์" ไปดูอีกทีกับการแถลงข่าววานนี้ (๑๒ ธันวาคม)

ชะตากรรม 'นายกฯ ชินวัตร'

วันนี้ (๑๒ ธันวาคม) นายกฯ อิ๊งค์ แถลงผลงาน อยากรู้ว่าผลงานมีอะไรบ้าง เชิญเฝ้าหน้าจอสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที หรือช่อง ๑๑ นั่นแหละครับ

ง่ายๆ แค่เลิกโกง

อาจถึงขั้นเปลี่ยนขั้วตั้งรัฐบาลกันเลยทีเดียวครับ... หากพรรคเพื่อไทย จะเอาให้ได้ กับร่างแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ด้วยการจับยัดเข้าสภาฯ ก็สามารถยึดอำนาจกองทัพได้สำเร็จครับ

หรืออยากฟังเพลงมาร์ช

เขาว่าเป็นร่างกฎหมายป้องกันรัฐประหาร ข่าววานนี้ (๖ ธันวาคม) สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เผยแพร่การรับฟังความเห็นร่าง พ.ร.บ.ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๗๗ ในร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่...)