ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เยือนเกาหลีเหนือกับเวียดนามในช่วงสัปดาห์นี้เป็นตัวอย่างของความเหมือนที่แตกต่างอย่างน่าสนใจ
กับเกาหลีเหนือ รัสเซียมีความแนบแน่นอย่างไม่ต้องสงสัยเพราะต่างต้องพึ่งพากันและกันในสภาพปัจจุบันอย่างเห็นได้ชัด
ปูตินต้องการให้คิม จองอึน ประกาศสนับสนุนสงครามยูเครนอย่างมั่นคงและเดินหน้าส่งอาวุธเช่นกระสุนปืนใหญ่และอุปกรณ์อย่างอื่นต่อเนื่อง
ขณะที่คิมต้องการให้รัสเซียมาประกาศว่าจะยืนหยัดอยู่ข้างเดียวกับตนในกรณีสหรัฐฯ แสดงท่าทีที่เป็นศัตรูหนักกว่านี้
ซึ่งก็ได้ผล เพราะเกาหลีเหนือและรัสเซียลงนามสนธิสัญญาฉบับใหม่ ที่มีเงื่อนไขด้านกลาโหมร่วมกัน เรียกเป็น “สนธิสัญญาความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์รอบด้าน”
ถือเป็นการยกระดับความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการระหว่างสองประเทศนับตั้งแต่รัสเซียส่งทหารรุกรานยูเครนเมื่อปี 2022
โดยเน้นว่าจะมีการ “จัดหาความช่วยเหลือร่วมกันในกรณีที่มีการรุกรานกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง”
เป็นการปรับเปลี่ยนนโยบายของรัสเซียต่อเกาหลีเหนือที่ต้องถือว่าเป็น “ประวัติศาสตร์” ก็ว่าได้
เป็นจังหวะที่ปูตินสามารถจะแสดงให้ชาวโลกเห็นว่าเมื่อสหรัฐฯ ส่งอาวุธให้ยูเครนเพื่อโจมตีเป้าหมายในรัสเซียได้ มอสโกก็สามารถทำอย่างเดียวกันกับเกาหลีเหนือและคิวบา
กองเรือรบรัสเซียเพิ่งไปเยือนคิวบา และมีการซ้อมรบใกล้ๆ กับฟลอริดาเพื่อตอกย้ำการ “ตอบโต้” สหรัฐฯ เช่นกัน
ต่อจากเกาหลีเหนือ ปูตินบินต่อไปเวียดนาม ซึ่งมีความสัมพันธ์กับมหาอำนาจทั้งสหรัฐ, จีนและรัสเซีย ในลักษณะที่รักษาดุลถ่วงแห่งอำนาจอย่างมีความหมายลึกซึ้ง
เวียดนามคบกับจีนที่เน้นไปทางด้านเศรษฐกิจแม้จะมีความระหองระแหงด้านการเมืองและความมั่นคง เพราะยังมีความขัดแย้งในทะเลจีนใต้และประเด็นการเมืองอื่นๆ
ขณะเดียวกัน เวียดนามก็คบกับสหรัฐฯ ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการถ่วงดุลของจีนในย่านนี้อย่างมีนัยสำคัญ
เวียดนามมีความสัมพันธ์กับรัสเซียมาช้านาน แต่ระยะหลังก็รักษาระยะห่างเพื่อไม่ให้มีภาพที่ใกล้ชิดเกินเหตุแต่ก็ยังคงความผูกพันเอาไว้เพื่อไม่ให้ต้องหลุดจากความผูกพันเก่าๆ
การมาเยือนเวียดนามของปูตินกำลังถูกจับตาดูข้อตกลงด้านอาวุธระหว่างสองประเทศ เพราะในด้านหนึ่งเวียดนามก็ตระหนักว่าตะวันกคว่ำบาตรรัสเซียเพราะสงครามยูเครนอยู่
ในปีที่ผ่านมา เวียดนามกลายเป็นประเทศเดียวที่เต้อนรับขับสู้ผู้นำจีน สหรัฐฯ และรัสเซียเพราะมีอาคันตุกะชื่อโจ ไบเดน, สี จิ้นผิง และปูตินมาเยือนถึงบ้าน
และทั้งสามก็คือมหาอำนาจทางทหารสามอันดับแรกของโลก ในการประชุมที่ทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงฮานอยเมื่อบ่ายวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาหลังเสร็จการเยือนเปียงยาง ปูตินและโท แลม รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม เน้นย้ำถึงความจำเป็นด้านสันติภาพ และย้ำถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ของสองประเทศ
“การเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านกับเวียดนามถือเป็นหนึ่งในลำดับความสำคัญของเรา” หนังสือพิมพ์เตื่อยแจ๋อ้างคำพูดของปูติน
ปูตินกล่าวว่า "รัสเซียให้ความสำคัญกับการเชื่อมสัมพันธ์กับอาเซียน"
ปูตินชมเวียดนามสำหรับ "จุดยืนที่สมดุลต่อวิกฤตการณ์ยูเครน" และนโยบายไม่แทรกแซง
และย้ำว่ามอสโกสนับสนุน "การต่อสู้อย่างกล้าหาญของชาวเวียดนามเพื่อต่อต้านผู้รุกรานจากต่างประเทศ"
ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและเวียดนามมีรากฐานมาจากสงครามเย็น โดยในยุคนั้นเวียดนามกับสหภาพโซเวียตคบหากันแบบแยกออกจากสหรัฐฯ และจีนพอสมควร
ปูตินมาเยือนเวียดนามได้เพราะมั่นใจว่าเป็นไม่กี่ประเทศที่ปลอดจากการที่จะถูกรวบตัวเพราะหมายจับของศาลอาญาระหว่างประเทศที่กล่าวหาเขาในคดีอาชญกรรมสงครามที่โยงกับยูเครน
เวียดนามไม่ประณามรัสเซียกรณีรุกรานยูเครน แต่เวียดนามก็คบหากับวอชิงตันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นทุกขณะ
เหตุผลสำคัญประการหนึ่งคือถ่วงดุลอำนาจจีน
อีกเหตุผลหนึ่งคืออเมริกาเป็นตลาดส่งออกใหญ่ของเวียดนาม เมื่อเดือนกันยายนปีที่อเมริกาและเวียดนามยกระดับสถานะทางการทูตขึ้น 2 ระดับสู่ระดับสูงสุด
จุดยืนของเวียดนามที่เอาใจรัสเซียคือการหลีกเลี่ยงคำว่า "สงคราม" ในกรณีการบุกยูเครนของมอสโก ขณะเดียวกันก็พึ่งพาอาวุธของรัสเซียอย่างมากสำหรับความต้องการด้านการป้องกันประเทศของตนเอง
แม้จะมีคำถามถึงความสามารถของมอสโกในการขายอาวุธเพิ่มขึ้นในขณะที่ติดอยู่ในกับดักยูเครน แต่รัสเซียก็ต้องการรายได้เข้ามาป้อนปฏิบัติการทางทหารในยูเครนเช่นกัน แต่คนอื่นๆ ก็บอกว่าต้องการรายได้
เกาหลีเหนือและจีนกับเวียดนามดูเหมือนจะเป็น 3 ประเทศคอมมิวนิสต์ที่ไม่ร่วมการคว่ำบาตรรัสเซียอย่างเปิดเผย
ต้องไม่ลืมว่าเวียดนามได้รับประโยชน์จากรัสเซียมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นทุนช่วยเหลือเด็กกำพร้าและนักเรียนคนอื่นๆ ในทศวรรษ 1950 ไปจนถึงผู้ประกอบการที่กลับมาสร้าง Vingroup และ Vietjet ในปัจจุบัน
กลุ่มนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จวันนี้ของเวียดนามล้วนได้ประโยชน์จากการค้าขายหรือทำธุรกิจในรัสเซียในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงที่ได้รับแรงหนุนจากการปฏิรูปเปเรสทรอยกาในช่วงทศวรรษ 1990
ผู้นำเวียดนามได้พบกับประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน และเรียกร้องให้ยุติความเป็นปรปักษ์กับรัสเซีย แต่ในจังหวะเดียวกัน ฮานอยก็ยกระดับความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ เพราะต้องการให้วอชิงตันคานอิทธิพลของจีนในประเทศของตน
เห็นได้ว่าเป็นการเดินนโยบายต่างประเทศแบบ “ไต่ลวด” อย่างท้าทายไม่น้อยเลย รัสเซียไม่มีประเด็นคุกคามความมั่นคงภายนอกของเวียดนามเหมือนจีน
และมอสโกก็ไม่ถูกมองว่ามีกิจกรรมที่มากดดันความมั่นคงภายในของของตนเหมือนที่สหรัฐฯ พยายามทำว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยธรรมและประชาธิปไตย
ในเวลาเดียวกัน การเผชิญหน้าระหว่างจีนและเวียดนามเกี่ยวกับปัญหาทะเลจีนใต้ก็กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น แม้จะไม่หนักเท่ากับความตึงเครียดระหว่างปักกิ่งกับฟิลิปปินส์ก็ตาม
ฮานอยตระหนักดีว่าหากตนขยับเข้าใกล้สหรัฐฯ มากเกินไป จีนซึ่งเป็น "สหาย" ใหญ่ในระบอบคอมมิวนิสต์ก็จะกดดันเวียดนามมากขึ้น
ดังนั้น ในแง่หนึ่งรัสเซียก็ถูกมองว่าเป็นประโยชน์ต่อเวียดนามในการสร้างสมดุลระหว่างความสัมพันธ์ทางการทูตกับปักกิ่งและวอชิงตันนั่นเอง
นโยบาย “การทูตลู่ลมแบบต้นไผ่” ของเวียดนามกำลังถูกนำออกมาใช้อย่างเต็มพิกัด!
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ