ข่าวการปิดตัวโรงงานการผลิตของรถยนต์ ซูบารุ และซูซูกิ ในประเทศไทย เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยในขณะนี้อยู่ในช่วงที่อ่อนแอ เพราะไม่เพียงอุตสาหกรรมรถยนต์สันดาปเท่านั้นที่กำลังสั่นคลอน แต่อีกหลายอุตสาหกรรมของไทยก็กำลังประสบปัญหา
โดยนับตั้งแต่ต้นปี 2023 มาจนถึงไตรมาสแรกของปี 2024 มีโรงงานปิดตัวลงไปแล้วกว่า 1,700 แห่ง กระทบการจ้างงานกว่า 42,000 ตำแหน่ง!
นี่เหมือนเป็นระเบิดเวลา ที่หากไม่มีการแก้ไขเชื่อว่าจะส่งผลกระทบเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมหาศาลเลยทีเดียว
ล่าสุดข้อมูลของ KKP Research ได้เปิดเผยข้อมูลว่า เคสที่เกิดขึ้นในเวลานี้ สิ่งที่น่ากังวลไม่ใช่แค่โรงงานปิด แต่จำนวนโรงงานเปิดใหม่ก็ลดลงเช่นกัน ซึ่งสะท้อนว่าเงินลงทุนใหม่ก็ไม่เพิ่มขึ้นเช่นกัน
โดย KKP Research ชี้ว่า การปิดตัวของโรงงานเพียงอย่างเดียวอาจไม่สะท้อนภาพทั้งหมด แต่ตัวเลขการเปิดตัวโรงงานใหม่ที่ลดลงกว่าในอดีตยังย้ำให้เห็นถึงสถานการณ์ในภาคอุตสาหกรรมไทยที่ไม่ดีนัก เพราะการเปิดโรงงานใหม่มีทิศทางที่ชะลอตัวลงเช่นกัน จึงทำให้ยอดการเปิดโรงงานสุทธิในภาพรวมชะลอตัวลงอย่างมาก จากค่าเฉลี่ยที่เป็นบวกสุทธิประมาณ 150 โรงงานต่อเดือน ลดลงเหลือเพียง 50 โรงงานต่อเดือน
ต้องยอมรับว่า ในขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมของไทยอยู่ในภาวะวิกฤต ไม่สามารถแข่งขันได้ เนื่องมาจากปัญหาเชิงโครงสร้างหลายประการ ทั้งปัญหาเชิงนโยบายที่รัฐบาลพยายามผลักดันการขึ้นเงินค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท/วัน ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนของผู้ประกอบการ รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้น ทำให้ยอดการส่งออกปรับตัวลดลง และประการสุดท้าย สินค้าของไทยนั้นล้าสมัย แข่งขันไม่ได้
สำหรับอุตสาหกรรมที่น่าห่วง 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มที่ใช้แรงงานจำนวนมากและได้รับผลกระทบจากค่าแรง เช่น รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ ทอผ้า เป็นต้น 2.กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีและดีมานด์ที่หายไป เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น และ 3.กลุ่มที่มีการแข่งขันโดยตรงจากสินค้าจีน เช่น เหล็ก รถยนต์ เป็นต้น
ประเด็นเรื่องสินค้าจีนถือเป็น เรื่องที่ต้องมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพราะผู้ผลิตจีนสามารถใช้ความได้เปรียบต่อขนาด (Economy of Scale) ที่ได้เปรียบในเรื่องของราคาเข้ามาทุ่มตลาดในไทย ซึ่งอย่างที่เห็นภาพในเวลานี้ สินค้าจีนเข้าไปยึดตลาด ของใช้หลายอย่างไปจากผู้ผลิตชาวไทย ซึ่งนี่ไม่ใช่ผลดี เพราะต้องยอมรับว่าผู้ผลิตชาวไทยไม่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตชาวจีนได้เลย และการเข้ามาของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซก็ทำให้การเข้าถึงสินค้าของจีนง่ายขึ้น การขนส่งสะดวกขึ้น ที่สำคัญสินค้าที่นำเข้าจากจีนหลายรายการยังได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าจากข้อตกลงการค้าเสรี ยิ่งทำให้สินค้าทะลักเข้ามาง่ายขึ้น แถมสินค้าจีนยังไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่มเหมือนผู้ประกอบการไทย ยิ่งได้เปรียบมากขึ้นไปอีก
ทั้งนี้หากประเมินตัวเลขการค้าขายระหว่างไทย-จีน ในแต่ละปีก็มีมูลค่าหลายล้านล้านบาท แต่ในเนื้อใน ไทยเราขาดดุลการค้าจีนเฉลี่ยปีละ 1 ล้านล้านบาท ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเงินไหลออกที่น่ากังวล เพราะยิ่งสะท้อนว่าคนไทยเราซื้อสินค้านำเข้ามากกว่าสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ และถ้าเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ ผู้ประกอบการไทยจะสามารถยืนหยัดในการแข่งขันได้อย่างไร
ดังนั้นตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะต้องเข้ามาดูแล จัดการอย่างจริงจัง อย่าปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรมแบบนี้ เพราะไม่เช่นนั้น ผู้ประกอบการในประเทศจะตายกันหมด ซึ่งถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะต้องมีการป้องกันสินค้านำเข้า โดยเฉพาะสินค้าราคาถูกที่ไม่มีคุณภาพจะต้องจัดการให้หมดไป ขณะเดียวกันก็ต้องเพิ่มแต้มต่อให้เอกชนไทย และสร้างมาตรฐานอุปสรรคให้กับสินค้านำเข้าบ้าง และที่สำคัญ ถึงเวลาแล้วที่ต้องกลับมารณรงค์การใช้สินค้าไทย Made In Thailand อย่างจริงจังที่สุด.
ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เคาต์ดาวน์ปลอดภัยส่งท้ายปี
เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2568 เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข เป็นวาระแห่งการเริ่มต้นใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยพลังและความหวัง โดยในปีนี้สถานที่จัดงาน Countdown ทั่วประเทศไทยหลายหน่วยงานได้เตรียมกิจกรรมไว้ให้ทุกคนได้ร่วมสนุกและสัมผัสความงดงาม
แชร์มุมมอง‘อินฟลูเอนเซอร์’ในตลาดอาเซียน
การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มายาวนาน แต่กลยุทธ์การทำการตลาดของแต่ละแบรนด์นั้นล้วนแตกต่างกันไป ล่าสุด วีโร่ ได้เปิดตัวเอกสารไวต์เปเปอร์ฉบับใหม่ในหัวข้อ “ผลกระทบ
ของขวัญรัฐบาล
อีกไม่ถึง 2 สัปดาห์ก็จะเข้าสู่ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แล้ว ก็เป็นธรรมเนียมของรัฐบาลและ ครม.ที่จะมีมาตรการเป็นของขวัญมอบให้กับประชาชน ซึ่งการประชุม ครม.ล่าสุดเริ่มมีการเคาะมาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือประชาชนกันแล้ว
ยกระดับธุรกิจไทยแข่งขันเวทีโลก
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ EXIM BANK คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 3% ด้วยแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐ
ปี68ธุรกิจบริการอาหารยังโตต่อเนื่อง!
“ธุรกิจบริการอาหาร” ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับตาในปี 2568 จากอานิสงส์ท่องเที่ยวที่กลับมาฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง ซึ่งส่งผลให้การบริโภคอาหารน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันภาครัฐยังมีการอัดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.
ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก