จับตา“ทุเรียนไทย”ราคาสูง แต่ผลผลิตแผ่ว

ถ้าพูดถึง “ทุเรียน” ประเทศไทยถือเป็นเบอร์ต้นๆ ของราชาผลไม้ชนิดนี้ ไม่ว่าจะขายในประเทศหรือส่งออก เรียกได้ว่าสร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างมหาศาล ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลเองก็ได้เร่งสนับสนุนเรื่องการส่งออกทุเรียน เพื่อทำให้ยอดการส่งออกทุเรียนไทยขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็พร้อมใช้มาตรการบริหารจัดการผลไม้ปี 2567 ควบคู่กับการผลักดันการส่งออกทางบก เพื่อกระจายผลผลิตออกสู่ตลาด เพิ่มโอกาสและรายได้ให้เกษตรกร

โดย “กรมการค้าภายใน” ได้เคยระบุว่า ปีนี้ราคาทุเรียนดีมาก แม้ผลผลิตออกสู่ตลาดแล้วเกือบ 80% และคาดว่าปลายฤดูกาลราคาน่าจะขยับขึ้นไปได้อีก และแน่นอนว่าตลาดหลักของทุเรียนไทยก็ยังคงเป็น “จีน” โดยจากข้อมูลสถิติการส่งออกทุเรียนสดของไทยในช่วง 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย.67) พบว่า ไทยสามารถส่งออกทุเรียนสดไปจีนได้ถึง 225,204 ตัน (ข้อมูลสถิติจากกรมศุลกากร) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในเดือน พ.ค. ซึ่งสร้างความมั่นใจได้ว่าไทยยังคงครองแชมป์การส่งออกทุเรียนสดไปจีน

ขณะที่ “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ได้ออกบทวิเคราะห์ เรื่อง “ฤดูทุเรียนปี 2024 คาดผลผลิตลดลง 18% จากช่วงเดียวกันปีก่อน แม้ราคาจะพุ่งสูง แต่รายได้เกษตรกรเพิ่มเพียง 0.3% จากช่วงเดียวกันปีก่อน” โดยระบุว่า ภาพรวมผลผลิตทุเรียนในปีนี้อาจจะลดลง 18% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือมีผลผลิตออกสู่ตลาดรวมราว 0.96 ล้านตัน นับเป็นผลผลิตทุเรียนที่ลดลงมากที่สุดในรอบ 15 ปี

ทั้งนี้ ฤดูทุเรียนไทยอยู่ในช่วง เม.ย.-ส.ค. ที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมากราว 86% ของผลผลิตทุเรียนทั้งปี ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกและภาคใต้ รวมกว่า 95% ของผลผลิตทุเรียนทั้งประเทศ

โดยเมื่อวิเคราะห์ทุเรียนในฤดูภาคตะวันออก จะมีผลผลิตออกสู่ตลาดตั้งแต่ เม.ย. ได้เผชิญความร้อนแล้งจากเอลนีโญรุนแรงในช่วงราว 4 เดือนแรกของปี ทำให้ต้นทุเรียนได้รับน้ำฝนในปริมาณที่น้อยลงกว่าปีก่อน ส่งผลต่อการติดดอกออกผลที่ลดลง/ผลมีน้ำหนักเบา ซึ่งประเมินโดยรวมแล้วทั้งฤดูทุเรียนภาคตะวันออกในปีนี้ คาดจะลดลงราว 14% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือมีผลผลิตออกสู่ตลาดราว 0.65 ล้านตัน

ส่วนทุเรียนภาคใต้ที่จะออกสู่ตลาดตามมาตั้งแต่ มิ.ย. ก็มีแนวโน้มว่าผลผลิตจะเสียหายมากขึ้นจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย เนื่องจากต้องเผชิญปริมาณฝนที่ลดลงจากปีก่อนตลอดช่วงการเจริญเติบโตของทุเรียนตั้งแต่ระยะติดดอกออกผล และยังถูกซ้ำเติมด้วยฝนทิ้งช่วงในเดือน ก.ค. ตามการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งเป็นระยะเก็บเกี่ยวอีกด้วย ทำให้โดยรวมแล้วทั้งฤดูทุเรียนภาคใต้ในปีนี้อาจจะมีผลผลิตลดลงแรงถึง 25% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือมีผลผลิตออกสู่ตลาดราว 0.31 ล้านตัน

สำหรับภาพรวมรายได้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในปีนี้ อาจจะเพิ่มขึ้นได้เพียง 0.3% จากผลผลิตรวมที่ลดลงถึง 18% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ราคาเฉลี่ยปรับสูงขึ้น 22% จากช่วงเดียวกันปีก่อน แบ่งเป็น รายได้เกษตรกรภาคตะวันออกเพิ่มขึ้น 4% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และรายได้เกษตรกรภาคใต้ลดลง 8% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ทั้งนี้ เป็นรายได้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนที่ัยังไม่หักต้นทุนการซื้อน้ำมารดต้นทุเรียน เครื่องปั๊มน้ำ/เครื่องสูบน้ำ/สปริงเกอร์ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น โดยหากนับรวมต้นทุนการผลิตด้วย ก็จะทำให้รายได้เกษตรกรสุทธิของผู้ปลูกทุเรียนเผชิญแรงกดดันมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ดี กระทรวงพาณิชย์ได้เร่งการจัดกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกทุเรียน โดยเฉพาะในตลาดหลักอย่าง “จีน” รวมทั้งการจัดกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจผลไม้ไทยภายในงาน THAIFEX Anuga-Asia 2024 สร้างมูลค่าการค้าคาดการณ์รวมกว่า 300 ล้านบาท โดยทุเรียน มะม่วง มังคุด ลำไยอบแห้ง และสับปะรดกระป๋อง เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมสูงสุด และการประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทยผ่านไอศกรีมผลไม้ไทยในงาน THAIFEX รวมไปถึงแผนส่งเสริมการขายผลไม้ไทยภายใต้ธีม Thai Fruits Golden Months ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง

โดยปีนี้มีแผนดำเนินการในเมืองหลักและเมืองรองในจีน จำนวนรวม 8 เมือง ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกทุเรียนสดของประเทศไทยในช่วง 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย.67) พบว่าไทยสามารถส่งออกทุเรียนสดไปจีนได้ถึง 225,204 ตัน (ข้อมูลสถิติจากกรมศุลกากร) โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพฤษภาคม.

 

ครองขวัญ รอดหมวน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปี68ธุรกิจบริการอาหารยังโตต่อเนื่อง!

“ธุรกิจบริการอาหาร” ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับตาในปี 2568 จากอานิสงส์ท่องเที่ยวที่กลับมาฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง ซึ่งส่งผลให้การบริโภคอาหารน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันภาครัฐยังมีการอัดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

เคลียร์ปมสถานีอยุธยา

เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2

ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!

ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research

ผ่าแผนรับมือรถติดสร้างสายสีส้ม

จากการที่รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะผู้อำนวยการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เตรียมจัดการจราจรเพื่อดำเนินงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม

แอ่วเหนือ...คนละครึ่งบูมเศรษฐกิจ

จากสถานการณ์อุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ ทั้งในแง่ของการคมนาคม เดินทางเข้าสู่พื้นที่และความเสียหายต่อแหล่งท่องเที่ยว

เปิด5เคล็ดลับผ่อนบ้านหมดไว!!

การมีบ้านหรือคอนโดมิเนียมเป็นของตัวเอง อาจเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของมนุษย์เงินเดือนหลายๆ คน ด้วยหลากหลายเหตุผล เช่น เป็นการสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต ขยับขยายที่อยู่เพื่อเริ่มสร้างครอบครัว หรือมีความคุ้มค่าในระยะยาว แทนการเช่าอยู่อาศัย