บันทึกหน้า 4

อื้ออึงทางแวดวงการเมือง เมื่อ อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และ รมว.มหาดไทย (มท.1) ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ถือเป็นพลเรือนและนักการเมืองใน ครม.คนเดียว หลังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ทุติยจุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า และ เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้นที่ 3

ทันทีที่ อนุทิน ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ ได้โพสต์ทันทีว่า “อยู่ใต้ร่มพระบารมีสองแผ่นดิน ชั่วชีวินขอเป็นข้าฟ้าจักรี” 

​คอการเมืองมองสัญญาณแรงมากที่ “อนุทิน” อาจขึ้นมาเป็นตัวเลือกเพิ่มขึ้น หลังสถานการณ์การเมืองของ เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ ไม่สู้ดี เพราะกำลังถูกตัดสินจากศาลรัฐธรรมนูญว่าผิดรัฐธรรมนูญในเรื่องจริยธรรมหรือไม่ เมื่อแต่งตั้งคนที่มีตำหนิอย่าง พิชิต ชื่นบาน เป็น รมต.ประจำสำนักนายกฯ ในสภาวะของสองแคนดิเดตนายกฯ จากพรรคเพื่อไทย 2คน ไม่มีความพร้อมใช่หรือไม่ อย่าง “อุ๊งอิ๊ง” แพทองธาร ชินวัตร และ "ชัยเกษม นิติสิริ” ที่มีปัญหาในเรื่องสุขภาพ 

ขณะที่ตัวเลือกอื่นๆ ก็ยังไม่มีปัจจัยบวกเข้ามาเสริม และนับวันใกล้จะหมดอายุ หากเทียบกับ “อนุทิน” ที่ประกาศจุดยืนเพื่อชาติ ศาสน์ และ กษัตริย์ รวมถึงอุดมการณ์ของพรรคภูมิใจไทยก็พร้อมจะปกป้องมาตรา 112 ด้วยชีวิต

ส่วน หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย จะไปถึงจุดสูงสุดทางการเมืองหรือไม่ จึงต้องติดตาม เพราะยังมีปัจจัยการเมืองหลายด้าน โดยเฉพาะจำนวนเสียงของพรรคที่มีเพียง 71 เสียง จาก 314 เสียง จะแบกรัฐบาลได้หรือไม่  

ถึงแม้จะยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงใดๆ แต่ที่แน่ๆ “อนุทิน” และ “พรรคภูมิใจไทย” วันนี้มีพาวเวอร์ทางการเมืองมากกว่าที่ผ่านมาหรือไม่

ส่งผลทำให้เก้าอี้ มท. 1 รวมถึงรัฐมนตรีในโควตาพรรคสีน้ำเงินเหนียวแน่นขึ้น ไม่ถูกยึด หรือถูกเขี่ยออก, นโยบายกัญชาหลังถูกจ้องหักดิบกลับไปเป็นยาเสพติด สุดท้ายจะต้องยอมหาทางลงล้มเลิกหรือไม่  

รวมถึงพรรคสีน้ำเงินจะต้องอยู่เพื่อปกป้องสถาบันและคานอำนาจทางการเมืองทั้งพรรคก้าวไกลและเพื่อไทยต่อไป และพรรคภูมิใจไทยจะไม่ถูกยุบตามกระแสปั่นอยู่ในเวลานี้   

เก็บตกคนดังร่วง ไม่ผ่านการคัดเลือก สว.ระดับจังหวัดหลายคน หนึ่งในนั้นคือ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร เจ้าตัวออกมาโพสต์ถอดบทเรียนถึงจุดอ่อนของระบบเลือก สว.แบบนี้ ที่น่าสนใจ 1.การแบ่งกลุ่มอาชีพเป็น 20 กลุ่ม ไม่ได้เป็นไปตามสัดส่วนประชากรแต่ละกลุ่มในสังคมอย่างแท้จริง

​2.การตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครในแต่ละกลุ่มอาชีพเป็นไปอย่างหละหลวม 3.การให้เลือกเป็น 3 ระดับ อำเภอ จังหวัด ประเทศ เกิดความเหลื่อมล้ำในจังหวัดที่มีอำเภอมากกับอำเภอน้อย 4.การเปิดช่องทางให้ผู้สมัครรู้จักกันทำได้จำกัดและในเวลาที่สั้นมาก

​5.จำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนนในรอบเลือกไขว้ เป็นจำนวนที่น้อย คือ 20 คน ในขณะที่กลุ่มผู้ถูกเลือกคือ 5 คน ทำให้มีคะแนนที่ได้ใกล้กันมาก ทุกคะแนนมีความหมาย และหลายที่ต้องจับสลาก 6.ไม่มีการเปิดโอกาสให้แนะนำตัวในขั้นรอบไขว้ เนื่องจากไม่มีหนังสือสั่งการให้มีขั้นตอนอย่างเป็นทางการ

7.การออกแบบของ กกต. ให้ตั้งหีบแบ่งตามกลุ่มในขั้นเลือกไขว้ ทำให้ตรวจสอบว่าใครลงคะแนน หรือไม่ลงคะแนนให้ใครสามารถทำได้ไม่ยาก 8.ปัจจัยความสำเร็จของผู้ได้คะแนนผ่านการคัดเลือกไม่ได้อยู่ที่ประวัติ 5 บรรทัด เอกสารแนะนำตัวที่ส่งถึงผู้สมัคร การตั้งกลุ่มไลน์ทั่วไปเพื่อแนะนำตัว การประชุม zoom เพื่อแนะนำตัวอย่างเท่าเทียม หรือประสบการณ์ความรู้ความสามารถ

​9.ปัจจัยความสำเร็จอยู่ที่การวางแผนที่ดี ตั้งแต่การเลือกกลุ่มอาชีพ เลือกอำเภอที่สมัคร การสร้าง voters การสร้างเครือข่าย การติดต่อเฉพาะตัว การลงทุนและการเสียสละของ voters 10.ถามว่า เป็นการออกแบบการเลือก สว.ที่ดีไหม คำตอบคือ ไม่ดีอย่างยิ่ง แต่ถ้าถามว่า ผลการเลือก สว.ระดับจังหวัดเป็นผลที่ดีไหม 

คำตอบคือ รับได้ มีสัดส่วนของภาคประชาชนปะปนไปกับนักการเมืองและบ้านใหญ่ประมาณครึ่งต่อครึ่ง และดีกว่าการแต่งตั้งโดยผู้มีอำนาจอย่างแน่นอน ต้องรอดูฤทธิ์เดชของการออกระบบในระดับประเทศต่อไป.

 

ช่างสงสัย 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บันทึกหน้า 4

22 พ.ย. ลุ้น ผลการประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะ “รับ-ไม่รับ” คำร้องของ “ธีรยุทธ สุวรรณเกษร” ให้ “ทักษิณ ชินวัตร” และ “พรรคเพื่อไทย” หยุดพฤติการณ์ล้มล้างการปกครอง จาก 6 กรณี ดังนี้ หนึ่ง “ทักษิณ” ไม่ยอมติดคุกแม้แต่วันเดียว

“ผ้าไทยใส่ให้สนุก”

เมื่อเร็วๆนี้ “มท.หนู” อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.มหาดไทย (มท.1) ถือโอกาสพานายกฯอิ๊งค์“ “แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ชมนิทรรศการและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่เข้าร่วมโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ที่ทำเนียบรัฐบาล

บันทึกหน้า 4

ต้องเรียกว่า “พุธพิพากษา” ของแท้ โดยเฉพาะศาลอาญาที่ได้อ่านคำพิพากษาคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 5 และมารดาผู้เสียชีวิตร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้อง “สรารัตน์ รังสิวุฒาภรณ์” หรือ “แอม ไซยาไนด์” อายุ 36 ปี

บันทึกหน้า 4

ควันหลงการหาเสียงเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ที่ นายทักษิณ ชินวัตร ในฐานะผู้ช่วยหาเสียง นายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครนายก อบจ. สังกัดพรรคเพื่อไทย (พท.)

บันทึกหน้า 4

สมรภูมิเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ในวันที่ 24 พ.ย. ไม่เพียงแค่ชัยชนะของพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชนในสนามท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังเป็นการหยั่งกระแสของทั้งสองฝ่ายในเวทีใหญ่ทางการเมืองอีกด้วย โดยเฉพาะทัพแดงนั้นแพ้ไม่ได้

บันทึกหน้า 4

บันทึกในวันครึ้มฟ้าครึ้มฝนจากผลกระทบปลายๆแถวพายุหม่านยี่ เสียงฟ้าร้องฟ้าคะนองอาจจะไม่มี แต่เสียงอื้ออึง "ทักษิณ" กลับมาแล้ว