ปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็จะเห็นเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าออนไลน์ การทำธุรกรรมโอนเงิน การเรียกใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ ดังนั้นความก้าวหน้าทางดิจิทัลมากเท่าไหร่ความสะดวกสบายก็มากขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับว่าอะไรที่มีคุณประโยชน์ก็มีอันตรายแฝงอยู่ อย่างเทคโนโลยีที่มาพร้อมกับความสะดวกสบาย มิจฉาชีพบนโลกออนไลน์ที่มีมากขึ้นทุกวัน ได้พัฒนากลโกงที่จะหลอกเอาเงินมาในหลายรูปแบบ แนบเนียนขึ้นเรื่อย ๆ
ล่าสุดกระทรวงงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี โดย เวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัด ดีอี ในฐานะโฆษกกระทรวงฯ ระบุว่า งผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 31 พ.ค – 6 มิ.ย. 67 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 1,203,865 ข้อความ
ซึ่ง10 อันดับแรก พบข่าวเกี่ยวกับด้านสุขภาพ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง ถึง 5 อันดับ และรองลงคือ เรื่องการรับสมัครงาน โดยส่วนใหญ่รูปแบบของการแนะนำด้านสุขภาพที่ผิด ซึ่งทำให้เกิดความกังวลในการใช้ชีวิตประจำวัน ขณะเดียวกันข่าวการหลอกลวงสร้างอาชีพ หารายได้เสริม ทำให้ประชาชนส่วนมากหลงเชื่อ และสร้างความเข้าใจผิด จึงคาดว่าอาจเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้เข้าถึงความสนใจของผู้รับข่าวสาร ซึ่งอาจเป็นช่องทางในการก่ออาชญากรรมของมิจฉาชีพออนไลน์ นำไปสู่ความเสียหายที่เป็นผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ในสังคม
และยังพบว่าข่าวปลอมรายสัปดาห์ ที่ประชาชนให้ความสนใจสูงสุดอันดับที่ 1 เรื่อง “เปิดรับสมัครงาน ทำงานที่บ้าน รายได้ 450-3,300 บาท ต่อวัน/สัปดาห์ ผ่านเพจ กรมอาชีพฝีมือแรงงาน” รองลงมาคือเรื่อง “ทานวิตามินบีเป็นประจำก่อนนอน ช่วยป้องกันโรคหัวใจ โดยช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุด คือ ข้อความที่มาจาก Social Listening จำนวน 182 ข้อความ ตามมาด้วยการแจ้งเบาะแสผ่าน Line Official จำนวน 37 ข้อความ ข้อความที่มาจาก Website จำนวน 9 ข้อความ และข้อความที่มาจาก Facebook 2 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 175 เรื่อง และจากการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 110 เรื่อง
นอกจากนี้ยังพบว่ามีข่าวปลอมที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมออนไลน์รายสัปดาห์ ที่ประชาชนให้ความสนใจสูงสุดอันดับที่ 1 เรื่อง “ธ.อิสลาม ช่วยเหลือประชาชน รับรวมหนี้ ต่อธุรกิจ ปิดหนี้ และหมุนธุรกิจ” รองลงมาคือเรื่อง “กรุงไทยปล่อยสินเชื่อ ผ่านเพจสินเชื่อส่วนบุคคล SME” โดยขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม เลือกเชื่อ เลือกแชร์ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หวั่นตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ หรืออาจทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน และมีผลกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง
ขณะที่ วงศ์อะเคื้อ บุญศล โฆษก ดีอี ฝ่ายการเมือง ยังระบุว่าในช่วงวันที่ 6 – 9 มิ.ย.567 ที่ผ่านมา ศูนย์ AOC 1441 (Anti Online Scam Operation Center) ยังพบว่ามีการหลอกซื้อสินค้า-บริการ” สูญเงินเกือบ 4 แสนบาท โดย มิจฉาชีพได้อ้างตัวพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ ใช้การติดต่อผ่านช่องทางโซเชี่ยลมีเดีย คือ Line และFacebook เพื่อหลอกลวงให้ผู้เสียหายซื้อสินค้า นอกจากนี้ยังมีการอ้างตัวเป็นคนรู้จักหลอกลวงให้โอนเงินให้
"ขอความร่วมมือประชาชนตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้านค้าออนไลน์นั้นๆ ค้นหา และสอบถามข้อมูลรายละเอียดสินค้าให้แน่ชัดอีกครั้ง ก่อนตัดสินใจสั่งสินค้าและทำธุรกรรม อย่างไรก็ตาม ดีอี ได้เร่งดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ทุกรูปแบบร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้อง รวมถึงการตรวจสอบซิมผี และบัญชีม้า เพื่อตัดตอนวงจรเครือข่ายการก่ออาชญากรรมออนไลน์ และแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง” นางสาววงศ์อะเคื้อ กล่าว
อย่างไรก็ตามเรื่องเหล่านี้มาพร้อมกับการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ผ่านมานั้นรัฐบาล โดยเฉพาะ ดีอี มีความห่วงใยประชาชน เรื่องความตระหนักรู้เท่าทันข่าวปลอมที่ถูกแพร่กระจายบนสื่อออนไลน์โซเชียล ซึ่งหากขาดความรู้เท่าทัน หลงเชื่อทำธุรกรรมใดๆ ผ่านแพลตฟอร์มต้องสงสัย อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและข้อมูลส่วนบุคคลได้ หรือหากส่งต่อข้อมูลข่าวปลอม ทำให้เกิดการหลงเชื่อ อาจทำให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง
ดังนั้นจึงควรตรวจสอบข้อเท็จจริงของข่าวหรือลิงก์เว็บไซต์ให้แน่ชัด โดยสามารถตรวจสอบ ติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม ผ่านช่องทางต่างๆ ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ที่ ไลน์ @antifakenewscenter เว็บไซต์ https://www.antifakenewscenter.com/ ทวิตเตอร์ https://twitter.com/AFNCThailand และช่องทางโทรศัพท์โทรสายด่วน GCC 1111 ตลอด 24 ชั่วโมง”
เมื่อหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลออกมาพูดกันขนาดนี้ สิ่งที่ทำได้ก็คืองต้องยอมรับกับความจริงที่เกิดขึ้น และสิ่งสำคัญเช็คให้ชัวร์ก่อนตัดสินใจ เพราะรัฐบาลเค้าก็บอกอย่างชัดเจนแล้วตนเป็นที่เพึ่งแห่งตนจึงรอด ส่วนรัฐได้แค่เตือนภัย
บุญช่วย ค้ายาดี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปี68สินเชื่อระบบแบงก์ไทยหืดจับ
ปี 2568 ยังเป็นอีกปีที่ต้องจับตากับทิศทางของเศรษฐกิจไทย เพราะยังมีปัจจัยหลายอย่าง ทั้งบวกและลบ ที่จะเข้ามามีผลกับภาคเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสถานการณ์กดดันจากปัญหาหนี้ครัวเรือน
แผนดัน ‘เกษตรครบวงจร’
อุตสาหกรรมเกษตร เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย และที่ผ่านมาเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนไปได้ด้วยสินค้าเกษตร แต่ก็มีบางช่วงที่ติดขัดและไม่สามารถเดินหน้าต่อได้ จากปัจจัยกระทบต่างๆ
เคาต์ดาวน์ปลอดภัยส่งท้ายปี
เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2568 เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข เป็นวาระแห่งการเริ่มต้นใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยพลังและความหวัง โดยในปีนี้สถานที่จัดงาน Countdown ทั่วประเทศไทยหลายหน่วยงานได้เตรียมกิจกรรมไว้ให้ทุกคนได้ร่วมสนุกและสัมผัสความงดงาม
แชร์มุมมอง‘อินฟลูเอนเซอร์’ในตลาดอาเซียน
การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มายาวนาน แต่กลยุทธ์การทำการตลาดของแต่ละแบรนด์นั้นล้วนแตกต่างกันไป ล่าสุด วีโร่ ได้เปิดตัวเอกสารไวต์เปเปอร์ฉบับใหม่ในหัวข้อ “ผลกระทบ
ของขวัญรัฐบาล
อีกไม่ถึง 2 สัปดาห์ก็จะเข้าสู่ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แล้ว ก็เป็นธรรมเนียมของรัฐบาลและ ครม.ที่จะมีมาตรการเป็นของขวัญมอบให้กับประชาชน ซึ่งการประชุม ครม.ล่าสุดเริ่มมีการเคาะมาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือประชาชนกันแล้ว
ยกระดับธุรกิจไทยแข่งขันเวทีโลก
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ EXIM BANK คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 3% ด้วยแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐ