เมื่อวานเขียนถึงเรื่องโควิด-19 ทำให้จำนวน “คนจน” ในรูปแบบต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
วันนี้คงต้องเขียนถึงคำประกาศจากรัฐบาลว่าตั้งเป้าให้ปี 2565 เป็น “ปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน” อย่างจริงจัง
ผมสนใจว่าจะทำอย่างไรและมีแผนจริงจังเพียงใด
เพราะแบงก์ชาติมีตัวเลขบอกว่าหนี้ครัวเครือนได้เพิ่มสูงกว่าหลายประเทศแล้ว
ไตรมาสแรกตัวเลขนี้อยู่ที่ 90.5% ของจีดีพีของประเทศ
และยังไม่มีทีท่าว่าจะมีมาตรการอะไรที่จะทำให้หนี้ครัวเรือนของคนไทยลดลงได้เลย
รัฐบาลตั้งเป้าปี 2565 "ปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน" กางโรดแมปแก้หนี้ข้าราชการ นำร่องครูและตำรวจ
ตรงกันข้ามจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นผลจากรายได้ประชาชนหดตัว ขณะที่ภาระหนี้เดิมที่มีอยู่เพิ่มสูงขึ้น
รายงานนี้พบว่า หนี้ครัวเรือนส่วนใหญ่เป็นหนี้เพื่อที่อยู่อาศัย 34% สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต 28% และมีความซับซ้อนมากขึ้น
เพราะมีเจ้าหนี้หลากหลาย
ทั้งหนี้จากธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ที่มีสัดส่วน 72% คิดเป็น 3 ใน 4
ส่วนที่เหลืออยู่นอกการกำกับดูแลของ ธปท.
มาตรการจึงต้องร่วมมือกันทุกภาคส่วน ไม่ใช่เฉพาะ ธปท. เพียงอย่างเดียว
ที่ผ่านมา ธปท.เร่งแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนทั้งต้นน้ำ คือ ให้ความรู้ทางการเงินแก่ภาคประชาชน ไม่ก่อหนี้เกินตัว
กลางน้ำ คือ ออกมาตรการกำกับดูแล และวางกฎเกณฑ์ ควบคุมดูแลเจ้าหนี้
และปลายน้ำ คือ วางโครงสร้างพื้นฐาน สร้างเครื่องมือ กลไกในการแก้ปัญหาหนี้ เช่น คลินิกแก้หนี้ ทางด่วนแก้หนี้ มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ เป็นต้น
รวมทั้งมาตรการลดเพดานดอกเบี้ย สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล ลงอีก 2-4%
และมาตรการดูแลในสถานการณ์โควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 จนล่าสุดมาตรการระยะ 3 ในช่วง พ.ค.2564
ที่ผ่านมา ธปท.เข้าไปช่วยเหลือลูกหนี้แล้วกว่า 1.66 ล้านล้านบาท หรือ 4.4 ล้านบัญชี
เช่น โครงการคลินิกแก้หนี้ ช่วยไปแล้วกว่า 1.9 หมื่นคน 6 หมื่นบัญชี วงเงิน 5 พันล้านบาท
ทางด่วนแก้หนี้ กว่า 2.8 แสนราย
มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ กว่า 2.67 แสนบัญชี
และล่าสุดสินเชื่อเช่าซื้อ กว่า 2.2 หมื่นราย
ในระยะต่อไป ธปท.จะดำเนินการใน 4 เรื่อง คือ
1.วางโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ซึ่งมีเครดิตบูโรดำเนินการอยู่ ก็จะดึงข้อมูลเจ้าหนี้ให้ครอบคลุมมากขึ้น เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์
2.ผลักดันให้เจ้าหนี้ ให้สินเชื่อด้วยความรับผิดชอบและเป็นธรรม ไม่ให้ลูกค้ามีหนี้เกินตัว ต้องมีความสามารถในการชำระหนี้
3.ให้ความรู้การบริหารหนี้ กับประชาชนครบวงจร และ
4.ส่งเสริมให้มีช่องทางการกู้ยืมเงินที่มีความหลากหลายและเหมาะสม เช่น ที่ดำเนินการอยู่คือ พีทูพี เลนดิ้ง เป็นต้น
ทางการบอกว่า นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2564 นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการชุดนี้ มีการดำเนินการครอบคลุม 8 ประเด็น คือ
1.การแก้ปัญหาหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
2.การกำหนดให้การไกล่เกลี่ยและการปรับโครงสร้างหนี้เป็นวาระของประเทศ ผ่านกลไกธนาคารแห่งประเทศไทยและสถาบันการเงินของรัฐ
3.การแก้ปัญหาหนี้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์
4.การแก้ปัญหาหนี้สินข้าราชการ โดยเฉพาะข้าราชการครูและข้าราชการตำรวจ
5.การปรับลดและทบทวนโครงสร้างและเพดานอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม และการออกมาตรการคุ้มครองสิทธิ์ของลูกหนี้
6.การแก้ปัญหาหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล
7.การแก้ปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนรายย่อยและ SMEs
8.การปรับปรุงขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรม
ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการเพิ่มเติม เพื่อในปี 2565 จะสามารถขยายผลสัมฤทธิ์ของการแก้ปัญหาหนี้สิน และคลี่คลายภาระหนี้ครัวเรือนได้มากขึ้น
ในส่วนของการแก้ปัญหาหนี้สินข้าราชการ การขับเคลื่อนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
คือ บุคลากรครู และเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยกระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้งคณะกรรมการแก้ไขหนี้สินบุคลากรครู มีแนวทางแก้ไขปัญหา ได้แก่
1.ยุบยอดหนี้ โดยใช้ทรัพย์สินและรายได้ในอนาคตของครู เพื่อให้ยอดหนี้ลดลง และสามารถชำระคืนได้จากเงินเดือน เช่น ใช้เงินบำเหน็จตกทอดมาชำระหนี้บางส่วน
2.ปรับดอกเบี้ยเงินกู้ให้ลดลงเหลือไม่เกินร้อยละ 5 เพื่อให้สอดคล้องกับสินเชื่อ หักเงินเดือนข้าราชการที่มีความเสี่ยงต่ำ
3.ปรับลดค่าธรรมเนียมทำประกันชีวิตและการค้ำประกันโดยบุคคลที่ไม่จำเป็น
4.ยกระดับระบบการตัดเงินเดือนข้าราชการให้มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมมากขึ้น ซึ่งขณะนี้มีสหกรณ์ครูจำนวน 20 แห่ง ครอบคลุมครูทั่วประเทศกว่า 200,000 คน สมัครเข้าร่วมดำเนินการตามแนวทางที่กระทรวงกำหนด และคาดว่าจะมีเพิ่มในระยะต่อไป
ขณะที่การแก้ปัญหาหนี้ตำรวจ มีผู้เข้าร่วมโครงการ 4,600 ราย (ข้อมูล ณ กันยายน 2564)
ได้รับการแก้ปัญหาหนี้แล้ว 2,100 ราย อยู่ระหว่างดำเนินการ 2,500 ราย
และทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ขอความร่วมมือสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจ เพื่อช่วยเหลือข้าราชการที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ในช่วงสถานการณ์โควิดในการพักชำระหนี้เงินต้น การจัดทำโครงการปล่อยเงินกู้ระยะสั้นดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้กับสมาชิกในครอบครัว และการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับสมาชิกที่มีหนี้
เรื่อง “หนี้” เป็นเรื่องใหญ่ เป็นการบั่นทอนการทำงานของคนไทยจำนวนมาก และเป็นปัญหาที่เกิดจากนโยบายหลักของรัฐบาล ตลอดไปถึงเศรษฐกิจระดับปากท้องของประชาชนทุกระดับ
จะตั้งคณะกรรมการกี่ชุดกี่รัฐบาลก็แก้ไม่ได้ หากไม่ยังแก้ที่ “ปลายเหตุ” อย่างที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ