ปรับตัวรับมือสงครามการค้าสหรัฐ-จีน

สหรัฐอเมริกากำลังจะมีการเลือกตั้งชิงประธานาธิบดีรอบใหม่ในช่วงปลายปีนี้ และในการแข่งขันระหว่างสองแคนดิเดตอย่าง โจ ไบเดน และโดนัลด์ ทรัมป์ ก็ทวีความเข้มข้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะการแข่งขัน “เล่นงานจีน”

โดยในช่วงที่ต้องการคะแนนนิยมจากประชาชน พบว่าเรื่องของการลดอิทธิพลจีนกลายเป็นเรื่องที่เรียกเสียงหนุนจากประชาชนมะกันได้มากพอสมควร

จนตอนนี้ใกล้เข้าสู่โค้งสุดท้ายของศึกเลือกตั้ง ประเด็นจีนจึงถูกปั่นกระแสกลายเป็น “สงครามการค้ารอบใหม่” ซึ่งรุนแรงถึงขนาดมีแนวคิดว่าจะไม่ให้สินค้า Made in China ราคาถูกเข้ามาตีตลาด ซึ่งเป็นการทำลายอุตสาหกรรมและการจ้างงานในประเทศ จะสกัดกั้นรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV จีนไม่ให้ได้ผุดได้เกิด เพราะจะเป็นการสร้างหายนะแก่อุตสาหกรรมรถยนต์อเมริกา

และเมื่อเทียบนโยบายระหว่าง สองผู้ท้าชิงที่มีต่อจีน พบว่านโยบายของทรัมป์จะส่งผลกระทบต่อจีนมากกว่า เพราะนอกจากเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนทั้งหมดแล้ว ยังมีแนวโน้มลดระดับความสัมพันธ์ทางการค้ากับจีน ยกเลิกการนำเข้าสินค้าที่จำเป็นจากจีน ตั้งแต่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เหล็ก ไปจนถึงยา ภายใน 4 ปี ทั้งยังขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์จีนที่ผลิตในเม็กซิโกในอัตรา 100% กำหนดข้อจำกัดการถือครอง (ownership) ของจีนในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของสหรัฐ เช่น พลังงาน เทคโนโลยี การแพทย์และการสื่อสาร และยังออกกฎใหม่เพื่อหยุดการลงทุนของบริษัทสหรัฐในจีนอีกด้วย"

อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาจีนมีการเตรียมการรับมือเอาไว้แล้ว ด้วยการปรับห่วงโซ่อุปทานและปรับช่องทางการค้า โดยกระจายความเสี่ยงส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ มากขึ้น ซึ่งจะช่วยจำกัดผลลบต่อเศรษฐกิจจีนได้ ประกอบกับธนาคารกลางจีน (PBoC) อาจยอมปล่อยให้เงินหยวนอ่อนค่าลงเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในระดับที่ไม่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเงินทุนไหลออก ซึ่งก็จะช่วยบรรเทาผลลบจากกำแพงภาษีได้อีกทาง

เรียกได้ว่าตอนนี้ทางการจีนไม่ต้องการจะเป็นฝ่ายตั้งรับเพียงอย่างเดียว แต่กำลังจะโต้กลับด้วยแผนกลยุทธ์ใหม่ๆ นั่นก็คือการย้ายฐานการผลิต ซึ่งอาเซียนก็กำลังเป็นภูมิภาคที่หอมหวาน ที่จะดึงดูดเงินลงทุนจากจีนเข้ามายังประเทศไทย ดังจะเห็นในบางอุตสาหกรรม อย่างรถยนต์ไฟฟ้า ผู้ประกอบการจีนหลายค่ายก็เริ่มเข้ามาลงทุนในไทยบ้างแล้ว รวมถึงมีการดึงซัพพลายเออร์ของตัวเองเข้ามาด้วย และยังมีอีกหลายอุตสาหกรรมที่ทางการจีนสนใจ

แต่อย่างไรก็ดี ไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่นักลงทุนจีนสนใจ เพื่อนๆ ในอาเซียนอีกหลายประเทศก็เป็นจุดสนใจของนักลงทุนจีนเช่นกัน

ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลไทยจะต้องมีการสร้างความเชื่อมั่น และให้สิทธิประโยชน์ที่จูงใจ รวมถึงต้องมีการโฟกัส ดึงอุตสาหกรรมเป้าหมายที่เป็นเทคโนโลยีชั้นสูงเข้ามาต่อยอดเศรษฐกิจของเราต่อไปให้ได้ ซึ่งจากนี้สิ่งที่รัฐบาลควรจะทำมากที่สุดคือ ปรับโครงสร้างการศึกษา โดยเน้นสร้างบุคลากรทางด้าน STEM ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering and Mathematics ซึ่งได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อตำแหน่งงานที่นักลงทุนในธุรกิจใหม่ต้องการ แต่ที่ไทยยังขาดแคลนมาก ซึ่งเรื่องนี้เป็นข้อเสียเปรียบเมื่อแข่งกับเพื่อนบ้าน ที่ไทยต้องอุดช่องโหว่ตรงนี้

นอกจากนี้ ไทยเองยังต้องวางนโยบายที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นกลางระหว่างสองขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจให้ได้ตลอด เพื่อที่จะต้อนรับนักลงทุนที่เข้ามาทั้งสองขั้ว ซึ่งประเด็นนี้เชื่อว่ารัฐบาลไทยจะต้องมีความละเอียดอ่อนในการแสดงออกถึงท่าทีต่างๆ

และที่สำคัญ รัฐบาลจะต้องวางยุทธศาสตร์ให้ไทยเราเป็นสวรรค์ของการทำงาน เพื่อดึงดูดคนเก่งๆ จากทั่วโลกมาทำงานที่ประเทศของเรา ซึ่งไทยเองมีข้อได้เปรียบเรื่องสภาพอากาศ ความสวยงาม และค่าครองชีพที่คุ้มค่า สมเหตุสมผล

ทั้งหมดนี้ ถ้าทำได้ ไทยเราจะได้รับประโยชน์จากการแข่งขันของสองขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างดีแน่นอน.

 

ลลิตเทพ  ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร