อย่าติดตามเฉพาะตัวเลข GDP ต้องดูจุดเปราะบางที่ต้องแก้เร่งด่วน

 เศรษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไร อย่าดูแต่ตัวเลข GDP เพราะมีความ “ผิดปกติ” หลายด้านที่ต้องแก้ไข ซึ่งอาจจะไม่สะท้อนในภาพของตัวเลขอัตราเติบโตแต่ละไตรมาสเท่านั้น

KKP Research เตือนว่าแม้ในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยจะโตได้ต่ำ แต่ก็ทยอยฟื้นตัวขึ้นได้บ้าง และทำให้หลายฝ่ายคาดว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะที่กำลังฟื้นตัวได้ดี อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยมีลักษณะที่ไม่ปกติ

ความจริงแล้วเศรษฐกิจไทยมีจุดปราะบางที่เพิ่มขึ้น และในหลายภาคส่วนชะลอตัวมาตั้งแต่ก่อนโควิด แต่เพิ่งสะท้อนปัญหาที่ชัดเจนขึ้นในช่วงนี้

โดยมีประเด็นที่สำคัญ คือ

ดุลการค้ากับสหรัฐฯ และจีน

 (1) เศรษฐกิจไทยถูกขับเคลื่อนด้วยการบริโภคในภาคบริการ

ในระหว่างปี 2021-2024 หรือหลังการระบาดของโควิดเป็นต้นมา การผลิตในภาคบริการเติบโตเฉลี่ยปีละ 3.0% เทียบกับภาคการผลิตที่ยังเติบโตติดลบ 0.5%

ยิ่งไปกว่านั้นการเติบโตของการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรไม่ได้เพิ่งชะลอตัวลง แต่มีการส่งสัญญาณชะลอตัวมาตั้งแต่ช่วงก่อนโควิดแล้ว และยังเป็นปัญหาต่อเนื่องต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน

สถานการณ์ดังกล่าวสะท้อนการเติบโตที่กระจุกตัว ใน

ขณะที่มีธุรกิจและแรงงานในหลายภาคเศรษฐกิจที่เผชิญ

กับวิกฤตเศรษฐกิจ

 (2) เศรษฐกิจไทยถูกขับเคลื่อนด้วยอุปสงค์จากต่างประเทศเป็นหลัก

โดยอุปสงค์ในประเทศมีทิศทางเติบโตได้ช้าลงมาโดยตลอด เปรียบเทียบกับอุปสงค์ต่างชาติที่นับรวมการส่งออกสินค้า และการส่งออกบริการที่ขยายตัวได้ดีกว่าซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทย โดยทั้งการบริโภคและการลงทุนในประเทศมีทิศทางชะลอตัวลง สะท้อนปัญหาเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาแรงส่งจากต่างประเทศในสัดส่วนที่สูง

 (3) ภาคการผลิตในหลายส่วนของไทยเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้างและชะลอตัวมาตั้งแต่ช่วงก่อนโควิด-19 ตามที่ได้วิเคราะห์ไปในส่วนก่อนหน้า ภาคอุตสาหกรรมไทยจำนวนมากส่งสัญญาณชะลอตัวมาตั้งแต่ช่วงก่อนโควิดแล้ว และปัญหาที่เจอในปัจจุบันไม่ใช่ปัญหาใหม่

ในภาคการผลิตด้วยกันเองมีสินค้าจำนวนมากที่กำลังเผชิญกับปัญหาเชิงโครงสร้าง และอาจไม่สามารถกลับมาฟื้นตัวได้ในระยะข้างหน้า

KKP Research วิเคราะห์ให้เห็นภาพว่า หากเปรียบเทียบกับช่วงปลายปี 2019 มาจนถึงปัจจุบัน ตัวเลข GDP กลับมาที่จุดใกล้เคียงกับระดับเดิม ในขณะที่

ค่าเฉลี่ยอัตราการเติบโตของ GDP ไทยในฝั่งการผลิต (%YoY)

ภาคการผลิตจำนวนมาก ณ สิ้นปี 2023 ยังมีปริมาณการผลิตที่อยู่ในระดับต่ำกว่าก่อนโควิด-19 ปี 2019 โดยคิดเป็นกว่า 66% ของมูลค่าเพิ่มในภาคการผลิตทั้งหมด สะท้อนการเติบโตที่แตกต่างกันอย่างมาก

KKP Research ชี้ให้เห็นว่าผลของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องในหลายภาคเศรษฐกิจ เริ่มสะท้อนผ่านตัวเลขเศรษฐกิจใน 3 มิติ ที่ตอกย้ำว่าเศรษฐกิจในบางภาคส่วนยังไม่ฟื้นตัวและเริ่มส่งผลกระทบต่อเนื่องเป็นวงกว้างมากขึ้น

และกลับมากระทบให้เศรษฐกิจไทยไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งในระยะข้างหน้า

โดยเริ่มเห็นสัญญาณผลกระทบใน 3 มิติ คือ

1) สัญญาณการปิดตัวของโรงงานอุตสาหกรรม การชะลอตัวของภาคการผลิตต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาเริ่ม

ส่งผลกระทบชัดเจนมากขึ้นต่อผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม โดยในช่วงที่ผ่านมายอดการปิดตัวของโรงงานอุตสาหกรรมปรับตัวสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับระดับปกติ โดยโรงงานปิดตัวไปแล้วถึง 1,700 แห่งนับตั้งแต่ต้นปี

2023 ถึงปัจจุบัน โดยเร่งตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2023 และหากประเมินเป็นรายอุตสาหกรรมจะพบว่า อุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนโรงงานปิดตัวต่อโรงงานเปิดตัวใหม่มากที่สุด คือกลุ่มการผลิตหนังและรองเท้า การผลิตยาง อุตสาหกรรมการเกษตร การผลิตเครื่องจักร และภาคการขนส่ง

KKP Research พบว่าภาคการผลิตที่มียอดการปิดตัวโรงงานมากขึ้น เป็นอุตสาหกรรมเดียวกับอุตสาหกรรมที่มีการผลิตหดตัวลงมากในช่วงก่อนหน้ายอดการปิดโรงงานสะสมตั้งแต่ต้นปี 2023 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน

2) ผลกระทบต่อการจ้างงานและการบริโภคเริ่มรุนแรงมากยิ่งขึ้น การปิดตัวของโรงงานอุตสาหกกรมที่ปรับตัวสูงขึ้น เริ่มส่งผลเพิ่มเติมต่อการจ้างงานที่รุนแรงมากขึ้น โดยยอดแรงงานที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่ต้นปี 2023 ถึงปัจจุบันในภาคอุตสาหกรรมมียอดรวมกว่า 42,000 ตำแหน่ง

สอดคล้องกับดัชนีการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมที่สะท้อนว่า การจ้างงานของการผลิตในบางภาคธุรกิจยังคงอยู่ในระดับต่ำและมีทิศทางปรับตัวลดลง

3) ดุลการค้าชะลอตัว ค่าเงินบาทมีแนวโน้มปรับตัวอ่อนค่ามากกว่าในอดีต ภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบต่อเนื่องเริ่มส่งผลต่อดุลการค้าของไทยชัดเจนขึ้น

โดย KKP Research ประเมินว่าดุลการค้าของไทยในระยะข้างหน้ามีแนวโน้มแย่ลง จากการพึ่งพาการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากจีนเพื่อการบริโภคในประเทศที่มากขึ้น โดยในปัจจุบันเริ่มเห็นสัญญาณการปรับตัวลดลงของดุลการค้าในกลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องกับราคาน้ำมัน ต่างจากช่วงปี 2022-2023 ปัญหาด้านความสามารถในการแข่งขันของไทย ทำให้ดุลการค้าของไทยมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงก่อนโควิด-19 และค่าเงินบาทในระยะข้างหน้ามีแนวโน้มอ่อนค่าลงกว่าในอดีต

KKP Research ชี้ถึงความท้าทายในการติดตามภาวะเศรษฐกิจ และการประมาณการเศรษฐกิจท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจโลกและไทย รวมทั้งเน้นย้ำประเด็นสำคัญว่าการ

ติดตามเฉพาะตัวเลข GDP จะไม่เพียงพอต่อการทำความเข้าใจเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่ ในภาวะที่การเติบโต

เศรษฐกิจในแต่ละส่วนแตกต่างกันอย่างมากในปัจจุบัน การประเมินภาพเศรษฐกิจเชิงลึกยังสะท้อนให้เห็น

ความสำคัญในการสร้างแรงขับเคลื่อนใหม่ให้แก่เศรษฐกิจไทยในระยะยาว โดยเฉพาะการปรับปรุงปัญหาเชิง

โครงสร้างในภาคอุปทานของไทย เพื่อให้เศรษฐกิจในทุกภาคส่วนกลับมาเติบโตไปพร้อมกันในช่วงที่เศรษฐกิจอยู่

ในวัฏจักรขาขึ้น

การละเลยการแก้ไขปัญหาในภาคอุปทานและดำเนินนโยบายเฉพาะการกระตุ้นอุปสงค์ จะกลายเป็นปัจจัยฉุดรั้งให้ศักยภาพเศรษฐกิจไทยลดต่ำลงในระยะยาว หากมัวแต่ดูตัวเลข GDP โดยไม่เจาะลึกลงไปที่ “จุดเปราะบาง” ที่ต้องแก้ไขด่วนก็เท่ากับจะแพ้ในวันข้างหน้า!

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน

นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ

แหล่งค้ามนุษย์ใน 3 เหลี่ยมทองคำ

เขตเศรษฐกิจพิเศษหรือ SEZ บริเวณสามเหลี่ยมทองคำที่โยงกับไทยนั้นกลายเป็นประเด็นเรื่องอาชญกรรมข้ามชาติที่สมควรจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยอย่างจริงจัง

พรุ่งนี้ ลุ้นดีเบตรอบแรก โจ ไบเดนกับโดนัลด์ ทรัมป์

ผมลุ้นการโต้วาทีระหว่างโจ ไบเดน กับโดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ (27 มิถุนายน) เพราะอยากรู้ว่า “ผู้เฒ่า” สองคนนี้จะมีความแหลมคมว่องไวในการแลกหมัดกันมากน้อยเพียงใด

เธอคือ ‘สหายร่วมรบ’ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรค NLD คนสุดท้าย!

อองซาน ซูจีมีอายุ 79 ปีเมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา...และยังถูกจำขังในฐานะจำเลยของกองทัพพม่าที่ก่อรัฐประหารเมื่อกว่า 3 ปีที่แล้ว