ประเทศเพื่อนบ้านด้านตะวันตกของยูเครนที่เป็นสมาชิกนาโตเริ่มจะหวั่นไหวเพราะเห็นทหารัสเซียสามารถรุกคืบในยูเครนได้มากขึ้นในหลายเดือนที่ผ่านมา
ตั้งแต่ฟินแลนด์ทางเหนือมาจรดลิทูอาเนียทางใต้ที่เรียกว่าเป็นกลุ่มประเทศบอลติกรวมตัวกันเพื่อจะสร้าง “แนวป้องกันร่วม” เพื่อตั้งรับในกรณีที่รัสเซียทะลุทะลวงผ่านยูเครนมาได้
เป็น “แนวป้องกันร่วม” ทั้งที่เป็นกองกำลังโดรนและบังเกอร์ภาคพื้นดินรวมไปถึงรั้วลวดหนามที่จะขึงตลอดแนว
ก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดียูเครนเซเลนสกีเรียกร้องให้ประเทศตะวันตกส่งเครื่องบิน F-16 มาช่วย
มีการถกแถลงในเหล่าสมาชิกนาโตกันอย่างกว้างขวาง ทั้งที่เห็นด้วยและไม่ต่าง
ต่อมา ยูเครนก็ขอระบบต่อต้านอากาศยานมาเพิ่ม เพราะรัสเซียใช้วิธีการถล่มโจมตีทางอากาศหนักขึ้นทุกที
ล่าสุดรัสเซียทิ้งระเบิดใส่เมืองคาร์คีฟซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของยูเครน
ขีปนาวุธไปลงในซูเปอร์มาร์เก็ตกลางเมือง สร้างความเสียหายกว้างขวางทั้ง ๆ ที่เป็นตลาด ไม่เกี่ยวกับสงครามแต่อย่างไร
คนที่ออกมาเชียร์ให้ตะวันตกต้องยกระดับความช่วยเหลือยูเครนให้มากกว่านี้คือเลขาธิการนาโต
ล่าสุดเขาเสนอให้ยกเลิกข้อจำกัดเกี่ยวกับการใช้อาวุธของตะวันตกโดยยูเครนต่อเป้าหมายในดินแดนรัสเซีย
เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) เยนส์ สโตลเทนเบิร์กให้สัมภาษณ์นิตยสาร The Economist ของอังกฤษว่ารัฐบาลต่าง ๆ โดยเฉพาะทางตะวันตก (เน้นไปที่สหรัฐฯโดยไม่เอ่ยชื่อตรง ๆ) ที่ส่งมอบความช่วยเหลือทางทหารให้ยูเครน ควรทบทวนเงื่อนไขที่เป็นข้อจำกัดการใช้อาวุธเพื่อโจมตีเป้าหมายทางทหารของกองทัพมอสโกในดินแดนรัสเซีย
พูดง่าย ๆ คือเขาเห็นพ้องกับเซเลนสกีว่ายูเครนควรจะสามารถใช้อาวุธของตะวันตกในการสกัดการโจมตีของรัสเซียได้
เพราะตราบที่ยังมีเงื่อนไขดั่งว่า ก็จะเป็นการมัดมือชกสำหรับยูเครน
ทำให้กองทัพเคียฟไม่สามารถปกป้องตนเองจากการรุกรานของมอสโกได้เต็มที่
มองอีกแง่หนึ่ง นั่นคือการเปิดทางให้ยูเครนรุกกลับรัสเซีย จะด้วยปืนใหญ่, ขีปนาวุธหรือแม้แต่เครื่องบินรบหากได้รับมอบได้ทันการ
นอกจากจะให้สัมภาษณ์นิตยสารอังกฤษแล้ว เลขาฯนาโตพูดตอนไปเยือนบัลแกเรียต้นสัปดาห์ว่าการรุกรานยูเครนโดยรัสเซียที่เริ่มต้นขึ้นในปี 2022 คือการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ
เมื่อเป็นเช่นนั้นยูเครนก็ย่อมมีสิทธิ์ที่จะป้องกันตนเอง และเมื่อการรุกรานมาจากจุดต่าง ๆ ของรัสเซีย “รัสเซียก็ย่อมจะเป็นเป้าหมายอันชอบธรรมนอกยูเครน”
นั่นคือการย้ำว่าการกระทำเช่นนี้เป็น “การป้องกันตนเอง” ไม่ใช่การรุกราน
รัสเซียก็อ้างมาตลอดเช่นกันว่าการส่งทหารเข้ายูเครนนั้นเป็นการ “ป้องกันตนเอง” จากการรุกรานของตะวันตกที่ใช้ยูเครนเป็นทางผ่านเหมือนกัน
ตกลงทุกประเทศต่างก็ “ป้องกันตนเอง” กันทั้งนั้น
ไม่มีใครยอมรับว่า “รุกราน” ใครเลย
เลขาฯ นาโต้ บอกว่า “ตอนนี้ เราเห็นภาพที่ว่าชัดเจนแล้วว่ารัสเซียใช้วิธีการโจมตีทางอากาศโดยไม่เลือกว่าเป็นเป้าหมายทางทหารหรือพลเรือน ดูตัวอย่างการถล่มในคาร์คิฟเป็นตัวอย่าง”
เขาอ้างว่าทหารรัสเซียตั้งอยู่ในดินแดนรัสเซียเพื่อทำการโจมตี จากบริเวณชายแดนเข้าใส่ยูเครนและแนวหน้าการรบนั้นก็อยู่ที่แนวพรมแดนติดกับยูเครนนั่นเอง
“หากคุณไม่สามารถโจมตีกองกำลังรัสเซียที่อีกฝั่งหนึ่งของแนวหน้าการรบได้เพราะพวกเขายืนอยู่ที่อีกฝั่งหนึ่ง นั่นหมายความว่าคุณได้ลดทอนความสามารถของกองกำลังยูเครนในการปกป้องตนเอง”เขายืนยัน
สโตลเทนเบิร์กยังพยายามยืนกรานว่านาโตไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งกับรัสเซีย
แต่พันธมิตรนาโตย่อมมีสิทธิ์ที่ช่วยยูเครนคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการป้องกันตนเองด้วยการจัดหาการสนับสนุนทางทหารให้
เลขาฯนาโตพูดชัดถ้อยชัดคำอย่างนี้ไม่กี่ชั่วโมงหลังประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกีของยูเครนเรียกร้องพันธมิตรของยูเครนให้ช่วยประเทศของเขาป้องกันตนเอง
จาก”เหล่าผู้ก่อการร้ายรัสเซีย”
เหตุที่เซเลนสกีย้ำถึงเรื่องนี้ก็เพราะต้องการจะให้ปรับเปลี่ยนนโยบายของประเทศต่าง ๆ เช่น สหรัฐฯ ที่ห้ามไม่ให้ยูเครนใช้อาวุธที่ตนมอบให้ในการโจมตีเป้าหมายที่ตั้งอยู่ภายในดินแดนของรัสเซีย
เซเลนสกีบอกว่าทหารยูเครนฃรู้ชัดเจนว่าทหารรัสเซียวางกำลังกระจุกตัวอยู่ที่จุดไหนบ้าง
อีกทั้งฝ่ายยูเครนก็คุ้นเคยกับตำแหน่งพื้นที่ต่าง ๆ ที่รัสเซียใช้ปล่อยขีปนาวุธใส่ยูเครน
และไม่ว่ารัสเซียจะจอดเครื่องบินรบที่พร้อมขึ้นบินเพื่อถล่มยูเครนก็เป็นที่ล่วงรู้ของฝ่ายยูเครน
ล่าสุด สื่อเยอรมัน Der Spiegel อ้างคำพูดของคนระดับนำของโปแลนด์ว่าหากรัสเซียสามารถยึดพื้นที่สำคัญ ๆ ในยูเครนเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญกลุ่มประเทศสมาชิกบอลติกและโปแลนด์จะ “ส่งรองเท้าบู๊ทลงพื้นดินยูเครน” แน่นอน
นั่นแปลว่าจะมีการส่งทหารเข้ายูเครนเพื่อป้องกันตัวเองจากการรุกคืบของรัสเซียสู่ดินแดนของตน
“เราจะไม่ยอมให้รัสเซียยึดกรุงเคียฟ” สื่อเยอรมันอ้างคำพูดของผู้นำคนหนึ่งของโปแลนด์
นี่คือสถานการณ์ที่ตึงเครียดมากขึ้นทุกขณะในประเทศรอบ ๆ ยูเครนที่กำลังเตรียมพร้อมสำหรับ “ฉากทัศน์อันไม่พึงปรารถนา” อย่างน่ากังวลยิ่ง!
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ
แหล่งค้ามนุษย์ใน 3 เหลี่ยมทองคำ
เขตเศรษฐกิจพิเศษหรือ SEZ บริเวณสามเหลี่ยมทองคำที่โยงกับไทยนั้นกลายเป็นประเด็นเรื่องอาชญกรรมข้ามชาติที่สมควรจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยอย่างจริงจัง
ไบเดนหรือทรัมป์? เอเชียน่าจะเลือกใครมากกว่า?
ผมค่อนข้างมั่นใจว่าการดีเบตระหว่างโจ ไบเดน กับโดนัลด์ ทรัมป์ วันนี้ (เวลาอเมริกา) จะไม่ให้ความสำคัญต่อเอเชียหรืออาเซียน
พรุ่งนี้ ลุ้นดีเบตรอบแรก โจ ไบเดนกับโดนัลด์ ทรัมป์
ผมลุ้นการโต้วาทีระหว่างโจ ไบเดน กับโดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ (27 มิถุนายน) เพราะอยากรู้ว่า “ผู้เฒ่า” สองคนนี้จะมีความแหลมคมว่องไวในการแลกหมัดกันมากน้อยเพียงใด
เธอคือ ‘สหายร่วมรบ’ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรค NLD คนสุดท้าย!
อองซาน ซูจีมีอายุ 79 ปีเมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา...และยังถูกจำขังในฐานะจำเลยของกองทัพพม่าที่ก่อรัฐประหารเมื่อกว่า 3 ปีที่แล้ว