ในช่วงโค้งสุดท้ายปลายปี 2564 สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยเริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น จากจำนวนผู้ติดเชื้อที่ปรับตัวลดลงมาอย่างมาก ขณะที่สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจก็เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเช่นเดียวกัน หลังจากรัฐบาลได้ทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด (ล็อกดาวน์) อย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการเปิดประเทศ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่เริ่มกลับมาดำเนินการได้อีกครั้ง ซึ่งปัจจัยบวกดังกล่าวทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยในปี 2565 กลับมาเติบโตได้ดีขึ้นจากช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ที่เศรษฐกิจโดนกดดันจากการระบาดของโควิด-19
แต่!! จนแล้วจนรอด เศรษฐกิจไทยก็ยังต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนจากการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ที่อาจส่งผลกระทบกับแนวโน้มการเติบโตให้ต่ำกว่าที่หลายฝ่ายได้ประเมินไว้
ล่าสุดพบว่า โควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนได้กระจายตัวไปแล้วกว่า 55 จังหวัดทั่วประเทศ โดย นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาระบุว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ของไทยเข้าสู่ระลอกที่ 5 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งประเมินไว้ว่ารอบนี้การระบาดในเด็กจะมีสูงขึ้น เนื่องจากเด็กยังไม่ได้รับวัคซีน แต่อาการในเด็กจะไม่รุนแรง หากไม่มีโรคประจำตัว ส่วนการรักษานั้นสำรวจแล้วมีเตียงรองรับวันละ 52,300 เตียงทั่วประเทศ เฉพาะกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเตียงว่าง 25,828 เตียง
ซึ่งหากการระบาดเป็นไปตามฉากทัศน์ที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ประเมินว่าอาจจะมีผู้ติดเชื้อสูงสุดถึงวันละ 30,000 ราย กรมการแพทย์จะมีเตียงเพียงพอในการรักษา!
นอกจากนี้ “องค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคยุโรป” ได้ออกมาเตือนว่า จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกอาจนำมาซึ่งผลกระทบด้านลบ ยิ่งโอมิครอนระบาดเร็วเท่าไหร่ การกระจายตัวและแบ่งตัวเพิ่มขึ้น ก็มีความเป็นไปได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่จะพบการกลายพันธุ์ใหม่ๆ ที่มีความอันตรายยิ่งกว่าปรากฏขึ้นตามมาอีกด้วย
ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวสร้างความกังวลให้กับภาคธุรกิจอยู่ไม่น้อย “สมาคมผู้ค้าปลีกไทย” ยอมรับว่ามีความกังวลต่อแนวโน้มของจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้น พร้อมทั้งเสนอแนวทางให้ความร่วมมือ เพื่อร่วมกับภาครัฐในการรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ด้วยการช่วยเหลือให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึงมากขึ้น
“ญนน์ โภคทรัพย์” ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ระบุว่า มีความเป็นไปได้มากว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มสูงขึ้นถึงวันละ 30,000 คน ซึ่งไทยน่าจะผ่านความท้าทายนี้ไปได้ไม่ยาก โดยเศรษฐกิจไทยกำลังจะฟื้นตัวจากวิกฤต ดังนั้นทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันผลักดันไม่ให้ไทยเข้าสู่วิกฤตอีกครั้ง เพราะคงไม่สามารถกลับมาเจอกับบาดแผลที่จะซ้ำตรงที่เดิมได้อีกแล้ว
ทั้งนี้ สมาคมผู้ค้าปลีกไทยมีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลเร่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องดังต่อไปนี้ 1.รัฐต้องมีมาตรการเชิงรุกสำหรับพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดให้มีการควบคุมอย่างเคร่งรัด หากมีการระบาดในแต่ละพื้นที่ รัฐควรปิดเฉพาะพื้นที่ที่เป็นคลัสเตอร์เท่านั้น 2.การยกระดับการเตรียมพร้อมของระบบสาธารณสุข โดยเร่งกระจายวัคซีน เพื่อให้วัคซีนกระจายถึงประชาชนให้มากที่สุด และเร็วที่สุด รวมถึงเสริมชุดตรวจ ATK ที่มีคุณภาพสูง ในราคาที่ภาคเอกชนและประชาชนสามารถเข้าถึงได้ อีกทั้งเตรียมยารักษาโควิด-19 ให้พร้อม และสำรองเตียงสำหรับผู้ป่วยหนัก
3.อัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของภาครัฐที่มีผลลัพธ์ที่ดี 4.ช่วยภาคเอกชนและประชาชนลดค่าใช้จ่าย โดยช่วยลดค่าน้ำ ค่าไฟ ลดเงินสมทบประกันสังคม ภาษีป้าย รวมถึงดอกเบี้ยเงินกู้จากสถาบันการเงิน และพิจารณาลดค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการทั้งที่เกี่ยวข้องกับโควิดทางตรงและทางอ้อม
อย่างไรก็ดี ยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่ารัฐบาลจะเตรียมพร้อมรับมือกับการระบาดระลอกที่ 5 อย่างไร และผลกระทบจากการระบาดของโอมิครอนจะสร้างความเสียหายให้กับภาพรวมเศรษฐกิจมากน้อยแค่ไหน ในขณะที่เศรษฐกิจไทยที่หลายฝ่ายประเมินว่าเข้าสู่ภาพของการทยอยฟื้นตัวในปัจจุบัน จะมีทิศทางเป็นอย่างไรภายใต้แรงกดดันดังกล่าว.
ครองขวัญ รอดหมวน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.
ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม
เคลียร์ปมสถานีอยุธยา
เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2
แจกเงินหวังคะแนน
เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ
เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด
คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น
ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!
ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research