“ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด” ล่าสุดสถาบันพระปกเกล้า โดยสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย ร่วมกับ สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง และศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง 76 จังหวัด เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ความนิยมในพรรคการเมืองและนายกรัฐมนตรี : 1 ปีหลังการเลือกตั้ง 14 พฤษภาฯ 2566” ตอกย้ำ พรรคก้าวไกล ยังแรง และคนยังอยากได้ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกฯ
โดยพบผลสำรวจที่น่าสนใจ เมื่อนำตัวเลขประมาณการที่นั่งที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคมีโอกาสได้รับจากการเลือกตั้งทั้งสองระบบมารวมกันพบว่า หากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในช่วงเวลานี้ พรรคก้าวไกลเป็นพรรคที่มีโอกาสได้ที่นั่งมากที่สุด รวม 208 ที่นั่ง รองลงมาเป็น พรรคเพื่อไทย 105 ที่นั่ง พรรคภูมิใจไทย 61 ที่นั่ง พรรครวมไทยสร้างชาติ 34 ที่นั่ง พรรคพลังประชารัฐ 30 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์ 22 ที่นั่ง พรรคชาติไทยพัฒนา 10 ที่นั่ง และพรรคประชาชาติ 9 ที่นั่ง ตามลำดับ ส่วนที่นั่งที่เหลือจะกระจายไปยังพรรคการเมืองอื่นๆ รวม 21 ที่นั่ง
เมื่อสอบถามว่า “ถ้าเลือกได้ ท่านอยากให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยในช่วงเวลานี้มากที่สุด” ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ระบุว่า อยากให้ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 46.9 รองลงมาระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 17.7 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 10.5 นายเศรษฐา ทวีสิน ร้อยละ 8.7 นายอนุทิน ชาญวีรกูล ร้อยละ 3.3 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ร้อยละ 1.7 และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ร้อยละ 0.4 ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีผู้ตอบที่ระบุชื่อคนอื่นๆ รวมกับที่ยังไม่เห็นว่ามีคนที่เหมาะสมอีก ร้อยละ 10.9
อย่างไรก็ตาม หากวิเคราะห์ผลโพลที่ออกมา ก็ถือว่าไม่ผิดความคาดหมาย เพราะที่ผ่านมาหลังเพื่อไทยหันไปจับมือกับพรรคสองลุง รวมถึงผลโพลยังพบว่า พิธา มีคะแนนนำ แคนดิเดตนายกฯของพรรคเพื่อไทย ไม่ว่าจะเป็น อุ๊งอิ๊ง หรือ เศรษฐา และเมื่อรวมคะแนนนิยมของทั้งคู่เข้าไปด้วย ก็ยังไม่ถึงครึ่งของความนิยม “พิธา” ทั้งที่ “เศรษฐา” เป็นนายกรัฐมนตรีมานานหลายเดือน น่าจะสร้างผลงานให้เป็นที่ยอมรับของประชาชน แสดงว่าสถานะการเป็นนายกรัฐมนตรีไม่สามารถช่วยดึงคะแนนนิยมขึ้นมาได้เลย
แต่ในมุมลบของเพื่อไทยก็ถือเป็นแง่ดี เพราะเมื่อดูผลโพลที่ออกมา ก้าวไกลยังไม่ถึง 250 ฉะนั้นหากผลเลือกตั้งออกมาขั้วเดิมขณะนี้ยังสามารถรวมตัวกันเป็นรัฐบาลได้เช่นเดิม
นอกจากนี้ เมื่อดูคะแนนของฝ่ายอนุรักษนิยมก็ยังตามพรรคก้าวไกล เพื่อไทย แม้กระทั่งพรรคภูมิใจไทย จึงเป็นไปได้ช่วงนี้ยังต้องใช้งานระบอบทักษิณอยู่ใช่หรือไม่ ที่อาจหมายรวมให้นายกฯ เศรษฐาได้วีซ่าทำงานต่อไป หลังศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องไว้พิจารณาตั้ง “พิชิต ชื่นบาน” เป็นรัฐมนตรีละเมิดรัฐธรรมนูญหรือไม่
ดังนั้น การเคลื่อนไหวของ ทักษิณ จึงน่าจับตา จะช่วยดึงแต้มให้เพื่อไทยได้หรือไม่ หลังโชว์เพาเวอร์ เช่น การเดินทางไป จ.นครราชสีมา ขึ้นเวทีประกาศชักชวนให้คุณสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประธานพรรคชาติพัฒนา มาร่วมกับพรรคเพื่อไทย รวมถึงพรรคการเมืองอื่นๆ อย่างเช่นพรรคประชาชาติ หรือกลุ่มบ้านใหญ่มาร่วมด้วยหรือไม่
มีการตั้งข้อสังเกตว่า นี่เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้ชนะเลือกตั้ง “ในเมื่อพรรคเพื่อไทยไม่สามารถเอาชนะพรรคก้าวไกลได้ จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการควบรวมพรรคการเมืองต่างๆ ให้มาอยู่ในพรรคเดียวกัน เพื่อต้องการให้ชนะเลือกตั้งเป็นอันดับ 1 สร้างความชอบธรรมเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ไม่ต้องถูกกระแนะกระแหนว่าปล้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมา โดยมีพรรคของฝ่ายอนุรักษนิยมเป็นพันธมิตรหรือเป็นพรรคอัมโนแบบการเมืองมาเลเซีย” เทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.พรรคประชาธิปัตย์กล่าว และว่า
ต่อจากนี้เราจะเห็นบทบาทของคุณทักษิณเคลื่อนไหวทางการเมืองมากขึ้น โดยไม่แคร์กระแสสังคม และไม่สนใจกลุ่มต่อต้านแต่อย่างใด เพราะรู้ว่าตัวเองเป็นคนมีเส้น มีแบ็กดี มีมือที่มองไม่เห็นอุ้มอยู่ พร้อมขีดเส้นใต้สองเส้น แต่อยากจะขอเตือนไว้ว่า ระวังให้ดี พลาดท่าขึ้นมา อาจจะไม่มีแผ่นดินอยู่อีกก็ได้.
ช่างสงสัย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บันทึกหน้า 4
22 พ.ย. ลุ้น ผลการประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะ “รับ-ไม่รับ” คำร้องของ “ธีรยุทธ สุวรรณเกษร” ให้ “ทักษิณ ชินวัตร” และ “พรรคเพื่อไทย” หยุดพฤติการณ์ล้มล้างการปกครอง จาก 6 กรณี ดังนี้ หนึ่ง “ทักษิณ” ไม่ยอมติดคุกแม้แต่วันเดียว
“ผ้าไทยใส่ให้สนุก”
เมื่อเร็วๆนี้ “มท.หนู” อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.มหาดไทย (มท.1) ถือโอกาสพานายกฯอิ๊งค์“ “แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ชมนิทรรศการและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่เข้าร่วมโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ที่ทำเนียบรัฐบาล
บันทึกหน้า 4
ต้องเรียกว่า “พุธพิพากษา” ของแท้ โดยเฉพาะศาลอาญาที่ได้อ่านคำพิพากษาคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 5 และมารดาผู้เสียชีวิตร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้อง “สรารัตน์ รังสิวุฒาภรณ์” หรือ “แอม ไซยาไนด์” อายุ 36 ปี
บันทึกหน้า 4
ควันหลงการหาเสียงเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ที่ นายทักษิณ ชินวัตร ในฐานะผู้ช่วยหาเสียง นายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครนายก อบจ. สังกัดพรรคเพื่อไทย (พท.)
บันทึกหน้า 4
สมรภูมิเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ในวันที่ 24 พ.ย. ไม่เพียงแค่ชัยชนะของพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชนในสนามท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังเป็นการหยั่งกระแสของทั้งสองฝ่ายในเวทีใหญ่ทางการเมืองอีกด้วย โดยเฉพาะทัพแดงนั้นแพ้ไม่ได้
บันทึกหน้า 4
บันทึกในวันครึ้มฟ้าครึ้มฝนจากผลกระทบปลายๆแถวพายุหม่านยี่ เสียงฟ้าร้องฟ้าคะนองอาจจะไม่มี แต่เสียงอื้ออึง "ทักษิณ" กลับมาแล้ว