กระตุ้นเศรษฐกิจได้ ต้องแก้ที่โครงสร้าง

เรียกว่า 'ช็อก' ทั้งรัฐบาล สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 1 ของประเทศไทย ที่ทางสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยออกมาเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าจีดีพีของไทยเรา ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวได้เพียง 1.5% ลดลงเมื่อเทียบกับการขยายตัว 1.7% ในไตรมาสที่ 4 ของปีก่อน

และยิ่งเมื่อมาเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกัน พบว่า ไทยเรามีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รั้งท้ายที่สุด  โดยสิงคโปร์โต 2.7% อินโดนีเซียโต 5.1% มาเลเซียโต 4.2% ฟิลิปปินส์โต 5.7% และเวียดนามโต 5.7%

ยังไม่พอเท่านั้น ทางสภาพัฒน์ยังได้หั่นแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567 ลง โดยคาดว่า GDP ไทยทั้งปี 2567 จะขยายตัว 2.0-3.0% (ค่ากลางอยู่ที่ 2.5%) จากประมาณการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ 2.2-3.2% (ค่ากลางอยู่ที่ 2.7%)

 เรื่องนี้เองทำให้นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ร้อนใจเป็นพิเศษ เรียกว่า ถ้ากลับมาประเทศไทยแล้ว จะมีการเรียกประชุม ครม.เศรษฐกิจนัดพิเศษ 27 พ.ค. เพื่อหาแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน

สอดรับกับรองนายกฯ เศรษฐกิจ อย่างนายพิชัย ชุณหวชิร ที่ได้แสดงความเห็นในที่ประชุม ครม.ว่า รัฐบาลจำเป็นต้องทำการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นให้มากขึ้น

แน่นอน การแก้ปัญหาเศรษฐกิจถือเป็นศักดิ์ศรีค้ำคอของพรรคเพื่อไทย เพราะที่ผ่านมาพรรคการเมืองนี้มีจุดเด่นในเรื่องของการบริหารงานทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างดี และมีจุดขายในเรื่องของการดูแลปากท้องของประชาชน แต่สำหรับในส่วนการทำงานของนายเศรษฐา ยังทำผลงานทางด้านนี้ไม่ค่อยเข้าเป้ามากนัก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่รัฐบาลไม่มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ๆ ออกมาเลยในช่วงที่ผ่านมา โดยอาจจะมีเหตุผลเรื่องของงบประมาณปี 67 ที่ยังไม่ออกมา ทำให้เกิดสุญญากาศ หรือจะเป็นเพราะไปโฟกัสกับนโยบายเรือธง แจก 10,000 บาทผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งก็ยังลูกผีลูกคน และใช้วงเงินมหาศาล ที่กว่าจะผลักดันสำเร็จ อาจจะต้องรอไปปลายปี หรือในอีกมุมก็อาจจะไม่สำเร็จเลยก็ได้

ดังนั้นนี่คือการบ้านสำคัญของรัฐบาลว่าจะทำอย่างไรให้เกิดความเชื่อมั่น และคนมีความมั่นใจในการจับจ่ายเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันรัฐบาลก็จะต้องหันมาแก้ไขปัญหาโครงสร้างอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการดึงการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบันมีความชัดเจนว่า ธุรกิจไทยนั้นอยู่ในกลุ่มเศรษฐกิจยุคเก่าที่หมดเสน่ห์ และมีอัตราการทำกำไรได้น้อย ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดอีก จึงไม่สามารถดึงดูดเงินลงทุนใหม่ๆ เข้ามาในประเทศ ซึ่งมองว่ารัฐบาลจำเป็นจะต้องหันมาโฟกัสกับการปรับโครงสร้างในส่วนนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการส่งเสริมการลงทุนกับอุตสาหกรรมนิวเอสเคิร์ฟใหม่ๆ อย่างการแพทย์ เซมิคอนตักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า โรบอต การสร้างแรงงานทักษะสูงในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ วิศวกร เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลมีการส่งเสริมการยกระดับความสามารถของบุคลากรน้อยเกินไป 

และอีกประเด็นที่จำเป็นต้องแก้ไขเร่งด่วนคือ ปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งหนี้ภาคธุรกิจที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้สถาบันการเงินไม่กล้าปล่อยสินเชื่อ เพราะกลัวหนี้เสีย ซึ่งยิ่งทำให้ อัตราการหมุนเวียนของเงินในระบบเศรษฐกิจลดลง

 ทั้งหมดคือโจทย์หินของรัฐบาลนายเศรษฐาจะต้องแก้ไข หามาตรการออกมา เพื่อสร้างเงิน สร้างรายได้ ให้กับคนไทย และเศรษฐกิจไทยให้ได้อย่างน้อยจีดีพีไม่เกิน 5% แต่ก็ไม่ควรจะต่ำกว่า 3%.

 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จุดเปลี่ยนผ่านอุตฯยานยนต์

จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ประเทศไทยเริ่มเห็นทิศทางอุตสาหกรรมใหม่ๆ มากขึ้น และเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนากลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ ทั้งเครื่องมือแพทย์

“ความยั่งยืน” โอกาสการเติบโตทางธุรกิจ

สภาวะโลกร้อนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน เป็นตัวเร่งที่ทำให้ทั้งโลกต้องหันมาให้ความสนใจการไปต่อของโลกอย่างยั่งยืนมากขึ้น

เจาะกลยุทธ์“อาร์ตทอย”ตัวท็อปสุดแรร์

กระแสความนิยม “อาร์ตทอย” (Art Toy) เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในไทยซึ่ง “อาร์ตทอย” ไม่ได้เป็นเพียงแค่ของเล่นสำหรับเด็กเท่านั้น แต่กลายเป็นของเล่นและของสะสมที่มีการออกแบบสะท้อนถึงตัวตนและความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินผู้สร้างสรรค์

รณรงค์ใช้สินค้าไทย

ข่าวการปิดตัวโรงงานการผลิตของรถยนต์ ซูบารุ และซูซูกิ ในประเทศไทย เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยในขณะนี้อยู่ในช่วงที่อ่อนแอ เพราะไม่เพียงอุตสาหกรรมรถยนต์สันดาปเท่านั้นที่กำลังสั่นคลอน แต่อีกหลายอุตสาหกรรมของไทยก็กำลังประสบปัญหา

ใช้ไอเดียพัฒนาบรรจุภัณฑ์ไทย

สินค้าและผลิตภัณฑ์บนโลกนี้นอกจากจะต้องพัฒนารูปลักษณ์ หน้าตา ฟังก์ชัน หรือรสชาติใหม่ๆ ให้สามารถตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญและสามารถดึงดูดความสนใจให้กับผู้ซื้อได้ก็คือบรรจุภัณฑ์

ตนเป็นที่เพึ่งแห่งตน

ปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็จะเห็นเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าออนไลน์ การทำธุรกรรมโอนเงิน การเรียกใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ