ปั้น‘โปรตีนทางเลือก’เชิงพาณิชย์

ปัจจุบัน อาหารแพลนต์เบสในประเทศไทยเริ่มมีมากขึ้น เทรนด์ของคนที่หันกลับมากินอาหารเพื่อสุขภาพก็มีเพิ่มขึ้น จึงทำให้เป็นการผลักดันภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม และโปรตีนทางเลือกมีแนวทางที่จะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยจากข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าตลาดโปรตีนทางเลือกของไทย มีมูลค่ากว่า 3.62 หมื่นล้านบาท (ข้อมูล ณ ปี 2564) ซึ่งเป็นมูลค่าตลาดโปรตีนทางเลือกที่มาจากนวัตกรรมอาหารใหม่ มีมูลค่า 4,500 ล้านบาท มีแนวโน้มขยายตัวเฉลี่ย 8% ต่อปี และคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 5,670 ล้านบาท ภายในปี 2567

จึงเป็นความท้าทายและโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรอุตสาหกรรมของไทย ด้วยเหตุนี้เอง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือดีพร้อม จึงได้เข้ามาช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าวให้เกิดการยกระดับและเข้ากระบวนการเชิงพาณิชย์ได้อย่างเต็มกำลัง

โดยได้ผนึกกำลังกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 เดินหน้ายกระดับเกษตรอุตสาหกรรมด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือก (Alternative Protein) สู่เชิงพาณิชย์

โดยนายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดี กสอ. กล่าวว่า ปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยมีความตื่นตัวกับเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น เนื่องจากปัจจัยการเปลี่ยนแปลงในบริบทต่างๆ อาทิ ความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคต่างๆ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ส่งผลให้คนไทยหันมาใส่ใจต่อสุขภาพเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การเลือกอาหารที่ดีมีประโยชน์เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง ห่างไกลจากโรคต่างๆ อย่างไรก็ตามพฤติกรรมผู้บริโภคไม่ใช่แค่ใส่ใจเลือกอาหารที่ดี แต่ยังหันมาดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมจากการรับประทานอาหาร

โดยเฉพาะอาหารกลุ่มโปรตีนทางเลือกที่ผู้บริโภคกลุ่มรักสุขภาพให้ความนิยมกันมาก และเป็นตัวเลือกสำคัญที่จะมาทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ในอนาคต เพราะผ่านกระบวนการแปรรูปที่น้อยลง จึงเป็นการลดการใช้ทรัพยากรพลังงานและให้พลังงานต่ำ แต่ยังได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพครบถ้วน อีกทั้งโปรตีนทางเลือกยังเป็นตลาดที่น่าสนใจ

และสำหรับกิจกรรมการยกระดับเกษตรอุตสาหกรรมฯ ในครั้งนี้ ถือเป็นความร่วมมือในการพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อปรับเปลี่ยนและยกระดับผู้ประกอบการให้ก้าวทันพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดย ดีพร้อม ได้มีการบูรณาการความร่วมมือกับกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ เพื่อผลักดันศักยภาพของผู้ประกอบการภาคเกษตรอุตสาหกรรมในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ด้วยการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม คาดสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ และสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเกษตรแปรรูป ภายใต้แนวคิด “การตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืนทางธรรมชาติ และความมั่นคงทางอาหาร”

รวมถึงการนำทุนทางทรัพยากรที่มีอยู่เดิมมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรในพื้นที่สู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงและดีต่อสุขภาพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในพื้นที่ อันจะเป็นแรงขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือในอนาคต โดยดีพร้อมตั้งเป้าผลักดันผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนทางเลือกสู่เชิงพาณิชย์ จำนวน 15 ผลิตภัณฑ์/กิจการ จากอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง

ซึ่งเป้าหมายทั้งหมดจะได้รับคำปรึกษาแนะนำเชิงลึกเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเกษตรแปรรูปจากทีมกูรูผู้เชี่ยวชาญ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาร่วมบ่มเพาะทักษะ องค์ความรู้ต่างๆ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากโปรตีนทางเลือกสำหรับทดแทนโปรตีนจากสัตว์ เช่น โปรตีนจากพืช โปรตีนจากแมลง และโปรตีนจากสาหร่าย เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาแล้วจะมีโอกาสเข้าร่วมทดสอบตลาดภายในงานแสดงสินค้าต่อไป

ต้องมาติดตามว่าการเข้ามายกระดับแผนการดำเนินงานของกลุมอุตสาหกรรมโปรตีนทางเลือกครั้งนี้ จะสามารถผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยมีความเข้มแข็งและเข้าไปแย่งชิงตลาดกลุ่มผู้บริโภคของไทยได้หรือไม่ รวมถึงจะสามารถเป็นหนึ่งในส่วนของการยกระดับฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ล้านนาสู่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือได้อย่างตรงจุดมากน้อยเพียงใด.

 

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร