จีนกังวลโครงการท่าเรือในพม่า ขณะที่การสู้รบในยะไข่ยังเดือด

สมรภูมิที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในพม่าวันนี้คือรัฐยะไข่ที่กองทัพอาระกันสามารถเอาชนะทหารรัฐบาลพม่าในหลายแนวรบ ขณะที่ยังมีความซับซ้อนของการเมืองท้องถิ่นและโยงไปถึงผลประโยชน์ทางธุรกิจของจีนด้วย

ต้นสัปดาห์นี้กองทัพอาระกัน เรียกชื่อย่อว่า AA ประกาศว่าได้ยึดป้อมค่ายใหญ่ในรัฐยะไข่ทางตะวันตกของประเทศ

และยังสามารถจับทหารรัฐบาลไปเป็นเชลยศึกหลายร้อยคน

คำแถลงของ AA ผ่านโซเชียลมีเดีย โดยรายงานพร้อมภาพประกอบว่าทหารรัฐบาลของหน่วยปฏิบัติการที่ 15 ยอมวางอาวุธและมอบตัวหลังจากถูกปิดล้อมหลายวัน

คลิปวิดีโอของ AA เห็นนักรบติดอาวุธของตนเดินควบคุมคนกลุ่มหนึ่งไปตามทุ่งนาและท้องถนน

ในภาพมีทั้งคนที่ใส่ชุดทหารและพลเรือน และยังมีเด็กและผู้หญิงที่เข้าใจว่าเป็นเป็นครอบครัวของทหารฝ่ายรัฐบาลที่ประจำการในพื้นที่

ในคลิปเห็นคนบาดเจ็บด้วยจำนวนหนึ่ง

โดยมีคำบรรยายว่าคนที่นำทางคือรองผู้บัญชาการของกองทัพและทหารใต้บังคับบัญชาที่วางอาวุธ

โดยอ้างว่าเป็นการเคลื่อนพลหลังจากหน่วยรบของทหารรัฐบาลยอมแพ้หลังจากถูกโจมตีขั้นสุดท้าย

อีกมุมหนึ่งของสงครามในยะไข่ “แคน สาริกา” รายงานในโซเชียลมีเดียอ้างสื่อท้องถิ่นที่นั่นว่ามีการเผยแพร่คลิปทหารโรฮิงญาที่ได้รับการฝึกจากกองทัพเมียนมาเผาบ้านเรือนชาวบ้าน ทั้งมุสลิมและยะไข่พุทธในพื้นที่เมืองหม่องดอในรัฐนี้เมื่อ 13 พฤษภาคมที่ผ่านมา

โดยที่ทหารกองทัพ AA ช่วยชาวมุสลิมโรฮิงญาในเมืองบูตีต่อง รัฐยะไข่ ประมาณ 7 พันคนอพยพออกจากหมู่บ้านไปอยู่ในที่ปลอดภัย หลังจากทหารกองทัพเมียนมาทิ้งระเบิดในหมู่บ้าน

กองทัพเมียนมาตอบโต้ AA ด้วยการทิ้งระเบิด ยิงปืนใหญ่ใส่บ้านเรือนชาวบ้านในพื้นที่เมืองหม่องดอ-เมืองบูตีต่องซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ในการยึดครองของ AA

แต่อีกด้านหนึ่ง จีนก็ยังคงพยายามจะรักษาผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของตนในยะไข่

สำนักข่าว Radio Free Asia (RFA) รายงานว่าจีนได้ส่งคนงานและช่างเทคนิคกว่า 300 คนไปที่รัฐยะไข่เพื่อทำงานในโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่เขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิว (Kyaukphyu Special Economic Zone) ขณะที่การต่อสู้ยังดำเนินไปอย่างดุเดือด

ข่าวบอกว่าเรือจีนเทียบท่าที่เกาะมาเดย์เมื่อวันที่ 28 เมษายน พร้อมกับคนงาน เสบียงและเครื่องจักรขนาดใหญ่ หลังจากได้รับอนุญาตจากรัฐบาลทหารให้ก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่นั่นได้

วีโอเอรายงานว่าท่าเรือน้ำลึกที่เมืองเจ้าผิว คือโครงการขนาดใหญ่ที่มีจีนเป็นผู้ลงทุนใหญ่ซึ่งผ่านการอนุมัติของรัฐบาลทหารเมียนมาเมื่อปี 2023

แต่การก่อสร้างประสบปัญหาขาดแคลนคนงาน เนื่องจากชาวบ้านต่างไม่เชื่อใจรัฐบาลทหารภายใต้ความวุ่นวายทางการเมือง และการต่อสู้ระหว่างกองทัพเมียนมากับกองกำลังอาระกัน หรือ AA (Arakan Army)

จีนและเมียนมาลงนามในข้อตกลงก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิวเมื่อเดือน พ.ย.ปี 2020 ภายใต้รัฐบาลพลเรือนที่นำโดยออง ซาน ซู จี ก่อนที่จะถูกรัฐบาลทหารโค่นอำนาจในอีกไม่กี่เดือนต่อมา

โดยจีนเป็นผู้ลงทุน 70% และเมียนมา 30% ในโครงการนี้ ซึ่งคาดว่าจะมีท่าเทียบเรือสินค้าทั้งหมด 10 จุด

แต่เมืองเจ้าผิวกลายเป็นแนวหน้าของการสู้รบระหว่างทหารเมียนมากับกองกำลังอาระกันในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ โดย AAสามารถยึดครอง 8 เมืองจาก 17 เมืองในรัฐยะไข่ไว้ได้แล้วในขณะนี้

แหล่งข่าวบอกกับ RFA ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ AA สามารถยึดป้อมค่ายใหญ่และจับกุมทหารของกองทัพเมียนมาได้หลายร้อยคนที่เมืองมาวโดว์ในรัฐยะไข่

รวมทั้งด่านทหารอีกสองแห่งในหุบเขาใกล้พรมแดนเมียนมา-บังกลาเทศ

และขณะนี้ กองกำลัง AA สามารถควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิวไว้ได้แล้ว

นั่นอาจทำให้กองกำลังชาติพันธุ์กลุ่มนี้มีสิทธิตัดสินใจการทำงานของจีนที่ท่าเรือน้ำลึกด้วย

ที่ผ่านมา จีนพยายามแสดงตัวเป็นผู้สร้างเสถียรภาพในรัฐยะไข่ ซึ่งนักวิเคราะห์เชื่อว่าเป็นเพราะจีนมีผลประโยชน์ขนาดใหญ่อยู่ในรัฐนี้

นอกจากเขตเศรษฐกิจพิเศษและท่าเรือน้ำลึกแล้ว ยังรวมถึงท่อขนส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากรัฐยะไข่ไปมณฑลยูนนาน

เมื่อรัฐบาลทหารพม่ากำลังเพลี่ยงพล้ำในการสู้รบก็ได้ขอให้จีนเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อจะได้ลดความเสียหายของฝ่ายตน

ยังไม่แน่ชัดว่า จีนจะบารมีพอที่จะหว่านล้อมให้ AA ยอมต่อรองเจรจากับฝ่ายกองทัพหรือไม่ในเมื่อตนเป็นฝ่ายได้เปรียบในสงครามขณะนี้

ยะไข่จึงเป็นสมรภูมิอีกด้านหนึ่งของสงครามพม่าที่จะต้องจับตาอย่างใกล้ชิดต่อไป เพราะดุลแห่งอำนาจการสู้รบยังสามารถพลิกผันไปมาได้ตลอดเวลา.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ

แหล่งค้ามนุษย์ใน 3 เหลี่ยมทองคำ

เขตเศรษฐกิจพิเศษหรือ SEZ บริเวณสามเหลี่ยมทองคำที่โยงกับไทยนั้นกลายเป็นประเด็นเรื่องอาชญกรรมข้ามชาติที่สมควรจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยอย่างจริงจัง

พรุ่งนี้ ลุ้นดีเบตรอบแรก โจ ไบเดนกับโดนัลด์ ทรัมป์

ผมลุ้นการโต้วาทีระหว่างโจ ไบเดน กับโดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ (27 มิถุนายน) เพราะอยากรู้ว่า “ผู้เฒ่า” สองคนนี้จะมีความแหลมคมว่องไวในการแลกหมัดกันมากน้อยเพียงใด

เธอคือ ‘สหายร่วมรบ’ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรค NLD คนสุดท้าย!

อองซาน ซูจีมีอายุ 79 ปีเมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา...และยังถูกจำขังในฐานะจำเลยของกองทัพพม่าที่ก่อรัฐประหารเมื่อกว่า 3 ปีที่แล้ว

อองซาน ซูจี: เสียงกังวล จากลูกชายในวันเกิดที่ 79

วันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมาคือวันเกิดที่ 79 ของอองซาน ซูจี...ในวันที่เธอยังถูกคุมขังเป็นปีที่ 4 หลังรัฐประหารโดยพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2021