ลุ้นแจ้งเกิดให้บริการซีเพลน

จากนโยบาย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งทางอากาศ ผลักดันการปฏิบัติการบินอากาศยานทางทะเล หรือ Seaplane Operations เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้กับประเทศ ยกระดับการบินและการขนส่งทางอากาศสู่การเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค อีกทั้งยังมีประโยชน์ในด้านการช่วยเหลือสนับสนุนทางการแพทย์ สาธารณสุข ตลอดจนการบรรเทาภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

โดยกระทรวงคมนาคมได้สนองนโยบาย พร้อมผลักดันเพื่อเพิ่มศักยภาพของท่าอากาศยานและการขนส่งทางอากาศของประเทศ ซึ่งบรรจุในนโยบายการดำเนินงานของกระทรวงคมนาคม ด้านที่ 1 “คมนาคม เปิดประตูการค้า การท่องเที่ยว สร้างการเป็น HUB เพื่อการเชื่อมโยงการเดินทางทุกมิติ”

และพร้อมส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนได้บูรณาการความร่วมมือ เพื่อให้เกิด Seaplane อย่างเป็นรูปธรรมให้เกิดขึ้นในประเทศไทยภายในปี 2567 นี้ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลทั้งฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย

สำหรับ Seaplane Operations เป็นการบินรูปแบบใหม่ที่จะช่วยตอบโจทย์การส่งเสริมการท่องเที่ยวทางทะเล ช่วยให้การเดินทางไปยังพื้นที่ห่างไกลต่างๆ ทางทะเลที่เข้าถึงได้ยาก รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย การค้นหาและช่วยชีวิตกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในพื้นที่ที่เป็นน้ำหรือทะเลเกิดความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

เพื่อให้เห็นผลสัมฤทธิ์ กระทรวงคมนาคม นางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โดยมี สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) และบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) ระหว่างวันที่ 8-10 พ.ค.2567 เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนบูรณาการการทำงานร่วมกัน และขับเคลื่อนให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศสามารถปฏิบัติการบินอากาศยานทางทะเล ในรูปแบบเที่ยวบินสาธิต ขึ้นในประเทศไทยได้ภายในปี 2567 บนพื้นที่เป้าหมายบริเวณท่าเรืออ่าวปอ ท่าเรือรัษฎา และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพีพี

โดยการดำเนินการดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมายและเป็นไปด้วยความปลอดภัย ดำเนินการด้วยความปลอดภัยสอดคล้องตามมาตรฐานและกฎระเบียบของประเทศไทย และเป็นไปตามข้อแนะนำขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) เพื่อสานต่อนโยบาย คมนาคมเปิดประตูการค้า การท่องเที่ยว สร้างการเป็น HUB เพื่อการเชื่อมโยงการเดินทางทุกมิติต่อไป

ขณะที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย จะมีภารกิจหลักในการกำกับดูแลมาตรฐานความปลอดภัยของการปฏิบัติการบิน และความปลอดภัยของสนามบินและที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน พร้อมให้การสนับสนุน ส่งเสริมการขับเคลื่อนโครงการเกี่ยวกับสนามบินน้ำ และที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยานบนน้ำ ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ Seaplane Operations เพื่อกำหนดมาตรฐานและกฎเกณฑ์เกี่ยวกับสนามบินน้ำและที่ขึ้นลงชั่วคราวให้มีความปลอดภัย และสอดคล้องกับมาตรฐานการบินสากลขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ

ด้านวิทยุการบินแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานผู้ให้บริการการเดินอากาศ ได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการให้บริการควบคุมอากาศยานทางทะเล ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบของการขนส่งทางอากาศรูปแบบใหม่เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่นักท่องเที่ยว อีกทั้งยังมีประโยชน์ในด้านการช่วยเหลือสนับสนุนทางการแพทย์ สาธารณสุข ตลอดจนการบรรเทาภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว และเป็นการเตรียมพร้อมรองรับการให้บริการอากาศยานทางทะเลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

จะเห็นได้ว่าการสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีบทบาทสำคัญ ถือเป็นการสร้างความเข้าใจ ความร่วมมือเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ ข้อกำหนด กฎหมาย กฎ ระเบียบ รวมถึงกระบวนการทำงานและประสานงานต่างๆ เพื่อให้ Seaplane Operations เป็นไปด้วยมาตรฐานและความปลอดภัย ซึ่งนับเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญของทุกหน่วยงาน ในการเปิดมิติใหม่ทางการบิน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และยกระดับอุตสาหกรรมการบินของประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางด้านการบินของภูมิภาคต่อไป.

 

กัลยา ยืนยง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บิ๊กอีเวนต์กระตุ้นท่องเที่ยว

ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้มีมติเห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2567 เพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจภายในประเทศ

ต้องเคร่งครัดและแก้ไขจริงจัง

สืบเนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา รถไฟฟ้า “สายสีเหลือง-สายสีชมพู” ซึ่งเป็นระบบรถไฟฟ้าโมโนเรล 2 สายแรกของประเทศไทย ได้เกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ใช้บริการและสาธารณชน

จับตา “AI” เปลี่ยนตลาดแรงงานทั่วโลก

ปัจจุบันต้องยอมรับว่า AI เข้ามามีบทบาท และมีประโยชน์ในภาคธุรกิจหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการตลาดที่ช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจพฤติกรรมลูกค้ามากขึ้น หรือแม้กระทั่งการใช้ AI เพื่อวิเคราะห์ธุรกิจในหลากหลายมิติ ถือเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของภาคธุรกิจในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัยมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

บี้เร่งสปีดแหลมฉบังเฟส 3

เมื่อพูดถึงโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 เป็นโครงการเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อรองรับความต้องการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

จับตา“ทุเรียนไทย”ราคาสูง แต่ผลผลิตแผ่ว

ถ้าพูดถึง “ทุเรียน” ประเทศไทยถือเป็นเบอร์ต้นๆ ของราชาผลไม้ชนิดนี้ ไม่ว่าจะขายในประเทศหรือส่งออก เรียกได้ว่าสร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างมหาศาล ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลเองก็ได้เร่งสนับสนุนเรื่องการส่งออกทุเรียน

เตรียมแผนท่องเที่ยวรับโลว์ซีซั่น

จากข้อมูลของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่าตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-9 มิ.ย.2567 ไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามา 15,543,344 คน สร้างรายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้วประมาณ 736,096 ล้านบาท