บทพิสูจน์นายกฯคนใหม่ สิงคโปร์: ฝีมือสำคัญกว่าบารมี

การผลัดใบของผู้นำสิงคโปร์เริ่มแล้วสัปดาห์นี้...เป็นที่จับตาของคนทั้งโลกว่าเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้ที่สร้างเศรษฐกิจจาก “โลกที่ 3 สู่โลกที่ 1” นี้จะตั้งรับกับความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญนี้อย่างไร

สัปดาห์ที่ผ่านมา ลี เสียนหลงก้าวลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่งไม้ต่อให้กับลอเรนซ์ หว่องอย่างเป็นทางการ

หน้าตาของคณะรัฐมนตรีใหม่จะเป็นตัวตัดสินใจว่าทิศทางของสิงคโปร์จะไปทางไหน

คนที่ติดตามการเมืองสิงคโปร์มายาวนานจะตั้งข้อสังเกตว่านี่จะเป็นครั้งแรกที่ผู้นำประเทศนี้จะเป็น “คนนอก” ที่ไม่ได้มีส่วนโยงใยโดยตรงกับตระกูลลี

 

เพราะแม้ว่าลี กวนยิวที่ก่อตั้งสิงคโปร์จะตั้งโก๊ะ จ๊กตกเป็นนายกฯต่อจากตนเพราะลูกชายคือลี เสียนลง ยังป่วยอยู่ แต่ก็เป็นคน”วงใน” ที่ไว้วางใจ

ในกรณีหว่อง ถือได้ว่าเป็นคนแรกที่มาจาก “วงนอก” ที่ต้องพิสูจน์ด้วยฝีมือการบริหารของตนอย่างแท้จริง

เพราะจะไม่มี “ผู้มีบารมีเหนือรัฐบาล” มาอุ้มหรือคอยประคับประคองอีกต่อไป

อีกทั้งยังเป็นช่วงจังหวะเวลาที่ประชาชนคนสิงคโปร์เป็นคนรุ่นใหม่ที่ไม่มีความรู้สึกผูกพันกับตระกูลลีอีกต่อไป

เชื่อได้ว่าแนวทางของนายกฯคนใหม่ก็ยังจะเดินตามรอยของ “ลัทธิปฏิบัตินิยมทางเศรษฐกิจ”

การเปลี่ยนผ่านระกับผู้นำจะเป็นครั้งที่ 3 สำหรับสิงคโปร์ ซึ่งได้ประกาศเอกราชในปี 1965 หรือเมื่อ 59 ปีก่อนนี้เอง

ลี กวนยิวใช้แนวทางที่เน้นระบบคุณธรรม ลัทธิปฏิบัตินิยม และการพัฒนาเศรษฐกิจในการสร้างชาติที่ต้องฟันฝ่าอุปสรรคอย่างหนัก

ลี กวนยิวได้ชื่อว่าปกครองประเทศด้วยอำนาจเกือบจะเบ็ดเสร็จ ถูกวิจารณ์ว่าเป็น “เผด็จการ” เพราะฝ่ายค้านไม่มีโอกาสจะต่อล้อต่อเถียงได้

แต่เขาอ้างว่าประเทศเกิดใหม่ที่ขาดทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิงคโปร์จะไปไม่รอดถ้าหากผู้นำอ่อนแอและยอมจำนนต่อกระแสการเมือง

ลีผู้พ่อพิสูจน์ว่าเขาสามารถสร้างเกาะแห่งนี้เป็นประเทศเศรษฐกิจแนวหน้าของโลกจากปัญหาต่าง ๆ มากมาย

แต่ก็มีคำถามตลอดว่าหากขาดเขาแล้วเกาะแห่งนี้จะรอดไหม

เมื่อโก๊ะ จ๊กตงขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในปี 1990 เขาก็รับไม้ต่อจากลีได้ค่อนข้างดี

ถือเป็นจังหวะที่สิงคโปร์เจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ทำให้คนสิงคโปร์มีความมั่งคั่ง ความปลอดภัย และความมั่นคง

เขาพยามจะปรับให้คนสิงคโปร์ “เครียดน้อยลง” เพราะภายใต้การนำของนายกฯคนแรกนั้น ประชาชนได้รับการบอกให้ต้องจริงจังกับชีวิต

และได้รับคำเตือนจากผู้นำเสมอว่า “เราเป็นเกาะเล็ก ๆ ที่ไร้ทรัพยากรธรรมชาติ เรามีแต่สมองเท่านั้นที่จะทำให้เราอยู่รอดได้ ดังนั้นเราต้องมีวินัย มีความขยันและมุ่งมั่น”

นายกฯโก๊ะพยายามสร้างความผ่อนคลายเพื่อให้สิงคโปร์เป็นสังคม "มีน้ำใจและอ่อนโยนมากขึ้น"

ตอกย้ำถึงการสร้างฉันทามติและความจำเป็นในการสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับการทำงานร่วมกันทางสังคม เช่น การจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อเสริมสร้าง "หัวใจ" ของสิงคโปร์

เขานำสิงคโปร์ฟันฝ่าวิกฤตการเงินในเอเชียในปี 1997

ตามมาด้วยสัญญาณว่าอาจจะมีการก่อการร้ายในประเทศที่ได้รับแรงหนุนจากการโจมตี 9/11 ในปี 2001

อีกทั้งยังเผชิญกับแผนการของกลุ่ม Jemaah Islamiyah ที่จะโจมตีสิงคโปร์ในปีเดียวกัน

ตามมาด้วยการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์ส) เมื่อปี 2003

ลี เสียนหลงรับช่วงต่อจากโก๊ะในฐานะลูกชายนายกฯผู้ก่อตั้ง

เขามีโอกาสได้สัมผัสกับกิจกรรมทางการเมืองตั้งแต่อายุยังน้อย

เพราะประสบการณ์ด้านนี้ยาวนาน นายกฯลีจึงมีความชัดเจนในการสื่อสารนโยบายของเขากับประชาชน

ทั้งในประเด็นนโยบายในประเทศ

พอมารับตำแหน่งในปี ตัวอย่างเช่นนับตั้งแต่เริ่มดำรงตำแหน่งในปี 2004 ก็เจอกับความท้าทายที่สำคัญและต่อเนื่องจากความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นนับตั้งแต่ประมาณปี 2012

ลีมาพร้อมกับเทคโนโลยีการสื่อสารยุคดิจิทัล จึงมีความตระหนักที่จะต้องสื่อสารกับประชาชนด้วยวิธีการที่แตกต่างไปจากยุคก่อนนั้น

เขากลายผู้นำที่ใช้โซเชียลมีเดียสื่อสารกับประชาชนอย่างคล่องแคล่ว

มีผู้ติดตาม 1.7 ล้านคนบน Facebook และประมาณ 730,000 คนบน Instagram

ลีตระหนักว่าเขารู้ว่าเขากำลังเผชิญกับสังคมที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างยิ่ง

คนรุ่น Gen Z หรือคนรุ่นมิลเลนเนียลล้วนแต่พูดถึงเรื่องที่แตกต่างไปจากคนรุ่นก่อน ๆ

การเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับคนรุ่นต่าง ๆ ในผ่านโซเชียลมีเดีย ลีรู้ว่าจำเป็นต้องเปิดช่องทางที่จะรับรู้ความต้องการของคนรุ่นใหม่มากขึ้น

เพราะมีแนวโน้มว่าหากพรรค PAP ไม่สามารถตอบสนองในสิ่งที่คนรุ่นใหม่เรียกร้องต้องการ ก็จะไม่สามารถรักษาเสียงข้างมากอย่างเด็ดขาดไว้ได้

เป็นที่มาก็การเปิดช่องทางให้ประชาชนเข้ามาตั้งคำถามสด ๆ เพื่อเขาตอบได้ต่อหน้าทันที

ลีใช้วิธีบริหารที่กระจายอำนาจให้กับรัฐมนตรีต่าง ๆ มากขึ้นเพราะนั่นเป็นทางเดียวที่จะรักษาคนเก่งอยู่ในคณะรัฐมนตรี

เขายอมรับว่าภารกิจต่างๆ มีความซับซ้อนและเข้มข้นมากขึ้นจึงจำเป็นต้องปรับโครงสร้างการบริหารงานและตั้งตำแหน่งทางการเมืองใหม่ ๆ  เพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น

นายกฯคนใหม่ประกาศว่าจะเป็นผู้นำที่ “ฟังเสียงรอบข้าง” มากขึ้น

โดยมุ่งเน้นที่จะบริหารประเทศด้วยแนวทางการแสวง "จุดร่วม" และ "การรับฟังมุมมองและมุมมองที่               หลากหลาย และเปิดรับแนวคิดที่แตกต่าง"

อีกทั้งยังเปิดรับฟังความเห็นประชาชนที่กว้างขวางขึ้น

ความท้าทายสำหรับนายกฯใหม่ของสิงคโปร์คือการช่องว่างรายได้ของประชาชนกลุ่มชนชั้นกลางกับชนชั้นสูง...การเคลื่อนย้ายทางสังคมและความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

นอกจากนั้นก็ยังมีประเด็นประชากรสูงวัยและความต้องการด้านการดูแลสุขภาพที่เพิ่มขึ้น

ตลอดจนความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ระดับโลกและระดับภูมิภาค

ขณะที่ต้องรักษาชื่อเสียงของสิงคโปร์ในฐานะศูนย์กลางธุรกิจระดับโลก

อีกด้านหนึ่งคือภูมิทัศน์ของฝ่ายค้านที่เปลี่ยนแปลงไปเพราะการเมืองยุคใหม่ นายกฯหว่องก็ต้องใช้รัฐสภาเป็นเวทีในการแสดงความเป็นผู้นำที่สามารถบริหารได้ด้วยความสามารถมากกว่าบารมี

มองในแง่หนึ่ง การเปลี่ยนนายกฯของสิงคโปร์รอบนี้คือการทดสอบความแข็งแกร่งของระบบการเมืองและสังคมที่ตระกูลลีได้สร้างขึ้นมาให้ประเทศนี้

และเป็นการเปิดโอกาสให้คนมีฝีมือมาคุมบังเหียนของประเทศชาติอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก!

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน

นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ

แหล่งค้ามนุษย์ใน 3 เหลี่ยมทองคำ

เขตเศรษฐกิจพิเศษหรือ SEZ บริเวณสามเหลี่ยมทองคำที่โยงกับไทยนั้นกลายเป็นประเด็นเรื่องอาชญกรรมข้ามชาติที่สมควรจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยอย่างจริงจัง

พรุ่งนี้ ลุ้นดีเบตรอบแรก โจ ไบเดนกับโดนัลด์ ทรัมป์

ผมลุ้นการโต้วาทีระหว่างโจ ไบเดน กับโดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ (27 มิถุนายน) เพราะอยากรู้ว่า “ผู้เฒ่า” สองคนนี้จะมีความแหลมคมว่องไวในการแลกหมัดกันมากน้อยเพียงใด

เธอคือ ‘สหายร่วมรบ’ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรค NLD คนสุดท้าย!

อองซาน ซูจีมีอายุ 79 ปีเมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา...และยังถูกจำขังในฐานะจำเลยของกองทัพพม่าที่ก่อรัฐประหารเมื่อกว่า 3 ปีที่แล้ว