พอมองว่ารัฐบาลเศรษฐา 1/1 จะต้องวางยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจอย่างไรก็ต้องฟังความเห็นของผู้ที่ช่วยกันคิดว่าเราจะต้องทำอะไรบ้างจึงจะกระชากประเทศชาติจาก “กับดัก” รายได้ปานกลางที่เราติดอยู่ยาวนาน
ไม่มองในแง่การเมืองหรือนโยบายรัฐบาล แต่นำเสนอว่าปัญหาจริง ๆ ที่ศักยภาพของประเทศหดตัวลงเรื่อย ๆ นั้นมาจากไหน
ผมเพิ่งมีโอกาสได้นั่งสนทนากับ ดร. ประสาร ไตรรัตน์วรกุล, อดีตผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย, ก็ได้แนวคิดจากแง่มุมวิชาการและในฐานะนักคิดอิสระที่เป็นห่วงกังวลกับอนาคตของประเทศ
ต้องเริ่มด้วยการหาคำตอบว่าอะไรเป็น “ตัวฉุดรั้ง” เศรษฐกิจไทยที่ทำให้เราก้าวไปข้างหน้าไม่ได้ สรุปให้เห็นชัด ๆ คือ 4 เรื่อง การบริโภค-แรงงาน-เทคโนโลยี-เงินลงทุนจากต่างประเทศหรือ FDI และนโยบายรัฐ
เอาเข้าจริง ๆ แล้วก็คือ “ปัญหาเชิงโครงสร้าง” ที่นักการเมืองอาจจะไม่มีความมุ่งมั่นทางการเมืองหรือ political will ที่จะแก้ไขอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพราะการจะแก้ไขได้อย่างถาวรนั้นต้องทำให้การเติบโตมีความยั่งยืน ไม่ใช่แค่การกระตุ้นชั่วครั้งชั่วคราว
สาระหลักคือ “ปัญหาเชิงโครงสร้าง” ไม่ใช่เรื่องของ “วัฏจักรทางเศรษฐกิจ” ทางเศรษฐกิจเท่านั้น
เศรษฐกิจไทยโตอยู่ที่ 2-3% ส่วนหนึ่งเป็นผลพวงจากโรคโควิด-19 แม้ว่าหลายประเทศเริ่มฟื้นตัวอย่างเป็นรูปธรรม แต่เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวได้ช้าเพราะปัจจัยเรื่องโครงสร้างเป็นหลัก
ถ้าเป็นการโตแบบวัฏจักร พอขึ้นก็จะลงได้แต่ถ้าจะให้ยั่งยืนก็ต้องแก้ที่โครงสร้าง ยกตัวเลขรายได้เฉลี่ยต่อหัว (per capita income) ของปีที่แล้ว คนไทยมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวที่ 7,629.7 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี จัดอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางระดับบน (upper middle income country)
ถ้าจะก้าวเป็นประเทศรายได้สูง (high income country) ต้องมีรายได้สูงกว่า 12,535 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปีการจะให้เศรษฐกิจโตจาก 3 เป็น 5% เป็นเรื่องท้าทายมาก ถ้าจะโตให้ได้มากกว่า 12,000 เหรียญ เศรษฐกิจต้องโต 5% เป็นเวลา 20 ปีต่อเนื่องกัน
ภาคเอกชนไทยแข็งแรงและเป็นผู้กำหนดทิศทางเศรษฐกิจแต่ก็ต้องรอดูสัญญาณต่างๆ จากรัฐด้วยทุกวันนี้ เศรษฐกิจไทยยังไม่มีแรงกระตุ้นหรือ momentum พอที่พร้อมให้ภาคเอกชนนำทัพปัจจัยฉุดรั้งที่สำคัญประการหนึ่งคืออัตราการเกิดของประชากรต่ำลง มีผลทำให้การบริโภคน้อยลง แต่หากรัฐมีวิสัยทัศน์ ก็สามารถทำให้การบริโภคมีคุณภาพสูงขึ้นได้โดยทำให้ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สรุปว่าต้องแก้ปัญหาการลดปริมาณด้วยคุณภาพของคนนั่นคือทำอย่างไรให้คนมีคุณภาพ มีรายได้ที่สูงขึ้น คุณภาพชีวิตดี และประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้น เพราะถ้ายกระดับคนได้ก็จะยกระดับการบริโภคสูงขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งแค่ปริมาณหรือจำนวนประชากรอย่างที่เป็นมา
อีกปัจจัยที่เป็นหัวใจของการวางยุทธศาสตร์ไทยคือ เห็นได้ชัดว่าอุตสาหกรรมของไทยส่วนใหญ่ยังพึ่งพิงอุตสาหกรรมดั้งเดิม
เน้นไปที่การส่งออก ซึ่งก็มีปัญหาเพราะประเทศไทยมักส่งออกสินค้าที่ความต้องการโลกไม่สูงมากนัก ประเทศอื่นที่เขาตื่นตัวแล้วกระโดดลงไปคิดทำอะไรใหม่ ๆ
ที่สำคัญคือมีความกล้าและได้รับการสนับสนุนจากรัฐให้ทดลองทำอะไรใหม่ ๆโดยสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่
“แม้ผมจะไม่อยากใช้คำนี้ แต่ก็จำเป็นต้องใช้นั่นคือระบบมันผูกขาดเยอะ ไม่เอื้อต่อการที่จะเปิดทางให้ผู้ประกอบการใหม่เกิดได้” ดร. ประสารบอก
อีกทั้งระบบของไทยก็ไม่สนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการที่กล้าทำอะไรใหม่วัฒนธรรมไทยยังสอนให้คนเดินตาม หรือให้เชื่อตามคนที่มาก่อน ไม่กล้าคิดแหวกแนว
หลักสูตรการเรียนการสอนไม่สอนและส่งเสริมให้เด็กคิดอยากเป็นผู้ประกอบการทุกวันนี้ การเรียนการสอนก็ยังเน้นไปที่หลักสูตรด้านเทคนิคไม่กล้าคิดริเริ่มเพราะกลัวความเสี่ยง จึงไม่มีแนวทางที่จะสอนให้คนไปทำกิจการของตัวเอง หรือที่คิดจะทำอะไรเองก็มักจะเลียนแบบกัน
เช่นเด็กรุ่นใหม่ พอบอกว่าจะลุกขึ้นทำธุรกิจเองก็จะเปิดร้านกาแฟเหมือนกับที่คนอื่น ๆ เขาทำกันผลก็คือทุกวันนี้มีร้านกาแฟเต็มไปหมด แต่ที่จะอยู่รอดได้มีจำนวนจำกัด
อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญคือการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศหรือที่เรียกว่า “การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ” (foreign direct investment หรือ FDI) ช่วงก่อนวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ประเทศไทยมีสัดส่วน FDI ต่อจีดีพีที่ 20% แต่วันนี้ลดลงมาเหลือเพียง 12-13% สาเหตุสำคัญคือเราขาดแรงงานที่มีทักษะหรือจำนวนแรงงานที่มีฝีมือที่นักลงทุนต้องการมีไม่เพียงพอโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน
ปัญหาที่ตามมาคือความซับซ้อนและยุ่งยากในการติดต่อกับภาครัฐซ้ำเติมด้วยปัญหาการขาดหลักนิติธรรม (rule of law) และหลักธรรมาภิบาล (governance)เพราะเป็นสองเรื่องที่นักลงทุนต่างชาติให้ความสำคัญเป็นพิเศษแต่รัฐบาลไทยเพียงแค่ประกาศเป็นนโยบาย พอลงมือทำจริง ๆ กลับไม่ค่อยเห็นผลที่เป็นรูปธรรม
“โดยเฉพาะช่วงหลังหลักนิติธรรมเสื่อมถอยไปมาก คนที่เข้ามาลงทุนจะกังวลว่าประเทศไทยเป็นสังคมรู้ถูกรู้ผิดหรือไม่ หรือกลายเป็นสังคมที่แยกแยะไม่ออกระหว่างถูก-ผิด” ดร. ประสานชี้ลงตรงปัญหาที่เห็นตำตาทุกวัน จะแก้ปัญหาหลักนิติธรรมได้ต้องอาศัยความเป็นผู้นำ รัฐบาล พรรคการเมืองและอื่นๆ
พอถามถึงนโยบายแจกเงิน 10,000 บาทผ่านดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ย้ำว่าเราต้องแยกระหว่าง “นโยบายสาธารณะ” หรือ public policy กับ “นโยบายเพื่อธุรกิจ” หรือ business policy
อย่างแรกต้องมุ่งไปที่ประโยชน์ต่อประชาชนอย่างหลังคือการทำเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ นโยบายแจกเงินเพื่อหวังผลทางการเมืองย่อมไม่ใช่นโยบายสาธารณะ ยิ่งมีข้อทักท้วงเรื่องความคุ้มค่าและเงิน 500,000 ล้านบาทที่ควรจะนำไปใช้สร้างประโยชน์อย่างอื่นก็ยิ่งเห็นว่าควรจะต้องมีการทบทวนนโยบายที่กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์นี้อย่างยิ่ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ
แหล่งค้ามนุษย์ใน 3 เหลี่ยมทองคำ
เขตเศรษฐกิจพิเศษหรือ SEZ บริเวณสามเหลี่ยมทองคำที่โยงกับไทยนั้นกลายเป็นประเด็นเรื่องอาชญกรรมข้ามชาติที่สมควรจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยอย่างจริงจัง
ไบเดนหรือทรัมป์? เอเชียน่าจะเลือกใครมากกว่า?
ผมค่อนข้างมั่นใจว่าการดีเบตระหว่างโจ ไบเดน กับโดนัลด์ ทรัมป์ วันนี้ (เวลาอเมริกา) จะไม่ให้ความสำคัญต่อเอเชียหรืออาเซียน
พรุ่งนี้ ลุ้นดีเบตรอบแรก โจ ไบเดนกับโดนัลด์ ทรัมป์
ผมลุ้นการโต้วาทีระหว่างโจ ไบเดน กับโดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ (27 มิถุนายน) เพราะอยากรู้ว่า “ผู้เฒ่า” สองคนนี้จะมีความแหลมคมว่องไวในการแลกหมัดกันมากน้อยเพียงใด
เธอคือ ‘สหายร่วมรบ’ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรค NLD คนสุดท้าย!
อองซาน ซูจีมีอายุ 79 ปีเมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา...และยังถูกจำขังในฐานะจำเลยของกองทัพพม่าที่ก่อรัฐประหารเมื่อกว่า 3 ปีที่แล้ว