ปลดผู้ว่าฯแบงก์ชาติมีแต่เสียกับเสีย

ปมความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับแบงก์ชาติเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่รัฐบาลเศรษฐาเข้ามาบริหารประเทศ โดยจุดเริ่มต้นต้องเรียกว่าชนวนเหตุนั้น มาจากโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ที่พรรคเพื่อไทยชูเป็นนโยบายหาเสียง และต่อมาถูกคัดค้านอย่างหนักจากนักวิชาการ โดยเฉพาะจากฟากฝั่งคนจากธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) ที่มีการนำกลุ่มนักวิชาการร่วมกันลงชื่อคัดค้านโครงการนี้อย่างหนัก

ไม่พอเท่านั้น ในช่วงที่การบริหารประเทศที่เป็นช่วงสุญญากาศจากงบประมาณปี 67 ที่ยังไม่ออกมาบังคับใช้ ตอนนั้นรัฐบาลพยายามอย่างหนักที่จะประคับประคองเศรษฐกิจให้เจริญเติบโต แต่เนื่องจากไม่มีเครื่องมือทางการคลังเพียงพอ จึงพยายามส่งสัญญาณเพื่อขอให้แบงก์ชาติใช้นโยบายการเงินช่วย ซึ่งก็คือการขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทาง

แต่จนแล้วจนรอด รัฐบาลที่ใช้แนวทางทั้งขู่ ทั้งปลอบ และให้ทั้งลิ่วล้อ รวมถึงตัวนายกฯ ออกมากดดันอย่างหนัก แต่ก็ยังไม่สัมฤทธิผล  เพราะตลอดระยะเวลาที่่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงินก็ยังไม่ขานรับ และยังคงอัตราดอกเบี้ย 2.50% ต่อปีต่อไป โดยให้เหตุผลว่า อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเงินซึ่งเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาว

จนล่าสุดมาถึงคิวของ ‘อุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร’ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ขึ้นเวทีพูดถึงความเป็นอิสระของแบงก์ชาติ โดยระบุใจความตอนหนึ่งในการปาฐกถาว่า 

“ตอนนี้ กฎหมายพยายามจะให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นอิสระจากรัฐบาล ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นปัญหาและก็เป็นอุปสรรคสำคัญมากๆ ในการแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ เพราะว่านโยบายทางด้านการคลังถูกใช้งานเพียงทางด้านเดียวมาตลอด และก็ทำให้ประเทศของเรามีหนี้ที่สูงมากขึ้น และก็สูงเพิ่มมากขึ้นทุกปีจากการตั้งงบประมาณที่ขาดดุล ถ้านโยบายการเงินที่บริหารโดยธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ยอมที่จะเข้าใจและก็ไม่ยอมให้ความร่วมมือ ประเทศของเราจะไม่มีทางลดเพดานหนี้ได้เลย”

นี่คือการกดดันอีกครั้ง โดยอุ๊งอิ๊งกำลังจะบอกว่าแบงก์ชาติควรอยู่ภายใต้อาณัติของรัฐบาล ซึ่งประเด็นนี้ถูกคนในสังคมตั้งคำถาม และวิพากษ์วิจารณ์มากมาย จนสุดท้ายอุ๊งอิ๊งถูกถล่มจากคนในทุกแวดวง จนแทบไม่มีที่ยืน และส่งผลให้จากเวทีนี้ ที่้เพื่อไทยตั้งใจจะปักธงเรียกคะแนนเสียงเข้าตัว กลายเป็นเวทีที่ทำร้ายตัวเองจนแทบจะเสียชื่อ

เมื่อพูดถึงการแทรกแซง ธปท.นั้น ต้องยอมรับในอดีตที่ผ่านมาฝ่ายบริหารประเทศกับแบงก์ชาติมักมีข้อขัดแย้งและมีความเห็นไม่ตรงกันหลายครั้ง และในอดีตฝ่ายการเมืองสามารถปลดผู้ว่าฯ แบงก์ชาติได้อย่างง่ายดาย

แต่ในขณะนี้ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 ซึ่งเป็นกฎหมาย ธปท.ฉบับปรับปรุงใหม่ที่ใช้ในปัจจุบัน ที่ออกมาในสมัยรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งเป็นกฎหมาย ธปท. ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมหลายเรื่องโดยเฉพาะการทำให้การปลดผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ทำได้ยากขึ้นกว่าในอดีต

และที่สำคัญ การทำงานของผู้ว่าฯ แบงก์ชาติคนปัจจุบันอย่างนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ยังไม่มีข้อบกพร่องที่จะเป็นเหตุให้ถูกปรับออกจากตำแหน่งได้ ดังนั้น รัฐบาลที่คิดอยากจะเปลี่ยนตัวผู้ว่าการ คงทำไม่ได้ง่ายนัก และถ้าทำจริง ประเด็นนี้จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ ไฟลามทุ่งระดับประเทศได้เลย เพราะถือว่า รัฐบาลแสดงอำนาจบาทใหญ่ในการแทรกแซงองค์กรอิสระ ขณะเดียวกันอาจจะกระทบต่อความเชื่อมั่นในแวดวงการเงินทั่วโลก นำไปสู่การปรับเครดิตประเทศ และเลวร้ายนำไปสู่ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้.

 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร