เร่งแก้ “แต่ไร้ผล”

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมานานหลายปี โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ที่เมื่อความกดอากาศสูง มีกำลังอ่อนลง และเมื่อลมสงบ ประกอบกับการผกผันกลับของอุณหภูมิในอากาศ จะส่งผลทำให้เกิดสภาพอากาศร้อนด้านบนกดทับอากาศเย็นเหมือนมีฝาครอบ จะทำให้การไหลเวียนและถ่ายเทอากาศไม่ดี ฝุ่นควันจึงสะสมในอากาศ ประกอบกับสภาพอากาศแห้งยังเอื้อต่อการเกิดไฟป่าง่ายอีกด้วย โดยเฉพาะในภาคเหนือ           

และยิ่งไปกว่านั้น ด้วยภูมิประเทศที่เป็นที่ราบล้อมรอบไปด้วยภูเขา ลักษณะเหมือน แอ่งกระทะ การสะสมหมอกควันในอากาศจึงรุนแรงกว่าพื้นที่อื่น รวมถึงฝุ่นควันที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย ส่งผลให้ฝุุ่น PM 2.5 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

จนปัจจุบันหลายๆ จังหวัดในประเทศไทยต้องเผชิญกับภาวะค่า PM 2.5 ที่สูงเกินมาตรฐาน จนกลายเป็นหนึ่งในเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก และหนึ่งในนั้นคือจังหวัดเชียงใหม่ ที่ติดอันดับเมืองที่มีมลพิษมากเป็นอันดับ 3 ของโลก ในเดือนมีนาคม 2567 และติดอันดับ 10 เมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก  

อย่างไรก็ตาม ปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 นั้น ส่งผลกระทบทางตรงต่อสุขภาพของคนไทยและระบบสาธารณสุขภาพรวม สิ่งแวดล้อม และในที่สุดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งรัฐบาลได้ตระหนักถึงผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 จึงได้ออกมาตรการใหม่เพื่อแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ แต่ก็ยังคงไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และระดับมลพิษก็ยังเพิ่มระดับสูงขึ้นถึงขีดอันตรายในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมีฝุ่น PM 2.5 ในอากาศเพิ่มสูงขึ้นบ่อยครั้ง จากงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าสาเหตุส่วนใหญ่คือ การจราจร การเผาชีวมวล และกิจกรรมในภาคอุตสาหกรรม โดยความเข้มข้นผันแปรไปตามฤดูกาล อีกทั้งภาคเหนือก็ประสบปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่เกิดจากไฟป่า และการเผาพื้นที่การเกษตร

ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้รายงานว่า การเผาไหม้ชีวมวลเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้คุณภาพอากาศเสีย ซึ่งอาจทำให้เกิดโอกาสการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรในประชาชนหลายแสนคนต่อปี อย่างไรก็ดี การประเมินผลกระทบของการเผาไหม้ต่อระดับ PM 2.5 เป็นเรื่องที่ท้าทาย ด้วยเหตุที่ว่าการเผาไหม้เกิดขึ้นแตกต่างกันตามฤดูกาลและแตกต่างตามพื้นที่ภูมิศาสตร์ ในพื้นที่ที่ถูกผลกระทบจากการเผาไหม้นั้น ระดับ PM 2.5 อาจพุ่งสูงขึ้นหลายร้อยไมโครกรัม และใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะลดลงมาในระดับปกติได้มากไปกว่านั้น เนื่องด้วย PM 2.5 สามารถเดินทางได้ไกล จึงไม่ใช่เฉพาะพื้นที่ที่เกิดการเผาไหม้เท่านั้น พื้นที่ใกล้เคียงแม้จะห่างจากจุดเกิดเหตุออกไปกว่าหลายร้อยกิโลเมตรก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน

และจากการศึกษาข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมและการใช้ประโยชน์ที่ดิน พบว่า ระหว่างปี 2544-2563 มีการเผาไหม้ในเขตป่าไม้เพิ่มขึ้นมากถึง 240% ในขณะที่ไฟจากการเผาพื้นที่เกษตรลดลง 42% ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่ตีพิมพ์ก่อนหน้านี้ ว่าไฟป่าในประเทศไทยนั้นเพิ่มสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่าที่มาของ PM 2.5 น่าจะมาจากการเผาไหม้ในเขตป่าไม้มากกว่าจากการเผาพื้นที่ทางการเกษตร ณ ตอนนี้ข้อมูลดาวเทียมยังไม่สามารถแยกเหตุของการเผาไหม้ของป่าได้ว่ามาจากธรรมชาติหรือเผาไหม้ไปทำการเกษตร

ศุูนย์วิจัยกสิกร ยังระบุว่า มิใช่เพียงการเผาในประเทศที่เป็นหนึ่งสาเหตุหลักของปัญหา PM 2.5 ในไทยเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ส่งผลให้เกิด PM 2.5 ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศ ความหนาแน่นของประชากร หรือการจราจร นอกจากนี้การเผาจากประเทศเพื่อนบ้านยังมีผลกระทบต่อ PM 2.5 ด้วยเช่นกัน โดยปริมาณการเกิดไฟไหม้สูงพบเห็นได้ที่ชายแดนติดกับเมียนมาและกัมพูชา ซึ่งส่งผลให้ภาคเหนือของประเทศไทยได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะบริเวณแถวเชียงใหม่

ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายของรัฐบาลที่จะหันมาให้ความสนใจกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 อย่างจริงจัง โดยเฉพาะความท้าทายและข้อจำกัดเชิงสถาบัน เพราะปัจจุบันยังขาดกรอบกฎหมายที่กำหนดเป้าหมายชัดในเรื่องมลพิษทางอากาศ การออกมาตรการทางกฎหมายที่ประสานกับทุกภาคส่วน ที่ปล่อยมลพิศทางอากาศ, การบังคับใช้กฎเกณฑ์ในการกำกับดูแลที่มีอยู่ และมาตรฐาน NAAQS ก็ยังไม่ทั่วถึง มีช่องว่างสำคัญ คืออำนาจการให้โทษของหน่วยงานติดตามตรวจสอบอย่างกรมควบคุมมลพิษ ที่ปัจจุบันยังขาดอำนาจการบังคับควบคุมและใช้บทลงโทษ

และที่สำคัญหน่วยงานภาครัฐควรเฝ้าระวังและติดตามเพื่อบรรเทาการเกิดไฟป่าและ PM 2.5 ไปพร้อมกันได้ในช่วงฤดูร้อนปีนี้ โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและข้อมูลเชิงลึกวิเคราะห์และดำเนินนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่อยู่ระหว่างการร่างพระราชบัญญัติอากาศสะอาดและร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เป็นการวางรากฐานในการดำเนินนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจที่สำคัญต่อไป

อย่าให้ประชาชนต้องคิดว่า ดีแต่ออกมาตรการแก้ฝุ่น แต่กลับไร้ผล.

 

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร