จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

โดยเงินบาทถือว่าอ่อนค่าหนักที่สุดในรอบ 6 เดือน และเงินบาทยังอ่อนค่ามากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาครองจากเงินเยนญี่ปุ่น โดยตั้งแต่ต้นปีมีการปรับลดไปแล้วกว่า 7.7%

ทั้งนี้ ในมุมมองของนักวิเคราะห์เชื่อว่าค่าเงินบาทยังคงปรับลงได้มากกว่านี้อีก ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากความตึงเครียดที่เกิดขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลาง และปัญหาเรื่องอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐที่มีแนวโน้มว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ยน้อยกว่าที่คาดเอาไว้ ซึ่งยังคงเป็นปัจจัยหนุนให้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐยังคงแข็งค่าต่อเนื่อง

ล่าสุด นายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) ระบุ การอ่อนค่าของเงินบาทซึ่งทะลุระดับ 37 บาทต่อดอลลาร์ เป็นผลมาจากความกังวลของนักลงทุนว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจไม่ลดดอกเบี้ยเร็ว หนุนให้บอนด์ยีลด์สหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้นักลงทุนหันไปถือดอลลาร์ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น

ทั้งนี้ การอ่อนค่าของเงินบาทซึ่งอ่อนค่ามากกว่าเงินสกุลอื่นๆ และคาดว่าจะอ่อนค่าต่อเนื่องถึงเดือน พ.ค.นี้ มาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ จากฤดูกาลจ่ายเงินปันผลของไทย ซึ่งทำให้มีเงินไหลออกนอกประเทศ และมาจากดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยซึ่งจะเกินดุลน้อยลง หรือบางช่วงอาจขาดดุล จึงไม่ได้เป็นปัจจัยสนับสนุนให้เงินบาทกลับมาแข็งค่า รวมถึงการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ ซึ่งมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอีก

โดยในระยะสั้น เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าไปสู่ระดับ 37.50 บาทต่อดอลลาร์ และหากปีนี้เฟดไม่ลดดอกเบี้ยเลย มีโอกาสที่เงินบาทจะอ่อนค่าไปสู่ระดับ 40 บาทต่อดอลลาร์ เพราะเศรษฐกิจไทยยังไม่กลับมาขยายตัวมากนัก กดดันให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ต้องดำเนินนโยบายการเงินสวนทางกับสหรัฐและสวนทางตลาดโลก ปัจจัยเหล่านี้มีผลให้ความเชื่อมั่นของประเทศลดลงได้

นายอมรเทพระบุว่า ไม่ได้บอกว่าลดดอกเบี้ยไม่ได้ แต่การลดดอกเบี้ยจะทำให้เสถียรภาพระยะสั้นมีความผันผวนมากขึ้น อาจทำให้เงินบาทอ่อนค่าได้หากไทยดำเนินนโยบายการเงินสวนทางตลาดโลก ดังนั้นระยะยาวมีโอกาสที่เงินบาทจะอ่อนค่าไปแตะระดับ 40 บาทต่อดอลลาร์ แต่ระยะสั้นมองว่ามีโอกาสอ่อนค่าไปที่ 37.50 บาทต่อดอลลาร์
แม้ว่าบาทอ่อนถึงระดับ 40 บาท/ดอลล์จะมีความเป็นไปได้ในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติทางรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยคงจะไม่ปล่อยให้ค่าเงินบาทไหลขึ้นลงไปตามยถากรรม เพราะบาทอ่อน แม้จะมีข้อดีในเรื่องของการส่งออกที่จะได้กำไร มากขึ้น และได้เปรียบทางการค้า แต่ในอีกมุมมันก็กระทบต่อการนำเข้าสินค้า โดยเฉพาะราคาพลังงานที่จะต้องควักกระเป๋าแพงขึ้น และราคาพลังงานก็มีผลกระทบต่อต้นทุนหลายๆ ด้าน

ตอนนี้ในมุมมองของเศรษฐกิจมหภาค ไทยเรายังโชคดีที่ได้ตัวเลขรายได้จากการท่องเที่ยวเข้ามาประคอง ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดยังเกินดุล ทำให้บาทยังไม่อ่อนเกินไป

ดังนั้น ตอนนี้ที่ต้องจับตาคือ เศรษฐกิจสหรัฐเป็นอย่างไร และเศรษฐกิจของไทยจะฟื้นตัวได้มากแค่ไหน ถ้าเกิดว่าเศรษฐกิจเราไม่ฟื้นเราอาจได้เห็นบาทอ่อนเข้าใกล้ 40 บาท/ดอลล์ได้.

 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เคาต์ดาวน์ปลอดภัยส่งท้ายปี

เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2568 เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข เป็นวาระแห่งการเริ่มต้นใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยพลังและความหวัง โดยในปีนี้สถานที่จัดงาน Countdown ทั่วประเทศไทยหลายหน่วยงานได้เตรียมกิจกรรมไว้ให้ทุกคนได้ร่วมสนุกและสัมผัสความงดงาม

แชร์มุมมอง‘อินฟลูเอนเซอร์’ในตลาดอาเซียน

การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มายาวนาน แต่กลยุทธ์การทำการตลาดของแต่ละแบรนด์นั้นล้วนแตกต่างกันไป ล่าสุด วีโร่ ได้เปิดตัวเอกสารไวต์เปเปอร์ฉบับใหม่ในหัวข้อ “ผลกระทบ

ของขวัญรัฐบาล

อีกไม่ถึง 2 สัปดาห์ก็จะเข้าสู่ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แล้ว ก็เป็นธรรมเนียมของรัฐบาลและ ครม.ที่จะมีมาตรการเป็นของขวัญมอบให้กับประชาชน ซึ่งการประชุม ครม.ล่าสุดเริ่มมีการเคาะมาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือประชาชนกันแล้ว

ยกระดับธุรกิจไทยแข่งขันเวทีโลก

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ EXIM BANK คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 3% ด้วยแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐ

ปี68ธุรกิจบริการอาหารยังโตต่อเนื่อง!

“ธุรกิจบริการอาหาร” ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับตาในปี 2568 จากอานิสงส์ท่องเที่ยวที่กลับมาฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง ซึ่งส่งผลให้การบริโภคอาหารน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันภาครัฐยังมีการอัดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.

ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก