ในช่วงเทศกาลแห่งความสุข ปีใหม่ 2565 กลับกลายเป็นความทุกข์ เพราะราคาสินค้า ของกินของใช้กลับแพงหูฉี่ โดยเฉพาะราคาเนื้อหมูที่พุ่งไม่หยุด จากเดิมราคาหมูเนื้อแดงขายอยู่ที่ 70-180 บาทต่อกิโลกรัม ขณะนี้ปรับเพิ่มขึ้นทะลุ 200 บาทไปแล้ว มาอยู่ที่ 220-230 บาทต่อกิโลกรัม
แม้ว่าที่ผ่านมานั้น ธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จะออกมาระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งดูแลแก้ปัญหาราคาเนื้อหมูแพงตั้งแต่ต้นทาง-ปลายทาง ตั้งแต่ภาระเกษตรกรฟาร์มสุกร พ่อค้าคนกลาง ผู้ขายหมูหน้าเขียง ประชาชนผู้บริโภค รวมไปถึงผู้ประกอบการร้านอาหาร เพื่อลดผลกระทบราคาหมูแพงในขณะนี้ โดยไม่ให้เสียกลไกตลาด
ขณะเดียวกันกระทรวงพาณิชย์เองก็เดินหน้าดำเนินตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ขยายการดำเนินการโครงการพาณิชย์ลดราคา (หมูเนื้อแดง) พร้อมให้พาณิชย์จังหวัดติดตามสถานการณ์การจำหน่ายอย่างใกล้ชิด รวมไปถึงเข้มงวดผู้ขายในตลาดปิดป้ายแสดงราคา และขอความร่วมมือทางห้างค้าปลีก-ค้าส่ง ช่วยตรึงราคาจำหน่ายหมูเนื้อแดงออกไปอีกระยะหนึ่ง
โดยมอบให้กรมการค้าภายในเข้าไปดูแล ควบคุม และขอความร่วมมือกับร้านค้าโมเดิร์นเทรด หรือห้างสรรพสินค้าให้ตรึงราคาไว้ให้อยู่ในระดับที่เหมาะ แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถควบคุมได้ ล่าสุดเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2565 ราคาหมูในห้างสรรพสินค้าบางแห่งราคาพุ่งไปถึง 230 บาทแล้ว โดยเฉลี่ยจะพบว่าราคาเนื้อหัวไหล่ สะโพก ขายในราคาเฉลี่ย 160 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ราคาตลาดสดปรับสูงไปถึง 180-190 บาทต่อกิโลกรัม, ราคาซี่โครงหมู 160-180 บาทต่อกิโลกรัม หมูสามชั้นมีราคาขยับขึ้นไปสูงถึง 232 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าราคาที่กรมการค้าภายในขอความร่วมมือให้จำหน่าย 150 บาทต่อกิโลกรัมไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าต้นตอปัญหาราคาเนื้อหมูที่ปรับตัวสูงขึ้น มาจากต้นทุนประกอบการที่เพิ่มขึ้น ทั้งราคาอาหารสัตว์ ยารักษาโรค และโรคระบาดหมูส่งผลให้หมูในระบบมีปริมาณลดลง ราคาหมูขายปลีกหน้าเขียงมีราคาสูงขึ้น ขณะเดียวกันการที่ภาคบริการ การท่องเที่ยว ร้านอาหารกลับมาเปิดบริการได้มากขึ้น ทำให้ความต้องการบริโภคหมูโดยรวมกลับมาเพิ่มมากขึ้น
ซึ่ง พงษ์สุธี สุขศิริ พาณิชย์จังหวัดนครปฐม เองก็ออกมายอมรับว่าปริมาณสุกรในพื้นที่มีจำนวนลดลงอย่างมาก ทำให้ราคาหมูหน้าฟาร์มขยับสูง ประกอบกับราคาวัตถุดิบ อาหารสัตว์ ยาสัตว์ราคาแพงขึ้นอีก ทำให้ต้นทุนสูงถึง 10 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งขณะนี้กรมการค้าภายในให้พาณิชย์จังหวัดหาเนื้อหมูชำแหละป้อนตลาดราคาต่ำ 150 บาทต่อกิโลกรัม วันละ 800 กิโลกรัม เพื่อช่วยผู้บริโภค แต่กลับมีปัญหาว่า จะหาเนื้อหมูมาขายให้ในราคาต่ำกว่า 150/กก.ได้หรือไม่
เช่นเดียวกับที่ สมควร ปิยะพงษ์เดชา ปศุสัตว์จังหวัดนครปฐม ระบุว่า จำนวนหมูที่ลดลงมีสาเหตุมาจากหมูติดโรค ทำให้หมูหายไปจากระบบกว่าครึ่ง และปัญหาวัตถุดิบสูง ทำให้ฟาร์มขนาดเล็กหยุดเลี้ยงจำนวนหนึ่ง ปัญหานี้ต้องใช้เวลา 3-6 เดือน ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจให้ผู้ประกอบการเลี้ยงสุกรปรับระบบการเลี้ยงใหม่ให้เข้ากับระบบการเลี้ยงของปศุสัตว์ และยอมรับความจริง ปัญหาจะได้รับการแก้ไขกลับมาได้เร็ว เพราะการเลี้ยงแบบธรรมชาติเหมือนเดิมไม่ได้แล้ว
ดังนั้นปัญหาเหล่านี้หน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะคณะกรรมการพิกบอร์ด (Pig Board) ต้องเร่งหาแนวทางช่วยเหลือผู้เลี้ยงสุกร ตั้งแต่ต้นทุนการผลิตสุกร สนับสนุนการพัฒนาวัคซีนหมู เพื่อลดอัตราการสูญเสียหมูเลี้ยงจากโรคระบาด รวมทั้งส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนทั้งปลอดดอกเบี้ยและดอกเบี้ยต่ำ เพื่อจูงใจให้ผู้เลี้ยงหมูกลับมาเพิ่มปริมาณสุกรกลับเข้ามาสู่ระบบโดยเร็ว เพื่อให้ ประชาชนคนไทยจะได้สามารถบริโภคหมูที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ในราคาที่เหมาะสม
และที่สำคัญต้องเร่งดำเนินการและยอมรับความจริง อย่าปกปิดสาเหตุต้นตอที่แท้จริงว่ามีสาเหตุจากอะไร อย่าเอาแต่เอาใจนาย ปล่อยให้ประชาชนแบกรับความเดือดร้อนตามยถากรรมจนทนไม่ไหวลุกลามใหญ่โต จากที่พอจะควบคุมแก้ไขปัญหาได้ กลายเป็นควบคุมไม่ได้ ไปมากกว่านี้ สร้างความเสียหายใหญ่มากมายจนแก้ไขไม่ได้.
บุญช่วย ค้ายาดี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.
ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม
เคลียร์ปมสถานีอยุธยา
เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2
แจกเงินหวังคะแนน
เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ
เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด
คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น
ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!
ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research