30@30 โอกาส SME

สำหรับนโยบาย 30@30 เป็นที่พูดถึงมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 จนมาถึงปัจจุบันที่นวัตกรรมและเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทยแพร่หลายมากขึ้น และ EV ทั่วโลกกำลังตื่นตัวและก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว รวมถึงเริ่มเห็นทิศทางของ EV ในประเทศไทยชัดเจนขึ้น วันนี้เลยอยากนำสิ่งที่ finbiz by ttb ได้แนะแนวถึงโอกาสทางธุรกิจมาสรุปเพื่อนำเสนอ โดยเฉพาะในส่วนของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี

หากถามว่า 30@30 คืออะไร...แนวทางส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) 30@30 เป็นนโยบายของคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ที่ตั้งเป้าหมายการผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในประเทศไทย ภายในปี 2030 เพื่อผลักดันประเทศไทยให้ก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

โดยมีนโยบายส่งเสริมดังนี้ 1.ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน ให้ไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ 2.ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งมาตรการทางภาษีและที่ไม่ใช่ภาษี 3.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับยานยนต์ไฟฟ้า เช่น สถานีอัดประจุและสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ พัฒนากฎหมายและระเบียบต่างๆ ให้เหมาะกับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า

จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ตั้งแต่ปี 2565 ปัจจุบันข้อมูลการลงทุนล่าสุดเมื่อปลายปี 2566 จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้ให้การส่งเสริมอุตสาหกรรม EV จำนวน 103 โครงการ เงินลงทุนรวม 77,192 ล้านบาท พบว่ารถยนต์ EV จำนวน 18 โครงการ มูลค่า 40,004 ล้านบาท ส่วนรถจักรยานยนต์ EV จำนวน 9 โครงการ มูลค่า 848 ล้านบาท ขณะที่รถบัส EV และรถบรรทุก EV จำนวน 3 โครงการ มูลค่า 2,200 ล้านบาท สำหรับแบตเตอรี่สำหรับรถ EV และระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) จำนวน 39 โครงการ มูลค่า 23,904 ล้านบาท ด้านชิ้นส่วนสำคัญ จำนวน 20 โครงการ มูลค่า 6,031 ล้านบาท และสถานีอัดประจุไฟฟ้า จำนวน 14 โครงการ มูลค่า 4,205 ล้านบาท

นอกจากนี้นโยบายด้านภาษีในการสนับสนุนรถขนาดใหญ่ ได้แก่ รถโดยสารไฟฟ้า (E-Bus) และรถบรรทุกไฟฟ้า (E-Truck) ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการซื้อรถโดยสารไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้า โดยมาตรการนี้จะมีผลตั้งแต่พระราชกฤษฎีกาที่กระทรวงการคลังจะออกมาประกาศใช้ ซึ่งจะมีผลไปจนถึงสิ้นปีหน้า 2568

โดยคาดว่าจะมีรถทั้ง 2 ประเภทที่เป็นรถ EV ในโครงการนี้ แบ่งเป็นรถบัสประมาณ 6,000 คัน และรถบรรทุกประมาณ 4,000 คัน และยังมีนโยบายสนับสนุนการลงทุนในโรงงานแบตเตอรี่ที่บีโอไอและคณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศพิจารณาตามเงื่อนไขอีกด้วย จากปัจจัยทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าเป้าหมาย 30@30 นั้นไม่ไกลเกินเอื้อม โดยได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

จากการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า จึงเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายสำหรับ SME โดยจะสร้างโอกาสให้สามารถเข้าร่วมในห่วงโซ่อุปทานของ EV ได้ แต่อาจต้องปรับตัว เปลี่ยนแปลงธุรกิจเดิมเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งสิ่งที่ SME ควรทำ ได้แก่ 1.ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแนวทาง 30@30 หาช่องทางโอกาสและพิจารณาจุดแข็งของธุรกิจ เพื่อปรับธุรกิจให้ตอบสนองและมีความพร้อมอยู่เสมอ

2.ประเมินศักยภาพของธุรกิจ เมื่อพบช่องทางแล้วจึงประเมินศักยภาพ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางนั้นได้ 3.พัฒนากลยุทธ์ เพื่อเข้าร่วมในห่วงโซ่อุปทานของ EV กำหนดเป้าหมาย แนวทาง และวิธีการดำเนินการ 4.เตรียมตัวขอรับการสนับสนุน หาข้อมูลและขอการสนับสนุนหรือพัฒนาร่วมกันกับพันธมิตรทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หาแหล่งเงินทุนและสถาบันทางการเงินที่จะช่วยหนุนให้การพัฒนาธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น.

 

 รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร