เร่งกระตุ้นอสังหาฯ

อสังหาริมทรัพย์เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่ยาว ตั้งแต่ภาคการผลิตต่างๆ เช่น เหล็ก ซีเมนต์ การท่องเที่ยว ตลอดจนการเงิน หากภาพรวมอสังหาฯ ดีย่อมส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมใกล้เคียง แต่หากลบก็กระทบธุรกิจอื่นๆ ได้เช่นกัน แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกที่ผลักดันให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น แต่ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และภาวะหนี้ครัวเรือนที่บั่นทอนกำลังซื้อในประเทศ ส่งผลกับภาคอสังหาฯ อย่างเห็นได้ชัด 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองตลาดที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2567 หดตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยการเปิดโครงการ 2 เดือนแรกของปี 2567 ลดลงกว่า 48.7% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีสาเหตุหลักๆ มาจากปัจจุบันพบความต้องการและความสามารถของผู้ซื้อที่ยังเปราะบาง

สะท้อนจากการจองซื้อที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ยังไม่ดีขึ้น โดยผู้บริโภคยังชะลอการซื้อ จากข้อมูลของ Agency for Real Estate Affairs (AREA) ระบุว่า ช่วง 2 เดือนแรกปี 2567 ยอดจองซื้อที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลหดตัว 48.1% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือมีจำนวนเพียง 6,769 หน่วย

เช่นเดียวกับยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยหดตัวต่อเนื่อง แต่ที่อยู่อาศัยมือสองได้รับการตอบรับดีกว่าที่อยู่อาศัยใหม่ เนื่องจากราคาที่อยู่อาศัยมือสองที่ถูกกว่า เมื่อเปรียบเทียบทำเลและขนาดพื้นที่ใช้สอย และที่ผ่านมาที่อยู่อาศัยมือสองมีการประกาศขายในตลาดเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยมีทางเลือกมากขึ้น นอกจากนี้ราคาที่อยู่อาศัยที่มีการซื้อขายในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2566 เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3.6 ล้านบาท ปรับตัวขึ้นกว่า 24%

ดังนั้นในช่วงที่เหลือของปี 2567 ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก็ได้แต่หวังรอภาครัฐออกมาตรการมาช่วยเหลือ โดยเฉพาะมาตรการทางการเงินและภาษีสำหรับตลาดที่อยู่อาศัยที่จะเข้ามาช่วยประคองสถานการณ์ตลาด

ซึ่งล่าสุด กฤษฎา จีนะวิจารณะ รมช.คลัง  ได้ออกมาระบุว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 9 เม.ย.นี้ กระทรวงการคลังจะเสนอแพ็กเกจมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ให้ที่ประชุมพิจารณา อาทิ การผ่อนปรนมาตรการลดค่าโอนอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 2% เหลือ 1% และค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 1% เหลือ 0.01% ซึ่งจะครอบคลุมสำหรับการซื้อขายที่อยู่อาศัยที่มีราคาเกิน 3 ล้านบาทด้วย ซึ่งปัจจุบันมาตรการนี้จะให้สิทธิเฉพาะที่อยู่อาศัยที่มีราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท แต่คลังจะพิจารณาผ่อนปรนให้ที่อยู่อาศัยที่ซื้อขายเกิน 3 ล้านบาท มีสิทธิได้รับส่วนลดค่าโอนและจดจำนอง ในส่วนของ 3 ล้านบาทแรกได้ ส่วนเกินที่นอกเหนือจากนั้น ให้จ่ายค่าโอนและจดจำนองตามอัตราปกติ

และยังจะปรับสินเชื่อของ ธอส.ที่มีอยู่ เช่น การปลดล็อกให้โครงการบ้านล้านหลัง เฟส 3 ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ให้สามารถปล่อยกู้บ้านที่เกินราคา 1.5 ล้านบาทได้ จากปัจจุบันที่กำหนดให้กู้เฉพาะที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาท เช่น บ้านราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองมากขึ้น และยังสอดคล้องกับราคาที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน ที่ส่วนใหญ่ราคาเกิน 1.5 ล้านไปแล้ว และมาตรการอื่นๆ อีกมากมาย

คงต้องมารอลุ้นกันว่า มาตรการนี้จะผ่านความเห็นชอบจาก ครม.หรือไม่ โดยเฉพาะขยายราคาบ้านเป็นไม่เกิน 7 ล้านบาท มาตรการนี้เพื่อใคร.

 

บุญช่วย ค้ายาดี 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปี68สินเชื่อระบบแบงก์ไทยหืดจับ

ปี 2568 ยังเป็นอีกปีที่ต้องจับตากับทิศทางของเศรษฐกิจไทย เพราะยังมีปัจจัยหลายอย่าง ทั้งบวกและลบ ที่จะเข้ามามีผลกับภาคเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสถานการณ์กดดันจากปัญหาหนี้ครัวเรือน

ยกระดับธุรกิจไทยแข่งขันเวทีโลก

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ EXIM BANK คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 3% ด้วยแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐ

ปี68ธุรกิจบริการอาหารยังโตต่อเนื่อง!

“ธุรกิจบริการอาหาร” ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับตาในปี 2568 จากอานิสงส์ท่องเที่ยวที่กลับมาฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง ซึ่งส่งผลให้การบริโภคอาหารน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันภาครัฐยังมีการอัดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า

ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม

ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!

ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research

อสังหาฯปี68ฟื้นตัวแบบช้าๆ

หลังจากผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 หลายๆ ฝ่ายต่างก็คาดหวังว่าเศรษฐกิจจะขยับเติบโตขึ้น แต่ในทางตรงข้าม แม้ว่าจะมีการเติบโต แต่ก็เติบโตแบบเชื่องช้า แถมปัญหาที่สะสมก็เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น