เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ล่าสุด ดร.เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลกประจำประเทศไทย ออกมาคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 67 ซึ่งมีการแจ้งปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 67 ลงเหลือ ขยายตัว 2.8% จากเดิมคาดว่าจะขยายตัว 3.2%

โดยประเด็นสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยยังโตแบบกระท่อนกระแท่นแบบนี้ มีสาเหตุหลักๆ มาจากการค้าโลกที่ชะลอลง และนโยบายการคลังและงบประมาณที่ล่าช้า ทำให้การลงทุนภาครัฐชะลอลง ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้าสุดในอาเซียน

และมองดูจากการบริหารงานของรัฐบาลปัจจุบัน ตอนนี้ก็ยังไม่มีนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่แน่ชัด จะมีก็เพียงโครงการแจกเงินหมื่นผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งตอนนี้รายละเอียดก็ยังคลุมเครือ และคงต้องรอการแถลงอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 เมษายนที่จะถึงนี้ ว่าจะออกมาเป็นเช่นไร แต่โครงการนี้ก็เป็นเหมือนดาบสองคม เพราะภาครัฐจะต้องหาเงินมาใช้กว่า 5 แสนล้านบาท ก็ทำให้ต้องมีภาระต้นทุนการคลังที่เพิ่มขึ้น 

รวมถึงการผลักดันการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร (Entertainment Complex) เพื่อแก้ปัญหาการพนันผิดกฎหมายและเพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ ที่ยังถือว่าลูกผีลูกคน และยังต้องฝ่าอีกหลายด่านกว่าจะเกิดขึ้นได้จริง 

ส่วนนโยบายลงทุนแลนด์บริดจ์ ก็ดูเหมือนจะเป็นโครงการขายฝัน ที่น่าจะหาแนวร่วมที่จะเข้ามาลงทุนได้ยากเสียแล้ว

ดังนั้น เวลานี้จึงมองว่านโยบายทางด้านเศรษฐกิจอื่นๆ ก็ยังไม่มีอะไรหวือหวา และพอจะฝากผีฝากไข้ในการปลุกเศรษฐกิจได้เลย จนเกิดคำถามว่า ตอนนี้เศรษฐกิจของไทยจะไปทางไหนต่อ ซึ่งนี่คือคำถามสำคัญที่เป็นโจทย์ที่ท้าทายทีมรัฐบาลที่ต้องตีปมให้ออก ก่อนที่จะวางนโยบายในการบริหารจัดการ

โดยล่าสุดทางธนาคารโลกมีการออกรายงาน วิเคราะห์แนวทางการพัฒนาประเทศอย่างเป็นระบบสำหรับประเทศไทย ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2567 จึงขออนุญาตคัดลอกมาให้เป็นแนวทางและข้อเสนอแนะให้รัฐบาล นำไปประยุกต์ใช้ต่อ

ซึ่งรายงานฉบับนี้ได้เสนอปัจจัยที่ช่วยให้ไทยเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจและพัฒนาสู่ประเทศรายได้สูงได้ภายในปี 2580 ประกอบไปด้วย 1.ให้ไทยเร่งเสริมสร้างการพัฒนาทุนมนุษย์ ให้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและเท่าเทียม 2.การส่งเสริมเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันและพัฒนานวัตกรรม 3.ส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่เมืองคาร์บอนต่ำ  การใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ ป้องกันผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ 4.รวมทั้งต้องปฏิรูปหน่วยงานด้านการคลังและการจัดสรรงบประมาณภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ

แต่นี่ถือว่าเป็นเรื่องการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจแบบครั้งใหญ่ ที่จะต้องรีบลงมือเข้ามาจัดการ หากต้องการจะยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ.

 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร