บันทึกหน้า 4

"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด" การเมืองสัปดาห์นี้กลับมาร้อนแรง หลังฝ่ายค้านนำโดยพรรคก้าวไกลจะเปิดอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 ภายใต้ธีม "รัฐบาลเพื่อใคร หัวใจไม่ใช่ประชาชน" ในวันที่ 3-4 เม.ย.นี้ 

เพจพรรคก้าวไกล – Move Forward Party โพสต์หนังตัวอย่างว่า 7 เดือนเต็ม หลังการขึ้นบริหารประเทศของรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน และรัฐบาลผสมข้ามขั้วระหว่างเพื่อไทย และพรรคร่วมรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เกือบครบทุกพรรค

7 เดือนที่ประชาชนที่ผิดหวังกับการจัดตั้งรัฐบาล ยังหวังว่าปัญหาเศรษฐกิจปากท้องจะดีขึ้น เชื่อว่ารัฐบาลเพื่อไทยที่พิสูจน์ฝีมือมาแล้วในอดีต จะนำพาประเทศไทยไปข้างหน้า แก้ปัญหาของประชาชนที่หมักหมมมากว่า 10 ปีได้  

แต่วันนี้ดิจิทัลวอลเล็ตยังไม่มา ค่าแรงขึ้นเป็นหย่อมๆ ค่าไฟแพงขึ้นเรื่อยๆ ลูกหลานยังต้องไปเกณฑ์ทหาร นักโทษคดีการเมืองยังติดคุก (และบางคนได้กลับบ้าน)

วันนี้เกิดคำถามว่า รัฐบาลเพื่อไทยกำลังทำเพื่อใคร? เพื่อประชาชน หรือเพื่อคนที่หนุนนำให้ได้ตั้งรัฐบาล? รัฐบาลที่จัดตั้งมาโดยฝืนความต้องการของประชาชน จะรับใช้ประชาชน หรือรับใช้คนที่อนุญาตให้ตนได้กลับมามีอำนาจ?

วันที่ 3-4 เมษายนนี้ เชิญชวนประชาชนทุกท่านร่วมรับฟังการอภิปรายทั่วไป พรรคก้าวไกลจะนำทุกท่านไปหาคำตอบว่า รัฐบาลเพื่อใคร? ทำไมในหัวใจ ไม่ใช่ประชาชน

สิ่งที่กล่าวหาถือว่าเป็นสิ่งที่หลายคนกังขา แต่สิ่งที่ประชาชนอยากเห็นว่าพรรคก้าวไกลจะทำหน้าที่อย่างสมศักดิ์ศรีหรือไม่ คงเป็นประเด็น จะกล้าแตะ "ทักษิณ ชินวัตร" แบบจริงจังหรือไม่ หากทำจริงก็อาจลบครหาเดิมๆ ลงได้ หลังนายทุนของพรรคนี้เคยมีข่าวดีลกันที่ประเทศฮ่องกงช่วงจัดตั้งรัฐบาล 

และสิ่งที่พรรคก้าวไกลต้องรับรู้ไว้ "ทักษิณ" ถือเป็นศัตรูอันดับหนึ่ง เพราะได้ถูกเชิดเป็นหัวหอกของฝ่ายอนุรักษนิยมใหม่ และมีภารกิจสำคัญเพื่อขวางไม่ให้พรรคส้มได้เป็นรัฐบาลนั่นเอง แม้ต้องแลกกับความเสียหายของกระบวนการยุติธรรมของประเทศก็ตาม 

ถึงขนาดที่ปรึกษาของนายกฯ "ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ" สุดทน ได้โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า บ่ายนี้คนที่ทำงานในกระบวนการยุติธรรมหลายคนมาบ่นกับผมว่าต้องทำคดีตาม “ธง” ที่ผู้ใหญ่ปรารถนา ทั้งๆ ที่เห็นอยู่ว่าผิดหลักการ ขัดหลักกฎหมาย และก่อให้เกิดผลเสียในระยะยาว เราจะอยู่กันอย่างนี้จริงๆ หรือ... ไม่รู้งานนี้ "นายกฯ นิด" เห็นแล้วจะว่าอย่างไรที่ทีมที่ปรึกษาของตัวเองแซะ "นายใหญ่เพื่อไทย"   

เพราะ "นายกฯ นิด" เป็น "คนตาบอดไม่กลัวเสือ" หรือเป็นคนพูดตรงเกินไป ซึ่งทางการเมืองบางครั้งต้องคำนึงถึงเรื่องมารยาท ล่าสุดให้สัมภาษณ์พิเศษกับสำนักข่าว FRANCE 24 ประเทศฝรั่งเศสตอนหนึ่งถึงการนำกัญชาให้กลับมาอยู่ในบัญชียาเสพติด

โดยเห็นว่าที่ผ่านมาการประกาศให้กัญชาถูกกฎหมายสร้างความเสียหายให้กับคนไทยอย่างใหญ่หลวง มากกว่าจะมีผลทางเศรษฐกิจ  

ปะหน้า "เสี่ยหนู" อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และ รมว.มหาดไทย (มท1.) ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ที่เคยผลักดันนโยบายกัญชาทางการแพทย์ ออกมาสอนมวยนิ่มๆ ในทำนองว่า หากเรื่องกัญชาไม่ดีจริง และไม่ทำเพื่อทางการแพทย์และเศรษฐกิจ รัฐบาลชุดนี้นำโดยพรรคเพื่อไทยคงไม่บรรจุไว้ในนโยบายของรัฐบาล และนายกฯ เองก็เป็นคนแถลงต่อที่ประชุมรัฐสภา ให้ประชาชนรับทราบกันทั่วประเทศ   

 “ขอยืนยันว่ากัญชงกัญชาถ้าใช้อย่างถูกวิธีมีประโยชน์และเพิ่มค่าทางเศรษฐกิจได้ มีคนได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการสร้างผลิตภัณฑ์กัญชงกัญชามากมาย อย่างเช่นประเทศเยอรมนี และอีกหลายประเทศที่มีความก้าวหน้าทางการแพทย์ และเขาก็ยอมรับในการใช้กัญชาเพื่อทางการแพทย์ ไม่ได้ใช้ในเชิงสันทนาการ”.

 

ช่างสงสัย  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บันทึกหน้า 4

ความคิด เป็นไปตามโผ การประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 1 โดย พล.ต.ท.ยุทธนา ไทยภักดี สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ที่อาวุโสสูงสุด ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ผลปรากฏว่า นายมงคล สุระสัจจะ ได้รับเลือกเป็นประธาน สว.คนใหม่ ได้ 159 คะแนน

บันทึกหน้า 4

ชื่นมื่นสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 19 ก.ค.-20 ก.ค. ผู้มีอำนาจทางการเมืองตัวจริงไปปรากฏกายรวมตัวกันที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โดยช่วงเย็นวันที่ 19 ก.ค. ซึ่งมีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พ

บันทึกหน้า 4

บันทึกบรรทัดแรก ขอแสดงความยินดีกับ "เศรษฐา ทวีสิน"

บันทึกหน้า 4

ยิ่งใกล้เปิดฉากสภาน้ำเงิน เลือก 3 เก้าอี้ใหญ่ ฝุ่นยิ่งตลบ เล่นเอา สว. พันธุ์ใหม่ ระดมพลัง 30 คน ปิดชั้น 7 ตึกหรูย่านรัชดาฯ หารือกันเคร่งเครียด 4 ชั่วโมง ก่อนจะเคาะชื่อ "บุญส่ง น้อยโสภณ" ชิงตำแหน่งรองประธาน สว.

ครบรอบ 50 ปี

"เสี่ยเฮ้ง" สุชาติ ชมกลิ่น ถือว่าเป็นคนการเมือง ผู้กว้างขวาง และ เป็นบุคคลคนสำคัญอย่างมากในช่วงรัฐบาล "พล.อ.ประยุทธ์" มาจนถึงการย้ายชายคาจากพรรคพลังประชารัฐมา ร่วมงานกับพรรครวมไทยสร้างชาติ สู้ศึกเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา

บันทึกหน้า 4

ต้องบอกว่าอากาศยามนี้วิปริตแปรปรวนแทบไม่ต่างจากสถานการณ์ในบ้านเมืองไทย เพราะแม้ไม่มีวิกฤตใดๆ ในโลกหรือในประเทศอย่าง “วิกฤตต้มยำกุ้ง” หรือ “วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์”