เจาะลึกพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย

ในช่วงที่ผ่านมาได้มีผลการวิจัยของมินเทล (Mintel) พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยหันมาใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้นในการหาแรงบันดาลใจด้านการท่องเที่ยว และแบ่งปันประสบการณ์ท่องเที่ยวของตนเอง โดยคนไทยกว่า 53% ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อสำรวจจุดหมายปลายทางยอดนิยมก่อนออกเดินทาง ขณะที่ 54% แชร์ประสบการณ์เดินทางของตนบนบัญชีโซเชียลมีเดียส่วนตัว เทรนด์เหล่านี้เกิดขึ้นส่วนใหญ่ในหมู่นักเดินทางวัยรุ่นไทย อายุ 18-24 ปี โดยกว่า 60% แชร์ประสบการณ์ท่องเที่ยวออนไลน์ เทียบกับ 51% ที่เป็นนักเดินทางในกลุ่มอายุ 45 ปีขึ้นไป

วิลาสิณี ศิริบูรณ์พิพัฒนา ที่ปรึกษาจากมินเทล คอนซัลติ้ง (Mintel Consulting) ประจำเอเชียแปซิฟิกใต้ ให้ความเห็นว่า คนไทยต้องการและมองหาส่วนลดขณะท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก โดยกว่า 44% ของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทย

ค้นหาข้อเสนอพิเศษดังกล่าวผ่านช่องทางออนไลน์ โดยแบรนด์ที่มีเป้าหมายลูกค้าเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวสามารถใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อเพิ่มการมองเห็นของสินค้าและบริการ รวมถึงนำเสนอภาพถ่ายที่น่าดึงดูดเพื่อดึงความสนใจของนักท่องเที่ยว

ขณะเดียวกันจากการวิจัยของ มินเทล พบว่า คนไทยมากกว่า 44% เที่ยวพักผ่อนในปีที่ผ่านมา โดยเกือบครึ่ง (20%) ออกเดินทางครั้งละ 2-3 ครั้งต่อปี ซึ่งเหตุผลสามอันดับแรกของการท่องเที่ยว ได้แก่ การพักผ่อน (70%) การใช้เวลากับบุคคลที่รัก (64%) และการปลีกตัวจากกิจวัตรประจำวัน (46%)

นอกจากนี้ ผู้บริโภคในกลุ่มที่มีอายุมากมักให้ความสำคัญกับการเดินทางเพื่อการพักผ่อนและการพักฟื้นร่างกายมากกว่ากลุ่มที่มีอายุน้อย ตัวอย่างเช่น 75% ของคนไทยที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ออกเดินทางท่องเที่ยวเพื่อผ่อนคลายทั้งด้านทั้งจิตใจและร่างกาย ขณะที่ 70% ของกลุ่มอายุ 25-44 ปี และ 65% ของกลุ่มอายุ 18-24 ปี ท่องเที่ยวเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว

สิ่งที่น่าสังเกตคือ เมื่อบุคคลอายุมากขึ้นและต้องต่อสู้กับภาระผูกพันและความเครียดที่เพิ่มขึ้น ความต้องการในการพักผ่อนและการแสวงหาความสงบก็เด่นชัดมากขึ้นเช่นกัน ทำให้แบรนด์ต่างๆ สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้ โดยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมการดูแลการฟื้นฟูร่างกายและจิตใจนั่นเอง

อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ การที่กลุ่มคนมิลเลนเนียลที่มีอายุมาก (อายุ 35-44 ปี) มักมองว่าวันหยุดเป็นโอกาสในการรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญหรือความสำเร็จในชีวิตของพวกเขา (32%) และด้วยการรับรู้ถึงแรงจูงใจนี้ แบรนด์ต่างๆ สามารถปรับกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับการเดินทางผ่านความสำเร็จส่วนบุคคล ทำให้แคมเปญและผลิตภัณฑ์สามารถดึงดูดผู้ที่ต้องการเฉลิมฉลองความสำเร็จในชีวิตผ่านประสบการณ์การเดินทางอีกด้วย

ทั้งนี้ ท่ามกลางค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น การท่องเที่ยวภายในประเทศยังคงเป็นสิ่งที่น่าดึงดูดใจสำหรับคนไทยกว่า 3 ใน 4 (76%) เมื่อเทียบกับการท่องเที่ยวในต่างประเทศ

ขณะเดียวกันผู้บริโภคชาวไทยกว่า 30% กล่าวว่า ตนมีโอกาสทดลองชิมอาหารรสชาติต่างๆ ขณะเดินทางท่องเที่ยว โดย 49% รับประทานอาหารในร้านระดับกูร์เมต์อย่างร้านอาหารดาวมิชลินประจำท้องถิ่น สิ่งนี้ตอกย้ำถึงเสน่ห์ของประสบการณ์ด้านอาหารในท้องถิ่นที่สามารถดึงดูดผู้บริโภคไปยังจุดหมายปลายทาง ที่ไม่เพียงแต่มีทิวทัศน์ที่สวยงามเท่านั้น แต่ยังเพียบพร้อมด้วยอาหารรสชาติหลากหลาย

การวิจัยของ มินเทล ยังพบว่าคนไทยต้องการซึมซับวัฒนธรรมและเข้าถึงกลิ่นอายของสถานที่ที่พวกเขาเดินทางไปอย่างมาก โดยกว่า 83% เห็นด้วยว่าการพบปะผู้คนในท้องถิ่นช่วยเพิ่มความเข้าใจในชุมชนที่พวกเขาท่องเที่ยว ขณะที่ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 86% ในกลุ่มผู้บริโภคเจนเอ็กซ์

อย่างไรก็ดี นักท่องเที่ยวไทยแสวงหาประสบการณ์ที่มีคุณค่าและส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งร่วมกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งกับสถานที่ที่พวกเขาเดินทางไปและผู้คนที่พวกเขาพบปะ แน่นอนว่าแบรนด์ต่างๆ มีโอกาสที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวในระดับที่ลึกซึ้ง โดยการนำเสนอประสบการณ์ที่ดื่มด่ำที่นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียว ครอบคลุมการมอบประสบการณ์สุดพิเศษในท้องถิ่น เช่น การนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เน้นไปที่อาหารหรือสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรมเพื่อทำให้ดูน่าสนใจมากขึ้น.

 

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จุดเปลี่ยนผ่านอุตฯยานยนต์

จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ประเทศไทยเริ่มเห็นทิศทางอุตสาหกรรมใหม่ๆ มากขึ้น และเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนากลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ ทั้งเครื่องมือแพทย์

“ความยั่งยืน” โอกาสการเติบโตทางธุรกิจ

สภาวะโลกร้อนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน เป็นตัวเร่งที่ทำให้ทั้งโลกต้องหันมาให้ความสนใจการไปต่อของโลกอย่างยั่งยืนมากขึ้น

เจาะกลยุทธ์“อาร์ตทอย”ตัวท็อปสุดแรร์

กระแสความนิยม “อาร์ตทอย” (Art Toy) เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในไทยซึ่ง “อาร์ตทอย” ไม่ได้เป็นเพียงแค่ของเล่นสำหรับเด็กเท่านั้น แต่กลายเป็นของเล่นและของสะสมที่มีการออกแบบสะท้อนถึงตัวตนและความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินผู้สร้างสรรค์

รณรงค์ใช้สินค้าไทย

ข่าวการปิดตัวโรงงานการผลิตของรถยนต์ ซูบารุ และซูซูกิ ในประเทศไทย เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยในขณะนี้อยู่ในช่วงที่อ่อนแอ เพราะไม่เพียงอุตสาหกรรมรถยนต์สันดาปเท่านั้นที่กำลังสั่นคลอน แต่อีกหลายอุตสาหกรรมของไทยก็กำลังประสบปัญหา

ใช้ไอเดียพัฒนาบรรจุภัณฑ์ไทย

สินค้าและผลิตภัณฑ์บนโลกนี้นอกจากจะต้องพัฒนารูปลักษณ์ หน้าตา ฟังก์ชัน หรือรสชาติใหม่ๆ ให้สามารถตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญและสามารถดึงดูดความสนใจให้กับผู้ซื้อได้ก็คือบรรจุภัณฑ์

ตนเป็นที่เพึ่งแห่งตน

ปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็จะเห็นเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าออนไลน์ การทำธุรกรรมโอนเงิน การเรียกใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ