บันทึกหน้า 4

มาช้าดีกว่าไม่มา ในที่สุด “คณะกรรมการการเลือกตั้ง” หรือ กกต. ก็มีมติเอกฉันท์ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อสั่งยุบพรรคก้าวไกล จาก ผลพวงคดีมาตรา 112 ที่ “ธีรยุทธ สุวรรณเกษร” อดีตทนายความพุทธะอิสระได้ยื่นร้องไว้ และศาลรัฐธรรมนูญมีมติเมื่อวันที่ 31 ม.ค.2567 เรียกว่าใช้เวลาเกือบหนึ่งเดือนครึ่งเลยทีเดียว ซึ่งก็ต้องจับตาดูต่อไปว่าศาลรัฐธรรมนูญจะใช้เวลาเท่าใดในการรับไม้ต่อ ...๐

งานนี้หากยึดตามไทม์ไลน์ของ “สมชัย ศรีสุทธิยากร” อดีต กกต.ที่ประเมินไว้ว่า ไม่น่าจะเกิน 2 เดือน “พรรคก้าวไกล” ก็คงเจริญรอยตาม “พรรคอนาคตใหม่” ที่จะกลายเป็นตำนานอีกบทหนึ่ง ในขณะที่ 44 สส.ที่เข้าชื่อเสนอร่างแก้ไขกฎหมายดังกล่าวนั้น “สมชัย” ก็ประเมินการทำงานของ ป.ป.ช.ว่า น่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปีถึงจะออกดอกออกผล ซึ่งก็ไม่รู้ว่า 44 สส.เหล่านั้นไปผุดไปเกิดกันกี่รอบแล้ว ...๐

ในขณะที่ “อิทธิพร บุญประคอง” ประธาน กกต. ก็ออกมายืนยันเป็นครั้งแรกๆ หลังเกิดเหตุใหญ่ว่าเป็นการพิจารณาด้วยความรอบคอบ โปร่งใส ไม่มีใบสั่ง แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นเรื่อง “บุญกรรม” หรือไม่อย่างไร ที่สำคัญ “อิทธิพร” ก็ยอมรับว่าโทษสูงสุดนั้นมีการตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรคถึง 10 ปีทีเดียว ...๐

โดยหากไล่ชื่อของ กก.บห.พรรคก้าวไกลที่อาจถูกหวยนั้น ก็ต้องบอกว่ามี 2 ยุคที่คาบเกี่ยวกัน ประกอบด้วย ยุค “พิธาคิโอ” ช่วงปี 2563–2566 จำนวน 10 ราย ประกอบด้วย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์, ชัยธวัช ตุลาธน, ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์, ณกรณ์พงศ์ ศุภนิมิตตระกูล, ปดิพัทธ์ สันติภาดา (ลาออกไปแล้ว), สมชาย ฝั่งชลจิตร, อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล, อภิชาต ศิริสุนทร, เบญจา แสงจันทร์, และสุเทพ อู่อ้น ...๐ ส่วน กก.บห.ยุคปัจจุบันนั้นมี 8 ราย ประกอบด้วย “ชัยธวัช”, อภิชาติ ศิริสุนทร, ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์, ณกรณ์พงศ์ ศุภนิมิตตระกูล, สมชาย ฝั่งชลจิตร, อภิสิทธิ์ พรมฤทธิ์, เบญจา แสงจันทร์ และสุเทพ อู่อ้น เรียกว่ามีทั้งคนเก่าขาประจำและคนใหม่บ้าง แต่ที่นอนมาแน่คือ ชัยธวัช ...๐

งานนี้จึงไม่แปลกใจที่ “หัวหน้าพรรคก้าวไกล” ถึงยังห้าวเป้งอยู่ แม้จะบอกว่าการสู้คดียากกว่าคดีอื่น แต่ก็ยังมิวายสำทับ “การยุบพรรคการเมืองโดยอ้างเหตุผลเรื่องการล้มล้างการปกครอง การเซาะกร่อนบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ เรื่องนี้มีความละเอียดอ่อน อาจจะเป็นเรื่องที่เซาะกร่อนบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ในด้านกลับก็ได้” สังคมก็เลยสงสัยกันอย่างมาก ใครกันแน่ที่เป็นคนดึงสถาบันมาตั้งแต่ต้น แล้วพอจะมาถึงบทอวสาน “ชัยธวัช” ก็ยังมิวายที่จะพยายามฟาดงวงฟาดงาไปพัวพันอีก ...๐

หาก “ชัยธวัช” และพรรคก้าวไกลยืนยันว่าใจบริสุทธิ์ไม่มีอะไรแอบแฝงจริง ทำไมไม่กล้าโผล่ไปเรียกร้องหรือ ไปเป็นนายประกันให้ปล่อยตัว “ตะวัน-แฟรงค์” เหมือนในอดีตที่ร้องแรกแหกกระเชอในยุค “ลุงตู่” กันบ้าง ทั้งที่ยุคนี้เป็นยุคประชาธิปไตยเบ่งบานมิใช่เหรอ ที่สำคัญเรื่องตัดสิทธิทางการเมือง 10 ปีจริงๆ แล้วก็แค่ไม่ได้ไปหย่อนบัตรเลือกตั้งต่างๆ เท่านั้น เพราะเห็นกันจะจะว่าสามารถตั้งกลุ่มเป็นก๊วน แล้วยัง ส่งตัวแทนลงชิงเก้าอี้การเมืองในสนามท้องถิ่นตั้งแต่ระดับเล็กจนถึงระดับใหญ่ได้ นี่ยังไม่นับรวมการไปเป็นผู้ช่วยหาเสียงหรือเป็นกรรมาธิการในคณะต่างๆ ที่ใครเคยบอกว่าตัดสิทธิทางการเมืองก็เหมือนโทษประหารชีวิตนั้น ก็ต้องบอกตอแหลได้โล่เท่านั้น ...๐

 พูดถึงเรื่องก้าวไกลแล้ว ก็ต้องเอ่ยชม การทำงานของ กมธ.ต่างๆ ที่คน ก.ก.เป็นประธาน ซึ่งมีมาตรฐานสูงกว่าพรรคอื่นๆ อยู่ระดับหนึ่ง แต่ก็อดสงสัยในเรื่อง 2 มาตรฐานไม่ได้ โดยเฉพาะ กมธ.ทหารที่มีตัวตึงอย่าง “วิโรจน์ ลักขณาอดิศร” สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธาน กมธ. ในเรื่อง การตรวจสอบ “ใบดำ-ใบแดง” ของ “จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์” สส.ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล ซึ่งอ้างว่าเรื่องอยู่ชั้นสอบสวนของตำรวจ ต้องปล่อยให้เป็นการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ เพราะหากดำเนินการ กมธ.ทหารจะสุ่มเสี่ยงมาก แหม! หรือว่าเป็นเพราะมีชื่อคนพรรคเดียวกันเลยไม่ต้องกระทุ้งกระตุ้นว่าเรื่องไปถึงไหน ปล่อยให้เรื่องเรื่อยๆ มาเรียงๆ กันจ๊ะ แล้วที่วงการกาแฟเขาสงสัยกันว่า หากตำรวจชี้มูลว่า ผิดจริง หรือเป็นใบ สด.43 ปลอมขึ้นมานั้น กมธ.ทหารจะมีการชงเรื่องว่าด้วยจริยธรรมกับ “จิรัฏฐ์” หรือไม่อย่างไรจ๊ะตัวตึง …๐ ทิ้งท้ายด้วยโครงการโลกแทบลืมไปแล้วอย่าง “ดิจิทัลวอลเล็ต” 10,000 บาท เพราะหลังประชุมคณะกรรมการชุดใหญ่เมื่อวันที่ 15 ก.พ.2567 โดยซื้อเวลาให้ไปศึกษา 30 วันนั้น นับเนื่องมาถึงปัจจุบันก็ใกล้ครบกำหนดอยู่รอมร่อแล้ว ก็ไม่เห็นมีความคืบหน้าอย่างไรปรากฏออกมาเลย ไม่ใช่ว่าเมื่อถึง 15 มี.ค.นี้จะขอต่ออายุออกไปเรื่อยๆ นะพ่อคุณเศรษฐา ทวีสิน ...๐

 

ท.ศักดิ์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บันทึกหน้า 4

เลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เพชรบุรี นครศรีธรรมราช และอุดรธานี เมืองหลวงคนเสื้่อแดง 24 พฤศจิกายน ภาพรวมผู้ใช้สิทธิ์บางตา ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของการเลือกตั้งท้องถิ่นที่ประชาชนให้ความสนใจน้อยกว่าการเลือกตั้ง สส. เพียงแต่การเลือกตั้งนายก อบจ.ในครั้งนี้

บันทึกหน้า 4

22 พ.ย. ลุ้น ผลการประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะ “รับ-ไม่รับ” คำร้องของ “ธีรยุทธ สุวรรณเกษร” ให้ “ทักษิณ ชินวัตร” และ “พรรคเพื่อไทย” หยุดพฤติการณ์ล้มล้างการปกครอง จาก 6 กรณี ดังนี้ หนึ่ง “ทักษิณ” ไม่ยอมติดคุกแม้แต่วันเดียว

บันทึกหน้า 4

ต้องเรียกว่า “พุธพิพากษา” ของแท้ โดยเฉพาะศาลอาญาที่ได้อ่านคำพิพากษาคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 5 และมารดาผู้เสียชีวิตร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้อง “สรารัตน์ รังสิวุฒาภรณ์” หรือ “แอม ไซยาไนด์” อายุ 36 ปี

บันทึกหน้า 4

ควันหลงการหาเสียงเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ที่ นายทักษิณ ชินวัตร ในฐานะผู้ช่วยหาเสียง นายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครนายก อบจ. สังกัดพรรคเพื่อไทย (พท.)

บันทึกหน้า 4

สมรภูมิเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ในวันที่ 24 พ.ย. ไม่เพียงแค่ชัยชนะของพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชนในสนามท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังเป็นการหยั่งกระแสของทั้งสองฝ่ายในเวทีใหญ่ทางการเมืองอีกด้วย โดยเฉพาะทัพแดงนั้นแพ้ไม่ได้

บันทึกหน้า 4

บันทึกในวันครึ้มฟ้าครึ้มฝนจากผลกระทบปลายๆแถวพายุหม่านยี่ เสียงฟ้าร้องฟ้าคะนองอาจจะไม่มี แต่เสียงอื้ออึง "ทักษิณ" กลับมาแล้ว