ชื่อของ Transnistria โผล่มาเป็นข่าวในช่วงนี้เพราะเกิดความเคลื่อนไหวขอให้รัสเซียมา “ปกป้อง” ตนจากภัยคุกคามของประเทศ Moldova
กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาเพราะที่ตั้งและประวัติทางการเมืองของดินแดนนี้โยงกับสงครามยูเครนระหว่างรัสเซียกับยูเครนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดินแดนนี้ประกาศแยกตัวออกจาก Moldova ตั้งแต่ 1991 แต่ไม่มีประเทศไหนรับรองอย่างเป็นทางการว่าเป็นรัฐอิสระ
ประชากรมีกว่า 4 แสนคนแต่กว่าครึ่งมีเชื้อสายรัสเซีย
มีทหารรัสเซียประจำการอยู่ประมาณ 1,500 คนเรียกเป็น “หน่วยรักษาสันติภาพ”
แต่ไหนแต่ไรไม่เคยมีการเรียกประชุม “รัฐสภา” ของดินแดนแห่งนี้ แต่สัปดาห์ก่อนมีการลงมติเป็นกรณีพิเศษ
มีมติว่าขอให้รัสเซียมาดูแลความปลอดภัยของตนเพราะรัฐบาล Moldova กดดันบังคับด้วยการออกกฎหมายเก็บภาษีขาเข้าขาออก
ซึ่งถูกตีความว่าเป็นการจงใจบีบบังคับให้ยอมจำนน
ที่ผู้คนกังวลนั้นไม่ใช่ประเด็นการประกาศแยกตัวของดินแดนนี้แต่หวั่นเกรงกันว่าที่นี่อาจกลายเป็น “จุดวาบไฟ” ครั้งใหม่ในความขัดแย้งระหว่างมอสโกกับยูเครน
ความจริง ดินแดนบางส่วนของ Tranistria ถูกควบคุมโดยพฤตินัยโดยกองกำลังที่สนับสนุนรัสเซียนับตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตปี 1991 แล้ว
แต่ได้รับการยอมรับในระดับสากลว่าเป็นส่วนหนึ่งของมอลโดวา
การลงมตินัดพิเศษเมื่อสัปดาห์ก่อนเป็นการประชุมครั้งที่ 7 ในประวัติศาสตร์
สมาชิกสภานิติบัญญัติของดินแดนแห่งนี้มีมติขอให้รัฐสภารัสเซีย "ปกป้อง" ทรานส์นิสเตรียจากแรงกดดันของมอลโดวาที่เพิ่มขึ้น
พวกเขากล่าวว่ารัฐบาลมอลโดวาที่มีเมืองหลักคือ Chișinău ได้เปิด “สงครามทางเศรษฐกิจ” กับเมืองทรานส์นิสเตรีย โดยขัดขวางการนำเข้าที่สำคัญโดยมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนให้กลายเป็น “สลัม”
“ประชาคมระหว่างประเทศไม่สามารถเพิกเฉยต่อการตัดสินใจของสภาคองเกรสในปัจจุบันได้” วิตาลี อิกเนติเยฟ หัวหน้านโยบายต่างประเทศของสาธารณรัฐที่ประกาศแยกตัวออกมาประกาศกลางที่ประชุม
แต่รัฐบาลมอลโดวาตอบโต้ว่าการเรียกร้องการคุ้มครองเป็นเพียง "การโฆษณาชวนเชื่อ" เพื่อสร้างสถานการณ์เท่านั้น
รัฐบาล “ปฏิเสธคำโฆษณาชวนเชื่อที่มาจาก Tiraspol (เมืองหลักของ Tranistria) และระลึกว่าภูมิภาคทรานส์นิสเตรียนได้รับประโยชน์จากนโยบายสันติภาพ ความมั่นคง และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจกับสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพลเมืองทุกคน” โอเล็ก เซเรเบรียน รองนายกรัฐมนตรีมอลโดวาเขียนบน Telegram
รัสเซียออกข่าวแสดงความเห็นอกเห็นใจประชาชนชาวทรานส์นิสเตรีย
ด้วยการบอกว่าความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยในดินแดนนี้เป็นเรื่องสำคัญและรัสเซียจะไม่นิ่งดูดาย
“การปกป้องผลประโยชน์ของผู้อยู่อาศัยใน Transnistria ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมชาติของเรา เป็นหนึ่งในลำดับความสำคัญของเรา” สำนักข่าวของรัฐรัสเซียอ้างกระทรวงการต่างประเทศประกาศ
จังหวะที่ข่าวนี้ดังขึ้นมามีความสำคัญทางการเมือง
เพราะเกิดขึ้นเพียงหนึ่งวันก่อนที่ประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน จะต้องกล่าวปราศรัยประจำปีต่อหน้าสมาชิกสภานิติบัญญัติของรัสเซีย
และในขณะที่ยูเครนเผชิญกับความเพลี่ยงพล้ำในสนามรบหลายจุด
ดินแดนแห่งนี้ไม่ค่อยได้ประชุม “รัฐสภา” นัก
ครั้งสุดท้ายที่มีการเรียกประชุมคือปี 2006 หรือ 18 ปีก่อน
เป็นปีที่มีการประกาศการลงประชามติเพื่อเสนอให้บูรณาการกับรัสเซีย
ผลการลงคะแนนเสียงส่งผลให้ได้รับเสียงข้างมากอย่างท่วมท้น
การเรียกร้องความช่วยเหลือจากมอสโกครั้งนี้ทำให้เกิดการเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ปี 2022 เมื่อกลุ่มติดอาวุธที่ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียในยูเครนตะวันออกเรียกร้องให้มีการคุ้มครองจากสิ่งที่พวกเขาเรียกว่าเป็นการ “โจมตีอย่างไม่หยุดยั้งด้วยอาวุธ” โดยกองกำลังของยูเครน
มอลโดวากล่าวหาว่าเครมลินเป็นผู้จุดชนวนความตึงเครียดในทรานนิสเทรีย
ซึ่งเป็นภูมิภาคที่พูดภาษารัสเซียเป็นหลักและต้องอาศัยการสนับสนุนอย่างมากจากมอสโก
นับตั้งแต่มอสโกเริ่มโจมตียูเครนเต็มรูปแบบ โมโดลวาก็มีความกังวลว่าเครมลินอาจใช้ทรานสนิสเตรียเพื่อเปิดแนวรบใหม่ทางตะวันตกเฉียงใต้ ในทิศทางของโอเดสซา
ภูมิภาคเล็กๆ แห่งนี้สั่นสะเทือนด้วยเหตุระเบิดที่ไม่สามารถอธิบายได้ในปี 2022 ซึ่งนักวิเคราะห์ทางทหารเชื่อว่าอาจเป็นความพยายามของรัสเซียในการลากภูมิภาคนี้เข้าสู่ความขัดแย้ง
จากนั้นในเดือนมีนาคม ปี 2023 ผู้นำที่สนับสนุนรัสเซียของทรานส์นิสเตรียกล่าวหาว่ายูเครนพยายามลอบสังหารผู้นำของกลุ่มนี้
ยูเครนปฏิเสธทุกข้อหา
รัสเซียเตือนยูเครนและมอลโดวาว่าถ้ามีการโจมตีดินแดนแห่งนี้จะส่งผลร้ายแรงตามมา
รัสเซียเป็นกำลังสำคัญในการอุ้มชูเศรษฐกิจของทรานส์นิสเตรียด้วยการจัดหาก๊าซให้
แต่ดูเหมือนผู้นำของดินแดนแห่งนี้จะเริ่มรู้สึกถูกโดดเดี่ยวจากมอสโกมากขึ้นนับตั้งแต่ความขัดแย้งในยูเครน
จึงมีการวิเคราะห์กันว่าเรื่องร้อน ๆ ที่เกิดขึ้นตอนนี้อาจจะเป็นความพยายามจะเรียกร้องความสนใจของดินแดนเล็ก ๆ แห่งนี้จากมอสโก
ด้วยจุดที่ตั้งของทรานส์นิสเตรียที่ตั้งอยู่ระหว่างยูเครนกับโมลโดวา (ซึ่งมีความโอนเอียงไปทางสหภาพยุโรปและต่อต้านรัสเซีย) จึงทำให้เกิดความเปราะบางของสถานการณ์ที่สร้างความแปรปรวนให้กับสงครามใหญ่ข้างบ้านได้อย่างน่าสนใจ!
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ