ต้องลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศโลก นำไปสู่ภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรง ก่อให้เกิดการเผชิญหน้ากับปัญหาด้านสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมของคนทั่วโลก ดังนั้นปัญหาภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ทั่วโลกตื่นตัวและเริ่มมองหาทางออกที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ส่งผลให้ “พลังงานสะอาด” เริ่มถูกพูดถึงและเป็นที่สนใจในวงกว้าง ว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำคัญที่จะช่วยยับยั้งการเกิดวิกฤตโลกร้อนได้อย่างยั่งยืน

ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ในอนาคตข้างหน้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) หรือ GHG จะกลายมาเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนในการดำเนินธุรกิจและกำลังส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันในระยะข้างหน้า ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยกำลังพิจารณา พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ พ.ร.บ. Climate Change ที่คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปี 2567

ซึ่งจะมีการนำภาษีจากการปล่อย GHG หรือภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) มาใช้เพื่อควบคุมปริมาณการปล่อย GHG ของภาคอุตสาหกรรม ในขณะที่ในต่างประเทศ ธุรกิจส่งออกจะได้รับแรงกดดันจากมาตรการ EU-CBAM ที่จะมีผลบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในปี 2569 และจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมจากสินค้าที่มีการปล่อย GHG สูง

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า สัดส่วนการปล่อย GHG ในประเทศไทยส่วนใหญ่มาจากการใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติ น้ำมันและถ่านหิน ในการผลิตไฟฟ้า ขนส่ง การผลิต และจากกระบวนการในภาคอุตสาหกรรม จากกระบวนการผลิต เช่น CO2 จากการผลิตซีเมนต์ NO2 จากการผลิตปุ๋ย เป็นต้น โดยมีสัดส่วนสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก

นอกจากนี้ยังพบความเข้มข้นของการปล่อยคาร์บอน หรือ Emission Intensity ของบริษัทจดทะเบียนไทยในภาคสาธารณูปโภคและภาควัสดุ มีความเข้มข้นของการปล่อย GHG สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก โดยในภาคสาธารณูปโภคมีการผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลจากก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก่อให้เกิด GHG โดยสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าในประเทศจากพลังงานหมุนเวียนมีเพียง 7% เทียบกับทั่วโลกที่ 17% ส่วนบริษัทจดทะเบียนไทยในภาควัสดุที่มีการปล่อยมลพิษ เช่น การผลิตซีเมนต์ ปุ๋ย เหล็ก เป็นต้น

 อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังระบุว่า การผลิตซีเมนต์มีความเข้มข้นคาร์บอนมากที่สุดและสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก เนื่องจากกระบวนการผลิตมีการปล่อย GHG และยังไม่สามารถหากระบวนการหรือวัตถุดิบมาทดแทนเพื่อลด GHG ได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยเทคโนโลยีที่จะช่วยลดการปล่อยมลพิษของการผลิตซีเมนต์ ได้แก่ เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน หรือ CCUS ซึ่งจะใช้กระบวนการทางเคมีในการดักจับ CO2 ไม่ให้ออกสู่อากาศภายนอก แต่เทคโนโลยีดังกล่าวยังอยู่ในขั้นทดลองและใช้เงินลงทุนสูง อีกทั้งทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัว จึงยังไม่คุ้มค่าที่จะนำมาใช้

ในขณะที่การผลิตวัสดุอะลูมิเนียม เหล็ก ปุ๋ย เคมีเกษตร บรรจุภัณฑ์โลหะและแก้วของบริษัทจดทะเบียนไทย มีความเข้มข้นคาร์บอนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยโลก เนื่องจากการผลิตวัสดุดังกล่าวเป็นกระบวนการผลิตขั้นกลางและปลาย เมื่อเทียบกับปริมาณ GHG ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการต้นทาง

อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ธุรกิจในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า ได้แก่ กลุ่มโรงไฟฟ้า ซีเมนต์ เหล็ก ปุ๋ย และอะลูมิเนียม จะเผชิญกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดจากมาตรการของไทยและต่างประเทศ จาก พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ต้องรายงานปริมาณการปล่อย GHG ในขณะที่ในระยะยาว แรงกดดันด้านนโยบายจะรุนแรงมากขึ้นจากการการเก็บภาษีคาร์บอนในประเทศ การจ่ายค่าธรรมเนียม EU-CBAM

โดยภาครัฐควรแก้ไขกฎระเบียบเพื่อเปิดเสรีด้านพลังงานไฟฟ้า ส่งเสริมการลงทุนด้านพลังงานสะอาด ให้เงินทุนสนับสนุนงานวิจัยสำหรับภาคอุตสาหกรรม และนำ Carbon Tax มาใช้ เพื่อจูงใจให้ธุรกิจและผู้บริโภคหันมาใช้สินค้า GHG ต่ำเช่นเดียวกับภาคเอกชนจะต้องลดการใช้จากเชื้อเพลิงฟอสซิล หันมาใช้ไฟฟ้าจากพลังงาน และใช้วัสดุ GHG ต่ำ หรือใช้วัสดุหมุนเวียน.

 

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร