จากประเด็นดรามาเรื่อง กางเกงช้าง ที่รัฐบาลต้องการผลักดันให้เป็นสินค้าซอฟต์พาวเวอร์ของไทย แต่ปรากฏเพิ่งถึงบางอ้อว่า สินค้าดังกล่าวที่วางจำหน่ายกันกลาดเกลื่อนเมืองไทย ที่แท้กว่า 70% ที่ขายนั้นเป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากประเทศจีน
ต้องยอมรับจริงๆ ว่า การแข่งขันทางการค้าในปัจจุบัน ผู้ประกอบการไทยนั้นไม่สามารถต่อกรกับคู่แข่งที่มาจากประเทศจีนได้ ด้วยเงื่อนไขหลากหลายประการ โดยเฉพาะเรื่องของต้นทุนการผลิตที่ทำได้ถูกกว่าผู้ประกอบการของไทยมาก
ยังไม่นับรวมข้อได้เปรียบในเรื่องการทำ FTA ที่ไม่มีกำแพงภาษีสินค้านำเข้า รวมถึงการเปิดเขตปลอดอากร (Free Zone) ที่ได้รับยกเว้นการจัดเก็บอากร ทำให้มีผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าจากจีนเข้ามาเก็บไว้ที่นี่เพื่อรอเวลาปล่อยออกมาขาย ทำให้ได้เปรียบผู้ประกอบการชาวไทยมาก
และเมื่อมาดูเรื่องดุลการค้าระหว่างกัน พบว่า ในปัจจุบันไทยเสียเปรียบดุลการค้าจีนอย่างมหาศาล และเพิ่มขึ้นทุกปี จนล่าสุดตัวเลขมาอยู่ที่ขาดดุล 40,000 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 1.4 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว
ตัวเลขนี้ไทยเรามีแต่เสียกับเสีย เพราะยิ่งแข่งยิ่งแพ้ และไม่แน่ในอนาคตผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยจะตายเรียบ
โดยล่าสุด ผลการศึกษาของศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ยอดขายปลีกปี 2567 จะมีมูลค่าประมาณ 4.1 ล้านล้านบาท โดยยังคงมีแรงหนุนมาจากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และราคาสินค้าบางรายการที่น่าจะยังปรับเพิ่มขึ้น แต่สิ่งที่น่าห่วงคือ ผู้ผลิตสินค้าไทยต้องแข่งขันรุนแรงกับสินค้านำเข้า โดยเฉพาะจากจีน ซึ่งในปี 2566 ไทยนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจากจีนมูลค่า 469,521 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.8% หรือมีสัดส่วนราวร้อยละ 41 ของการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหมด
สำหรับสินค้าจีนที่ทะลักเข้าหลักๆ มีด้วยกัน 5 กลุ่ม คือ เครื่องใช้ไฟฟ้า มีสัดส่วนมูลค่าประมาณ 43.3% ของมูลค่านำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหมดจากจีน รองลงมาได้แก่ ผักผลไม้สดและปรุงแต่ง 10.0% เสื้อผ้าและรองเท้า 9.3% และเครื่องใช้ในบ้านและของตกแต่ง 9.1%
จะเห็นได้ว่า แม้ตลาดค้าปลีกในภาพรวมจะยังเติบโต แต่การแข่งขันสูงจากสินค้านำเข้า ทำให้ผู้ผลิตสินค้าไทยจะยังอยู่ในสถานการณ์การดำเนินธุรกิจที่ยากลำบากเช่นเดิม และถึงเวลาแล้วที่ ภาครัฐ ในฐานะคนที่ถือกุญแจเปิดให้สินค้าจีนทะลักเข้ามา จะต้องเป็นผู้แก้ไข ก่อนที่จะสายจนเอสเอ็มอีของเราล่มสลายตายไปหมด
ล่าสุด สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยหารือพาณิชย์ ชง 6 ด้านแก้ปัญหาสินค้าจีนทะลัก ซึ่งประกอบไปด้วย 1.ภายใต้กรอบข้อตกลงทางการค้าไทย-จีน และการส่งเสริมการลงทุน (FTA & BOI) ควรทบทวนอัตราภาษีนำเข้ารายกลุ่มสินค้าที่ไทยเสียเปรียบ ซึ่งต้องไม่ให้จนเกิดผลกระทบกับผู้ประกอบการไทย ทั้งสิทธิประโยชน์ทางภาษีและที่ไม่ใช่ภาษี
2.การบังคับใช้กฎหมายการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจการค้ากับนักธุรกิจจีนหรือนอมินีให้ทำการค้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
3.การส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจและเกษตรกรไทยลดการนำเข้าจากจีน เน้นเศรษฐกิจพึ่งพาตนเอง
4.ส่งเสริมสินค้าไทยสร้างนวัตกรรมและแบรนด์เจาะตลาดออนไลน์จีน เพื่อขยายการเติบโตการค้าออนไลน์กับจีน
5.การบังคับใช้มาตรฐานสินค้าและการกำกับตรวจจับดำเนินคดีให้ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเท่าเทียมกัน
6.จัดตั้งองค์กร Public Private Partnership ขับเคลื่อนความร่วมมือรัฐ รวมซื้อรวมขายสินค้าเกษตร OTOP SME เป็นต้น เพื่อสร้างอำนาจการต่อรองสินค้านำเข้า
นี่คือแนวทางที่เอกชนอยากให้รัฐบาลช่วยดำเนินการ และถึงเวลาแล้วที่จะต้องเร่งแก้ปัญหา ก่อนที่ธุรกิจไทยจะเละเป็นซากไปมากกว่านี้.
ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เคาต์ดาวน์ปลอดภัยส่งท้ายปี
เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2568 เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข เป็นวาระแห่งการเริ่มต้นใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยพลังและความหวัง โดยในปีนี้สถานที่จัดงาน Countdown ทั่วประเทศไทยหลายหน่วยงานได้เตรียมกิจกรรมไว้ให้ทุกคนได้ร่วมสนุกและสัมผัสความงดงาม
แชร์มุมมอง‘อินฟลูเอนเซอร์’ในตลาดอาเซียน
การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มายาวนาน แต่กลยุทธ์การทำการตลาดของแต่ละแบรนด์นั้นล้วนแตกต่างกันไป ล่าสุด วีโร่ ได้เปิดตัวเอกสารไวต์เปเปอร์ฉบับใหม่ในหัวข้อ “ผลกระทบ
ของขวัญรัฐบาล
อีกไม่ถึง 2 สัปดาห์ก็จะเข้าสู่ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แล้ว ก็เป็นธรรมเนียมของรัฐบาลและ ครม.ที่จะมีมาตรการเป็นของขวัญมอบให้กับประชาชน ซึ่งการประชุม ครม.ล่าสุดเริ่มมีการเคาะมาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือประชาชนกันแล้ว
ยกระดับธุรกิจไทยแข่งขันเวทีโลก
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ EXIM BANK คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 3% ด้วยแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐ
ปี68ธุรกิจบริการอาหารยังโตต่อเนื่อง!
“ธุรกิจบริการอาหาร” ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับตาในปี 2568 จากอานิสงส์ท่องเที่ยวที่กลับมาฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง ซึ่งส่งผลให้การบริโภคอาหารน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันภาครัฐยังมีการอัดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.
ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก