อีก 10 เดือนจึงจะเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ แต่ความสั่นไหวอันเกิดจากวาทะดุเดือดของการหาเสียงของโดนัลด์ ทรัมป์ก็สร้างความสั่นสะเทือนไปทั่วโลกแล้ว
คนที่กำลังจับจ้องทุกความเคลื่อนไหวของทรัมป์ ไม่ใช่เพียงแค่คู่แข่งอย่างประธานาธิบดีโจ ไบเดนเท่านั้น
แต่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนก็คงจะเฝ้ามองอย่างใกล้ชิดทุกฝีก้าวเช่นกัน
เพราะทรัมป์เคยเปิด “สงครามการค้า” กับจีนมาแล้วเมื่อคราวเข้าไปนั่งทำเนียบขาว
คราวนี้ แม้ทรัมป์จะบอกว่าไม่ได้คิดจะประกาศสงครามการค้ากับจีน แต่ก็จะเดินหน้าลด “ความเสียเปรียบทางการค้า” กับจีน
วันอาทิตย์ที่ผ่านมา ทรัมป์ให้สัมภาษณ์ช่อง Fox News ว่า เขาจะพิจารณาจัดเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 60% หากเขาสามารถยึดตำแหน่งประธานาธิบดีคืนได้
เป็นวาทะที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ความตึงเครียดในความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและด้านอื่น ๆ ระหว่างสหรัฐฯ กับจีนกำลังพุ่งสูงเสียด้วย
ทรัมป์ถูกพิธีกร Maria Bartiromo จาก Fox News ถามในรายการ Sunday Morning Futures จะพิจารณาจัดเก็บภาษี 60% สินค้านำข้าวจากจีนตามที่ The Washington Post รายงานก่อนหน้านี้หรือไม่
“ไม่ ผมอาจเก็บภาษีสินค้าจีนสูงกว่านั้นอีกด้วยซ้ำ”
ไม่ใช่เรื่องเหลือเชื่อสำหรับทรัมป์ในอันที่จะทำอะไรโผงผางอย่างนั้น
เพราะเมื่อตอนเป็นประธานาธิบดีรอบก่อน ทรัมป์ประกาศอัตราภาษี 25% สำหรับสินค้าจีนรวมมูลค่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561
ปักกิ่งตอบโต้ด้วยการเพิ่มอัตราภาษีต่อสินค้านำเข้าจากอเมริกาเช่นกัน
กลายเป็นความสับสนวุ่นวายจนกระทั่งทั้งสองมหาอำนาจบรรลุข้อตกลงในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่อนคลายลงบ้าง
แต่พอไบเดนเข้าบริหารประเทศก็ยังคงเก็บมาตรการด้านภาษีต่อสินค้าจีนของทรัมป์ไว้เป็นส่วนใหญ่
แต่ทรัมป์ก็ยังอุดมไปด้วยลูกเล่นเหมือนเดิม
ขณะที่บอกว่าจะขึ้นภาษีสินค้าจากจีนอย่างหนักหน่วง แต่ก็แสดงความชื่นชมสี จิ้นผิงอย่างออกนอกหน้าเช่นกัน
ทรัมป์บอกว่าสี จิ้นผิง “เป็นเพื่อนที่ดีมากของผมระหว่างที่ผมอยู่ในตำแหน่ง”
อีกทั้งยังเสริมว่า “ผมอยากให้จีนประสบความสำเร็จ ผมเชื่ออย่างนั้นจริง ๆ นะ”
มีใครเชื่อสักกี่คนก็ยังน่าสงสัย
พิธีกรอย่างรู้ว่าทรัมป์จะเข้าแทรกแซงหรือไม่ในกรณีที่จีนพยายามจะเข้ายึดไต้หวันด้วยกำลัง
“ผมไม่พูดเพราะถ้าผมแบไต๋เรื่องนี้ก็เท่ากับทำลายความสามารถในการเจรจาต่อรองของผมกับจีนซิ”
มาวันนี้ ผู้นำเอเชียส่วนใหญ่เริ่มต้องวางแผนตั้งรับสถานการณ์ที่ทรัมป์จะกลับมาบริหารประเทศสหรัฐฯอีกครั้งหนึ่ง
การตั้งรับเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะการคาดเดาทิศทางของสหรัฐฯภายใต้การนำของทรัมป์เป็นเรื่องที่เกือบจะเป็นไปไม่ได้เลย
หากจะถามว่าประเทศไทยเราต้องเตรียมการอย่างไรในกรณีที่ไบเดนแพ้เลือกตั้งให้ทรัมป์ ก็ต้องมองไปรอบ ๆ ก่อนว่ามีประเทศไหนบ้างที่ต้องเจอกับการปรับตัวหากการเมืองอเมริกันเกิดการปรับเปลี่ยนใหญ่อีกครั้ง
นอกจากจีนแล้วก็คืออินเดีย
นายกรัฐมนตรีอินเดีย นเรนทรา โมดี เยือนสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้วในฐานะแขกทางการ
โมดีมีข้อตกลงกับไบเดนที่จะกระชับความสัมพันธ์ในประเด็นต่างๆ มากมาย รวมถึงการทหาร
แต่หากทรัมป์มานั่งทำเนียบขาว อินเดียก็ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่กับวอชิงตันกันเลยทีเดียว
ทรัมป์มองอินโดแปซิฟิก (ที่มีคำว่า “อินโด” ที่หมายถึงอินเดีย) อย่างไรจะเป็นปัจจัยตัดสินที่สำคัญ
ทรัมป์จะให้ความสำคัญกับประเด็นทางสังคมและสิทธิมนุษยชนน้อยลง
ซึ่งก็อาจทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-อินเดียซับซ้อนขึ้น
รัฐบาลโมดีถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงกลยุทธ์ที่เข้มแข็งเพื่อปิดปากผู้เห็นต่าง
แม้แต่ไบเดนก็หลีกเลี่ยงที่จะ “จับผิด” โมดีเรื่องนี้เพราะมีผลประโยชน์ที่ใหญ่กว่าที่ต้องพิจารณา
อินเดียวางตำแหน่งตัวเองเป็นผู้นำกลุ่มซีกโลกใต้หรือ The Global South
และจะมีการเลือกตั้งทั่วไปภายในเดือนพฤษภาคม
โดยที่คาดกันว่าโมดีจะชนะการเลือกตั้งสมัยที่ 3
แต่สำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งรวมถึงไทยแล้วก็อาจเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นในการเข้าข้างในการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์
อาจพูดได้ว่าไม่มีคำว่า “เส้นทางสายกลาง” สำหรับอาเซียนในการคบหามหาอำนาจ
ทรัมป์และสี จิ้นผิงจะพยายามดึงเอาอาเซียนมาเป็นพวกให้มากที่สุด
ซึ่งก็จะยิ่งสร้างความผันผวนในการบริหารยุทธศาสตร์ของอาเซียนต่อสองมหาอำนาจ
ทรัมป์ไม่ใส่ใจว่าประเทศไหนมีความเป็นประชาธิปไตยและตะวันตกแค่ไหน
แต่จะลงรายละเอียดว่าด้วยดุลการค้าระหว่างสหรัฐฯกับประเทศนั้น ๆ และหากอเมริกาเสียดุล เราก็จะเห็นทรัมป์ประกาศมาตรการจัดการอย่างไม่เกรงอกเกรงใจ
และไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ก่อนเก่าแต่อย่างใด
ยุคของไบเดนนั้น สหรัฐฯพยายามที่จะฟื้นคืนอิทธิพลในภูมิภาคนี้ แต่รัฐบาลทรัมป์-2 จะทำให้ความสัมพันธ์แย่ลงอย่างค่อนข้างชัดเจน
นักวิเคราะห์บางคนบอกว่าสำหรับอาเซียน หากทรัมป์กลับมาอีก 4 ปีก็จะเป็น “ฝันร้าย”
เพราะทรัมป์มีความสนใจภูมิภาคนี้น้อยมาก
ดูได้จากที่เขาเคยเข้าร่วมการประชุมสุดยอดสหรัฐฯ-อาเซียนเพียงครั้งเดียวในปี 2560 ซึ่งเป็นปีที่ทรัมป์เพิ่งเข้ารับตำแหน่งใหม่ ๆ
พอไบเดนเข้าทำเนียบขาวก็พลิกนโยบายฉับพลัน
เรียกอาเซียนว่า "ศูนย์กลางของสถาปัตยกรรมระดับภูมิภาค" ในยุทธศาสตร์อินโดแปซิฟิกของเขาที่เผยแพร่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
ในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน ไบเดนเชิญผู้นำอาเซียนมาที่วอชิงตันเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดพิเศษ
ไม่นานหลังจากการประชุมสุดยอด ไบเดนเดินทางเยือนญี่ปุ่นและประกาศการจัดตั้งกรอบเศรษฐกิจอินโดแปซิฟิกเพื่อความเจริญรุ่งเรือง (IPEF) ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มทางเศรษฐกิจใหม่
ด้วยการเชิญสมาชิกอาเซียน 7 รายรวมทั้งไทยให้เข้าร่วมข้อตกลง ยกเว้นเมียนมาร์ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของทหารนับตั้งแต่รัฐประหารปี 2564 และกัมพูชาและลาวซึ่งถูกมองว่าใกล้ชิดกับจีนมากเกินไป
(พรุ่งนี้: รัฐบาลทรัมป์-2 กับอาเซียน)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ