เศรษฐกิจไทยวิกฤตซ้ำรอยต้มยำกุ้ง?

ใครที่ได้ติดตามสภาพเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน หลายคนยังคงสับสนว่า แท้จริงแล้วเศรษฐกิจไทยในปีนี้มันวิกฤตหรือไม่วิกฤตกันแน่ เพราะจากข้อมูลหลายสถาบันออกมาไม่ตรงกัน โดยหากเป็นหน่วยงานจากภาครัฐจะพบว่าตัวเลขที่ออกมาจะต่ำจนน่าตกใจ ส่วนหากเป็นหน่วยงานอิสระ และสถาบันภาคเอกชน ตัวเลขนั้นดีกว่าอีกระดับหนึ่ง

เรียกว่าสร้างความสับสนให้กับผู้คนในสังคมอย่างมาก

ทั้งนี้ในประเด็นดังกล่าว นายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย กล่าวว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยขณะนี้วิกฤตหรือไม่ มองว่าอาจวิกฤตบางส่วน เช่น ภาคการเกษตรจะมีปัญหาจากผลกระทบภัยแล้ง หนี้ครัวเรือนที่มีกลุ่มเปราะบางได้รับความเดือดร้อน ทำให้กำลังซื้อแผ่วลงไป รวมถึงภาคการผลิตยังดูไม่ดีนัก

อย่างไรก็ตาม ภาคส่วนอื่นยังเติบโต โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภายในประเทศสำหรับกำลังซื้อระดับกลางขึ้นบนขยายตัวต่อเนื่อง ดังนั้นเศรษฐกิจไทยขณะนี้จึงเป็นการขยายตัวไม่ทั่วถึง และยังมีปัญหา

ทั้งนี้คาดการณ์การขยายตัวเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ปี 2567 จะขยายตัว 3.1% หรืออาจลดลงที่ 3% หากไม่รวมมาตรการกระเป๋าเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท แต่หากรวมมาตรการดังกล่าวจีดีพีจะขยายตัวเพิ่ม 0.5% ขณะที่ปี 2566 จีดีพีจะขยายตัว 2% ปรับลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ 2.4%

 “เศรษฐกิจไทยปีนี้ยังเป็นมังกร งง เพราะปัจจัยลบส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ทั้งเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ และปัญหาเศรษฐกิจเชิงโครงสร้างในระยะยาว ถ้าขณะนี้ถามว่าเศรษฐกิจวิกฤตหรือไม่วิกฤต ตอบสั้นๆ แบบฟันธงคือวิกฤตเป็นบางส่วน และมีบางส่วนที่ยังไปได้“ นายอมรเทพกล่าว

ขณะที่ นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ แถลงดัชนีเศรษฐกิจการค้า เดือน ม.ค.2567 ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคหรืออัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) ในเดือน ม.ค.2567 เท่ากับ 106.98 หดตัว 1.11% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และต่ำสุดในรอบ 35 เดือน นับตั้งแต่เดือน ก.พ.2564

ด้วยสถานการณ์แบบนี้ ตามหลักทางเทคนิค ไทยนั้นเข้าสู่ภาวะเงินฝืดแล้ว แต่อย่างไรก็ดี ทางกระทรวงพาณิชย์ก็ยังไม่ระบุว่านี่คือภาวะเงินฝืด เพราะสาเหตุที่เงินเฟ้อติดลบเนื่องจากมีมาตรการรัฐเข้าไปแทรงแซงราคา

อย่างไรเรื่องนี้ในมุมของรัฐบาลยอมรับว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในขณะนี้ไม่สู้ดี นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า เวลานี้เรายังอยู่ในช่วงวิกฤตอยู่ ยังไม่ขึ้นมาจากศูนย์เลย เพราะฉะนั้นสถานการณ์ก็เป็นอย่างนี้ เผยให้เห็นว่ายังมีวิกฤตหลายเรื่อง ซึ่งสิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ วิกฤตทางการเงิน เพราะเคยส่งผลกระทบกระเทือนมาแล้ว อย่างในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 2540 พอเรารู้เข้าก็พังทลายทั้งระบบ และเท่าที่ดูนักการเงินก็เป็นห่วงเรื่องนี้ และดูได้จากปัญหาหุ้นกู้

 “ยืนยันว่า หากปล่อยให้เรื่องนี้จนเกิดวิกฤตขึ้นอย่างในช่วงต้มยำกุ้งจะส่งผลเสียหายอย่างรุนแรงต่อประเทศ ผมอยากให้ทุกคนที่อยากจะต่อต้านการกระทำของรัฐบาล ให้คำนึงถึงจุดนี้ด้วย นักเศรษฐศาสตร์หลายคนบอกว่าถ้าไม่ทำอะไรตอนนี้เลย โอกาสที่จะเกิดต้มยำกุ้งจะตามมา” นายภูมิธรรมกล่าว

นีคือ เสียงจากภาครัฐที่พยายามจะบอกว่า เศรษฐกิจไทยน่าห่วง และกำลังวิกฤต และต้องผลักดัน นโยบายดิจิทัลวอลเล็ตให้เกิดขึ้นโดยเร็ว

จะวิกฤต หรือไม่วิกฤตไม่รู้ แต่รัฐบาลย้ำชัดว่า ไทยเจอวิกฤตแน่.

 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร