ชิงอธิการบดีมธ.

อีกไม่นาน หลังจากนี้ ม.ธรรมศาสตร์จะมีอธิการบดีคนใหม่ เชื่อว่าผู้เสนอตัวที่กำลังทยอยเปิดตัว คุณสมบัติคงไม่แตกต่างกันมากนัก แต่สิ่งสำคัญคือ ภาพลักษณ์ของอธิการบดีคนใหม่กับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ เนื่องจากรากเหง้าเคยชื่อว่าม.วิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ในปี พ.ศ.2477 จึงจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการเมือง และเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ความทุกข์ร้อน นำทางและรับใช้ให้ประชาชน

ล่าสุด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์เปิดตัวชิงตำแหน่งอธิการบดีคนใหม่และเป็นคนที่25 

อ.ปริญญา ระบุว่า  ผมจึงขอใช้ช่วงเวลานี้จนถึงวันเสนอชื่ออธิการบดีในวันที่ 22 ก.พ. 2567 ในการเชิญชวนประชาคมธรรมศาสตร์ร่วมกันสร้างนโยบายสาธารณะของมหาวิทยาลัย และเห็นว่าทิศทางหลักของ ม.ธรรมศาสตร์ที่ควรต้องเดินหน้าไป คือทิศทางที่เราเริ่มต้นตั้งแต่ก่อตั้งม.วิชาธรรมศาสตร์และการเมือง

โดยมีกรอบนโยบาย 4 ข้อ1. มหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน : ธรรมศาสตร์ควรต้องกลับไปเป็นธรรมศาสตร์อย่างที่เคยเป็น คือมหาวิทยาลัยที่เป็นบ่อน้ำบำบัดความกระหายของราษฎร ม.ที่สอนนักศึกษาให้รักประชาชน ม.ที่ทำเพื่อประชาชน เอาโจทย์ปัญหาของประชาชน ปัญหาของประเทศ ปัญหาของสังคม ดังเช่นปัญหาความเหลื่อมล้ำ เป็นโจทย์ในการวิจัยและในการเรียนการสอน และกลับไปเป็นผู้นำทางสังคมในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขปัญหา

2.ยุทธศาสตร์ทำดักหน้า : การทำตามหลังไม่อาจทำให้ธรรมศาสตร์ตามไปทันมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกได้ เพราะเราไม่ได้วิ่งเร็วกว่าเขา และต่อให้ไปถึงได้ เขาก็ไปที่อื่นต่อแล้ว การจะทำให้ธรรมศาสตร์ตามทันและแซงได้ ต้องใช้วิธีวิ่งไปดักข้างหน้า คือรู้ทิศทางว่าเขาจะไปไหน เราก็วิ่งลัดไปดักหน้า ซึ่งทิศทางของโลกในขณะนี้มี 3 เรื่องคือ AI สังคมสูงวัย และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

3.พัฒนาศักยภาพทุกคนให้ไปไกลที่สุด : ธรรมศาสตร์คือที่ที่ทุกคนไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา เจ้าหน้าที่ และอาจารย์ จะได้รับการสนับสนุนให้พัฒนาตนเองให้ไปไกลที่สุดเท่าที่จะไปได้ โดยมีความสมดุลทั้งความเป็นเลิศ ความทั่วถึงเท่าเทียม คุณภาพชีวิต และความสุขในการทำงานและการเรียนรู้

4.ผู้บริหารแนวราบ และสร้างประชาธิปไตยในที่ทำงาน : ผู้บริหารธรรมศาสตร์ต้องเป็นผู้นำที่เป็นเพื่อนร่วมงาน ไม่ใช่เจ้านาย สร้างประชาธิปไตยในที่ทำงานซึ่งธรรมศาสตร์จะต้องเป็นผู้นำ

ม.ธรรมศาสตร์”จะไปทางไหน ใครจะเป็นอธิการบดีคนต่อไป อีกไม่นานคงได้ทราบกัน

ช่างสงสัย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใช้ซื้อข้าวมาแล้ว

ตั้งแต่ เศรษฐา ทวีสิน พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไป เนติบริกร-วิษณุ เครืองาม อดีตที่ปรึกษาของนายกฯ หายไปด้วย

อ่อนกว่าวัย

ไม่น่าเชื่อในวันที่ 13 ม.ค. 2568 รัฐมนตรี 17 สมัย อย่าง “สมศักดิ์ เทพสุทิน” รมว.สาธารณสุข จะมีอายุครบ 70 ปี เนื่องจากรูปร่างหน้าตาดูอ่อนกว่าวัยมาก เหมือนกับคนอายุประมาณ 50 ปีเศษเท่านั้น

ขอติดทีมชาติไทย

นักการเมืองไทยรุ่นเก๋าหลายคนบ่นอุบ ยอมรับว่าเปลี่ยนยุคไปไว มีสส.หน้าใหม่เข้าสู่วงการจำนวนมาก ส่วนสส.รุ่นใหญ่นับวันก็จะมีแต่คนโบกมืออำลาวงการ ส่วนใครที่ยังใจรักก็อยู่ทำงานต่อแบบเหงาๆ เพราะเพื่อนที่รุ่นราวคราวเดียวกันก็ออกไปนั่งดูอยู่ห่างๆ แทน

'ลูกชิ้นปลาหมอคางดำ'

เริ่มแล้วกับงานวันรัฐธรรมนูญ ประจำปี 2567 โดยในปีนี้ทางรัฐสภาได้จัดงานภายใต้คอนเซปต์ "กินลม ชมสภา" สู่รัฐธรรมนูญในฝัน ระหว่างวันที่ 9 และ 10 ธันวาคม ซึ่งในวันแรกบรรยากาศสดใส เหล่าข้าราชการ รวมถึงพ่อค้าแม่ค้าต่างมาตั้งร้านขายของกันภายในงาน

แชร์กันใส่เครื่องแต่งตัว

ว่าด้วยเรื่องแฟชั่นการแต่งตัว ทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับ ของผู้นำประเทศ อย่าง “นายกฯอิ๊งค์” แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ส่วนใหญ่เจ้าตัวจะเน้นใส่ผ้าไทยตามสไตล์เจ้าแม่ซอฟต์พาวเวอร์

ถามเรื่องวัดแล้ว

เป็นผู้ใหญ่ใจดี สำหรับ อ.ชู-ชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มือกฎหมายประจำรัฐบาลและประจำค่ายเพื่อไทย