31 มกราคม ศาลรัฐธรรมนูญนัดฟังคำวินิจฉัยคดีที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในฐานะหัวหน้าพรรคก้าวไกลร่วมกันลงชื่อเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เข้าสภา และกรณีพรรคก้าวไกลนำเรื่องการจะแก้ไขมาตรา 112 ไปเป็นนโยบายหาเสียงในช่วงการเลือกตั้งเมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา ที่ร้องโดยนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความอิสระ ว่าเข้าข่าย "ล้มล้างการปกครอง" หรือไม่?
"สมชาย แสวงการ" สมาชิกวุฒิสภา (สว.) เชื่อมีความสุ่มเสี่ยงที่จะถูกวินิจฉัยให้มีความผิด หรือให้ยุติการกระทำตามคำร้อง และอาจนำไปสู่การร้องดำเนินคดีที่หนักขึ้นในก้าวต่อไป ดังนี้
1.คำร้องประกอบหลักฐานนั้นค่อนข้างแน่นหนา ในการชี้ให้เห็นถึงการกระทำต่างๆ ต่อเนื่อง หลังศาลรัฐธรรมนูญที่ 19/2564 สั่งห้ามการกระทำดังกล่าวแล้ว แต่ยังปรากฏการเคลื่อนไหวขององค์กรเครือข่ายต่อเนื่อง อาทิ การกำหนดเรื่องการแก้ไขมาตรา 112 เป็นนโยบายพรรค การเดินสายในเวทีหาเสียงต่างกรรมต่างวาระ การพูดอภิปรายในรัฐสภา การให้สัมภาษณ์สื่อไทยและต่างประเทศ มีการเคลื่อนไหวต่างๆ ที่อาจถูกชี้ให้เห็นว่ามีส่วนร่วมอย่างไม่เป็นทางการในหลายกรณี ที่ชัดเจนต่อสถาบัน ทั้งการเสนอร่างแก้ไขหรือยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่เป็นกฎหมายความมั่นคงคุ้มครองพระประมุข
2.คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 19/2564 ระบุถึงพฤติการณ์และเหตุการณ์ต่อเนื่องจากการกระทําของผู้ถูกร้องแสดงให้เห็น มูลเหตุจูงใจว่าการใช้สิทธิหรือเสรีภาพ มีเจตนาซ่อนเร้นเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ใช่เป็นการปฏิรูป การใช้สิทธิหรือเสรีภาพของผู้ถูกร้องเป็นการแสดงความคิดเห็น โดยไม่สุจริต เป็นการละเมิดกฎหมาย มีมูลเหตุจูงใจเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง และสั่งการให้ผู้ถูกร้องกลุ่มองค์กรเครือข่ายเลิกกระทําการดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตด้วย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคสอง ด้วย แต่ยังปรากฏการกระทำดังกล่าวโดยกลุ่มบุคคลและพรรคการเมืองต่อเนื่องเรื่อยมา ทั้ง 2 ข้อมีน้ำหนักมากที่จะทำให้นายพิธา และพรรคก้าวไกล มีความสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งในคดีนี้ ...๐
แต่มุมมองจากคนในพรรคก้าวไกลไปอีกทาง "พริษฐ์ วัชรสินธุ" โฆษกพรรค ยืนยันความบริสุทธิ์ใจ การยื่นร่างกฎหมายแก้ ม.112 ไม่เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ทั้งในส่วนกระบวนการ และในเชิงเนื้อหา แม้จะมีเนื้อหาบางส่วน ที่บางฝ่ายเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่ไม่ได้มีเนื้อหาส่วนไหนที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการปรับอัตราโทษ หรือเหตุยกเว้นความผิด และโทษ ...๐
คดีนี้ไม่ถึงขั้นยุบพรรค หรือตัดสิทธิทางการเมือง เพราะผู้ร้องคือ "ธีรยุทธ สุวรรณเกษร" ระบุในท้ายคำร้องว่า ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญโปรดมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องทั้งสอง (นายพิธา และพรรคก้าวไกล) หยุดที่จะนำนโยบายยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112 มาใช้เป็นนโยบายในการหาเสียง และขอให้หยุดในการสัมภาษณ์หรือแสดงความคิดเห็นในเรื่อง 112 ไม่ว่าจะต่อสื่อมวลชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
“พูดง่ายๆ ภาษาชาวบ้านคือ ขอให้หยุดเถอะ อย่าก้าวล่วงสถาบันเลย เพราะแม้จะไม่ได้ถึงกับออกปากก้าวล่วง แต่สิ่งที่ดำเนินการทำอยู่ มันจะเป็นการเปิดช่องเปิดโอกาสให้มีผู้ฉกฉวยเอาไปใช้ประโยชน์ในการก้าวล่วงสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็ขอให้หยุดเสียเถอะ” นั่นคือเจตนารมณ์ของนายธีรยุทธ
แต่ทัศนะของนายธีรยุทธ ในฐานะผู้ร้อง ได้ชี้ให้เห็นถึง "ภัย" ที่จะเกิดจากร่างแก้ไข ม.112 ของพรรคก้าวไกล เพราะไม่ใช่การเสนอร่างแก้ไขตามปกติ แต่เป็นลักษณะการเสนอให้ยกเลิก ทางพรรคก้าวไกลอ้างว่า ไม่ได้เป็นการยกเลิก แค่เป็นการย้ายหมวด ซึ่งการย้ายหมวดดังกล่าว จากมาตรา 112 พอย้ายหมวดออกไป ก็จะกลายเป็นมาตราอื่น จนกลายเป็นลักษณะความผิดที่สามารถยอมความได้ และร่างแก้ไข 112 ของพรรคก้าวไกล กำหนดให้ผู้เสียหายที่จะไปแจ้งความดำเนินคดี ก็ให้เพียงแค่ "สำนักพระราชวัง” เพียงหน่วยเดียว อันเป็นการทำให้สถาบันต้องเข้ามามีข้อพิพาทกับราษฎร ซึ่งเป็นหลักการที่ไม่ถูกต้อง ...๐
เริ่มมีการพูดถึงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 19/2564 กันเยอะ คดีนี้ นายณฐพร โตประยูร ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กรณีที่กลุ่มม็อบสามนิ้ว ไปเปิดเวทีปราศรัยและประกาศ 10 ข้อเรียกร้องที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ที่มีเรื่องของการให้ยกเลิกมาตรา 112 ด้วย ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญระบุว่า เป็นเรื่องที่กระทบกระเทือน และส่งผลอันเป็นการกลั่นเซาะ บ่อนทำลาย ฉะนั้นคดีนี้จะเป็นบรรทัดฐานให้คดีที่จะวินิจฉัยในวันที่ 31 มกราคมหรือไม่ จับตาอย่ากะพริบ ...๐
นายชื่น ประชา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บันทึกหน้า 4
“ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด” กลุ่มไม่ไว้วางใจ ทักษิณ ชินวัตร ยังไม่ต้องหมดหวัง หรือหนีไปบวช พักเรื่องการเมือง หลังศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องเหตุล้มล้างการปกครอง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 และจะทำให้บรรดาลิ่วล้อนายใหญ่ตีปีก
บันทึกหน้า 4
เลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เพชรบุรี นครศรีธรรมราช และอุดรธานี เมืองหลวงคนเสื้่อแดง 24 พฤศจิกายน ภาพรวมผู้ใช้สิทธิ์บางตา ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของการเลือกตั้งท้องถิ่นที่ประชาชนให้ความสนใจน้อยกว่าการเลือกตั้ง สส. เพียงแต่การเลือกตั้งนายก อบจ.ในครั้งนี้
บันทึกหน้า 4
22 พ.ย. ลุ้น ผลการประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะ “รับ-ไม่รับ” คำร้องของ “ธีรยุทธ สุวรรณเกษร” ให้ “ทักษิณ ชินวัตร” และ “พรรคเพื่อไทย” หยุดพฤติการณ์ล้มล้างการปกครอง จาก 6 กรณี ดังนี้ หนึ่ง “ทักษิณ” ไม่ยอมติดคุกแม้แต่วันเดียว
บันทึกหน้า 4
ต้องเรียกว่า “พุธพิพากษา” ของแท้ โดยเฉพาะศาลอาญาที่ได้อ่านคำพิพากษาคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 5 และมารดาผู้เสียชีวิตร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้อง “สรารัตน์ รังสิวุฒาภรณ์” หรือ “แอม ไซยาไนด์” อายุ 36 ปี
บันทึกหน้า 4
ควันหลงการหาเสียงเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ที่ นายทักษิณ ชินวัตร ในฐานะผู้ช่วยหาเสียง นายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครนายก อบจ. สังกัดพรรคเพื่อไทย (พท.)
บันทึกหน้า 4
สมรภูมิเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ในวันที่ 24 พ.ย. ไม่เพียงแค่ชัยชนะของพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชนในสนามท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังเป็นการหยั่งกระแสของทั้งสองฝ่ายในเวทีใหญ่ทางการเมืองอีกด้วย โดยเฉพาะทัพแดงนั้นแพ้ไม่ได้