ให้โลหิต.. ให้ชีวิต

เป็นข่าวเล็กๆ แต่ได้บุญใหญ่อักโขเลยทีเดียว เมื่อ "ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ" ปลุกพลังผู้ให้ทั่วประเทศ ชวนบริจาคโลหิตช่วยเหลือผู้ป่วยกับโครงการ “ให้โลหิต ให้ชีวิต ให้ประจำ” ตลอดปี 2567 โดยเพิ่มจำนวนครั้งการบริจาคโลหิตอย่างสม่ำเสมอทุก 3 เดือน หรือปีละ 4 ครั้ง เพื่อให้มีโลหิตสำรองเพียงพอสม่ำเสมอสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลทั่วประเทศ

จากสถิติความถี่การบริจาคโลหิตทั่วประเทศ ปี พ.ศ.2566 จากจำนวนผู้บริจาคโลหิตทั้งหมด  1,606,743 คน พบว่า มีผู้บริจาคโลหิตปีละ 1 ครั้ง มีปริมาณมากถึง 1,057,894 คน คิดเป็นร้อยละ 65.84 ในขณะที่ผู้บริจาคโลหิตปีละ 4 ครั้ง มีจำนวนเพียง 73,770 คน คิดเป็นร้อยละ 4.59 และยังมีผู้บริจาคโลหิตปีละ 2 ครั้ง จำนวน 313,029 คน คิดเป็นร้อยละ 19.48 บริจาคโลหิตปีละ 3 ครั้ง จำนวน 156,052 คน คิดเป็นร้อยละ 9.71 ส่วนผู้บริจาคโลหิตมากกว่า 4 ครั้ง (รวมกับบริจาคส่วนประกอบโลหิตอื่นๆ) จำนวน 5,998 คิดเป็นร้อยละ 0.37

หากมีผู้บริจาคโลหิตบริจาคทุก 3 เดือน หรือปีละ 4 ครั้งเพิ่มมากขึ้น จะทำให้มีโลหิตที่เพียงพอสำหรับผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอตลอดปีค่ะ

มนุษย์ป้าอยากร่วมด้วยช่วยบริจาคใจจะขาดทีเดียว แต่ทางสภากาชาดฯ เขา just say No อย่างเดียว 555 ไม่ใช่เพราะอายุมากเกินบริจาคเป็นปฐมเหตุนะคะ แต่เป็นเพราะมนุษย์ป้าจัดอยู่ในคนประเภทเลือดจาง มีเกล็ดเลือดเล็กผิดปกติ ดังนั้น บริจาคไปก็ใช้เพื่อส่งต่อให้คนอื่นไม่ได้นั่นเอง

ใครที่บริจาคได้ ช่วยกันไปบริจาคนะคะ เพราะเลือดยังคงเป็นยารักษาโรคที่ยังไม่มีนวัตกรรมใดๆ มาทดแทนได้ จึงจำเป็นต้องมีการรับบริจาคโลหิตจากเพื่อนมนุษย์ เพื่อให้ได้มาซึ่งโลหิตสำหรับใช้ในการช่วยชีวิตผู้ป่วย โดยโลหิตที่ได้รับบริจาคร้อยละ 23 นำไปใช้รักษากลุ่มผู้ป่วยโรคเลือด อาทิ โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ฮีโมฟีเลีย เกล็ดเลือดต่ำ เป็นต้น

คุณหมอบอกว่า ในรายที่เป็นชนิดรุนแรงต้องได้รับโลหิตในการรักษาเป็นประจำอย่างน้อยเดือนละ 1-2 ยูนิต หากไม่ได้รับโลหิตผู้ป่วยจะมีภาวะซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน อีกร้อยละ 77 นำไปใช้รักษาผู้ป่วยที่สูญเสียโลหิตเฉียบพลันจากอุบัติเหตุ การผ่าตัด ตกเลือดหลังคลอดบุตร เลือดออกในทางเดินอาหาร เป็นต้น ต้องมีโลหิตสำรองไว้ระหว่างการผ่าตัด 2-3 ยูนิต ในกรณีที่มีอาการรุนแรง 5-10 ยูนิต ถ้าโลหิตไม่เพียงพอต้องเลื่อนการผ่าตัด อาจเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยถึงชีวิตได้  จึงต้องมีการรณรงค์ให้ผู้บริจาคโลหิต เพิ่มความถี่ในการบริจาคโลหิต จากปีละ 1 ครั้ง เป็นปีละ 2 ครั้ง จากปีละ 2 ครั้ง เพิ่มเป็นปีละ 3 ครั้ง จากปีละ 3 ครั้ง เพิ่มเป็น 4 ครั้งต่อปี ก็จะทำให้โลหิตมีปริมาณเพียงพอสำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยได้   สามารถบริจาคโลหิตทั่วประเทศค่ะ..สาธุ.

                                                                          

"ป้าเอง"

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เชียร์ให้สุดใจไปถึง..ชุดนักกีฬา

เห็นข่าววิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากมายว่าด้วยชุดยูนิฟอร์มของนักกีฬาไทยที่จะไปร่วมแข่งขันโอลิมปิกที่กรุงปารีส โดยยึดเอาชุดของประเทศมองโกเลียเป็นตัวเปรียบเทียบ ก็ให้รู้สึกเห็นใจดีไซเนอร์ไทยที่พยายามทำงานออกมาตอบโจทย์ เพื่อการใช้งานของนักกีฬาบ้านเรา

กีฬากับวัยเกษียณ

เทศกาลฟุตบอลยูโรปิดฉากไปเรียบร้อยกับความสมหวัง ความเสียใจ ปะปนกันไป สำหรับคนเชียร์บอล และอีกอย่างที่ลืมไม่ได้คือ ความสะบักสะบอมของร่างกายสังขาร เพราะการดูกีฬาตอนเขาเตะกันสดๆ นั้น อารมณ์ความรู้สึกย่อมแตกต่างจากการไปนั่งดูคลิปย้อนหลังอยู่แล้ว

ประตูน้ำ..ไม่เหลือรอยอดีต

ห่างเหินจากย่านธุรกิจที่เรียกว่า "ประตูน้ำ" เกือบ 1 ทศวรรษ เมื่อวันก่อนกลับไปอีกที เพราะมีภารกิจความจำเป็นที่ต้องไปแวะเวียน ฉะนั้น เมื่อมีโอกาสไปเยือนถิ่นเก่าแต่ดั้งเดิม ก็ต้องตามหา "ของอร่อย" ที่ขึ้นชื่อแถวนั้นสักหน่อย

สังคมอุดมด้วยมิจฯ

ขยันจริงขยันจัง ถ้าให้คะแนนได้ก็คงให้คะแนนเต็ม100 ไม่มีหัก!! ไปเลยสำหรับบรรดา "มิจฉาชีพ" แก๊งคอลเซ็นเตอร์ทั้งหลาย

การจัดการอาหารส่วนเกิน

อ่านไปเจอเรื่องราว สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (SOS) จัดเวทีประชุมรับฟังความเห็น (Public Hearing) ต่อแนวทางการบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน

คำถาม?!?ตามกระแส

rock star ของหลานลิซ่า กลายเป็นกระแสดังไปทั่วหล้า เรียกว่าในโซเชียลออนไลน์ มีภาพยืนกลางถนนเยาวราชอวดกันยกใหญ่ ก็น่าปลื้มอกปลื้มใจแทนซูเปอร์สตาร์ตัวกลั่นสัญชาติไทย