ปัญหาขยะทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการขยายตัวของประชากร เศรษฐกิจ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกเพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน โดยข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ พบว่าประเทศไทยมีขยะพลาสติกประมาณ 12% ของปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด หรือประมาณปีละ 2 ล้านตัน ซึ่งในจำนวนนี้ถูกนำกลับไปใช้ประโยชน์ประมาณปีละ 0.5 ล้านตัน หรือเพียง 25%
ซึ่งขยะเหล่านี้ โดยเฉพาะขยะพลาสติก เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน ที่กำลังสร้างปัญหาทำให้สภาพอากาศแปรปรวนในขณะนี้ ดังนั้นหน่วยงานทั่วโลกจึงให้ความสำคัญที่จะลดขยะพลาสติก ซึ่งก่อนหน้านี้ พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม หรือ สส.
ได้ระบุว่า ผลการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 (COP 28) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือ COP 28 Debrief ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมนี (GIZ) ได้มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ในปี 2050 โดยทั้งโลกต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 43% ภายในปี 2030 และต้องลดถึง 60% ในปี 2035 โดยเทียบกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยในปี 2019
เช่นเดียวกับเป้าหมายของประเทศไทยที่กำหนดว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 40% ภายในปี 2030 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างดี ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวได้ระบุไว้ใน Nationally Determined Contribution (NDC) ฉบับที่ 1 ซึ่งขณะนี้กรมกำลังดำเนินการจัดทำแผน NDC ฉบับที่ 2 โดยจะกำหนดเป้าหมายว่าในปี 2035 ประเทศไทยจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละเท่าไหร่ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายว่าจะไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส
อย่างไรก็ตาม ทีเอ็มบีธนชาต หรือทีทีบี ก็เป็นหนึ่งในภาคเอกชนที่ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวเช่นกัน โดยได้เดินหน้าทำงานภายใต้ปรัชญา Make REAL Change หรือเปลี่ยน…เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น พร้อมตอกย้ำการเป็น "ธนาคารเพื่อความยั่งยืน" มุ่งเดินตามกรอบ B+ESG ผสานธุรกิจและความยั่งยืนเป็นเนื้อเดียวกัน ในการช่วยกันเปลี่ยนขยะจากขวดพลาสติกกว่า 1,700,000 ขวด ผ่านการสร้างสรรค์ไอเทมต่างๆ เพื่อส่งมอบความสุขให้ลูกค้าและโลกอย่างจริงใจ โดยคำนึงถึงความยั่งยืน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และใช้ได้จริง พร้อมเดินหน้าสร้างความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ผ่านผลิตภัณฑ์และบริการที่เข้าใจคุณและโลก
สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากขวดพลาสติกรีไซเคิลหรือเพิ่มคุณค่าให้กับสิ่งที่ไม่ได้ใช้ ได้แก่ กระเป๋าช็อปปิ้งสำหรับใส่ในรถเข็น ผลิตจากขวดพลาสติก 5 ขวด ร่มขนาดพกพา ผลิตจากขวดพลาสติก 8 ขวด ร่มกอล์ฟ ผลิตจากขวดพลาสติก 20 ขวด กระเป๋าหนังรีไซเคิลจากเศษหนังที่ไม่ใช้แล้วมาขึ้นรูปใหม่ และผ้าห่มจากขวดพลาสติก 89 ขวดต่อผืน ผลิตด้วยนาโนเทคโนโลยีช่วยลดอาการภูมิแก้ที่เกิดจากไรฝุ่น
นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากกระดาษรีไซเคิล ผลิตภัณฑ์ในหมวดนี้จะเป็นสมุดโน้ตรักษ์โลก ด้านปกผลิตจากกระดาษรีไซเคิลที่ไม่ฟอกขาว ทำให้ได้สมุดสีน้ำตาลสวยแบบธรรมชาติ ด้านในเป็นกระดาษถนอมสายตาแบบมีเส้น ที่ช่วยให้จดบันทึกได้ง่าย และผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่นอกจากผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุรีไซเคิลแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ในระยะยาว เพื่อลดการใช้หรือซื้อสินค้าใหม่และสร้างขยะเพิ่ม อาทิ กระเป๋ากระดาษสังเคราะห์ น้ำหนักเบา ทนทานต่อการฉีกขาดและกันน้ำ ช่วยลดการใช้ถุงพลาสติก ร่มพับกันแดดหน้ารถยนต์ ทำจากผ้าเคลือบไททาเนียมไดออกไซด์ ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ป้องกันแสงยูวีได้ถึง 98% ช่วยลดอุณหภูมิในรถที่จอดกลางแดดได้มากถึง 60% และกระบอกน้ำสเตนเลสสไตล์มินิมอล ผลิตจากสเตนเลส 304 (Food Grade) เก็บอุณหภูมิร้อนและเย็นได้ 10-12 ชั่วโมง มาพร้อมที่จับกันลื่นและสายสะพายหนัง พกพาง่าย ช่วยลดการใช้ขวดน้ำพลาสติก
ปัญหาโลกร้อนจะแก้ได้ก็ต้องช่วยกันคนละไม้ละมือ.
บุญช่วย ค้ายาดี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ผ่าแผนรับมือรถติดสร้างสายสีส้ม
จากการที่รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะผู้อำนวยการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เตรียมจัดการจราจรเพื่อดำเนินงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม
เปิดขุมทรัพย์จากพฤติกรรมสุดขี้เกียจ
เชื่อหรือไม่ว่า มีคนจำนวนไม่น้อยที่กดสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันเดลิเวอรี ทั้งที่ร้านอยู่ใกล้แค่ใต้คอนโดฯ สั่งซื้อของจากร้านสะดวกซื้อทั้งที่ร้านอยู่แค่ฝั่งตรงข้าม หรือยอมจ่ายเงินจ้างคนไปต่อคิวเพื่อซื้อของ ทำธุระ
สงครามการค้าเวอร์ชัน 2.0
อย่างที่ทราบกันดีว่า ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐล่าสุด ผู้ชนะก็คือ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนจากพรรครีพับลิกัน ซึ่งคว้าชัยแบบทิ้งห่างคู่แข่งอย่างนางกมลา แฮร์ริส ตัวแทนจากพรรคเดโมแครต
แห่ส่งเสริมนวัตกรรมพลิกโลก
เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ออฟ ติงส์ หรือ IoT(ไอโอที) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญในยุคสมัยนี้ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นนวัตกรรมที่ทำให้การสื่อสารระหว่างมนุษย์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไร้รอยต่อยิ่งขึ้น
OCAแก้วิกฤตพลังงานไทย
ปัจจุบันปริมาณสำรองก๊าซของไทยลดลงอย่างต่อเนื่องจนเข้าขั้นวิกฤต ส่งผลให้ต้องนำเข้าก๊าซ LNG ในราคาที่ผันผวนเพิ่มมากขึ้น มีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นของประชาชนและรายได้งบประมาณของรัฐลดลง
แอ่วเหนือ...คนละครึ่งบูมเศรษฐกิจ
จากสถานการณ์อุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ ทั้งในแง่ของการคมนาคม เดินทางเข้าสู่พื้นที่และความเสียหายต่อแหล่งท่องเที่ยว