ไม่เชื่อมั่นตำรวจ

เอาแล้วซิ! คดีป้าบัวผัน ที่ “ลุงเปี๊ยก” สามี ออกมารับสารภาพว่าเป็นคนฆ่าป้าบัวผัน ก่อนที่วงจรปิดจะเป็นหลักฐานสำคัญ มัดกลุ่มเยาวชน ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นลูกชายนายตำรวจเป็นผู้ลงมือฆ่าป้าบัวผัน

ก่อนที่ “ลุงเปี๊ยก” จะมากลับคำบอกว่าแต่งเรื่องขึ้นมาเองเพราะความเมา แต่หลายๆ องค์ประกอบก็ทำให้สังคมสงสัยว่า “ลุงเปี๊ยก” แต่งเรื่องเอง หรือใครบีบบังคับให้รับสารภาพแทนกันแน่

ก็ปรากฏว่า รอง ผบ.ตร.ที่ลงไปคุมคดี ออกมาบอกประเด็นสำคัญ ประเด็นที่น่าสนใจว่า ได้รับรายงานมีหลักฐานคลิปวิดีโอและพยานให้ข้อมูล ลุงเปี๊ยก ถูกกลุ่มคนใช้ถุงดำคลุมศีรษะซ้อม ล่ามโซ่ และบีบบังคับให้รับสารภาพว่าเป็นคนลงมือฆ่าป้าบัวผัน

หากหลักฐานชิ้นนี้มีมูล เป็นความจริง

ไอ๊ยะ!!! ถุงดำนครสวรรค์กลับมาหลอกหลอนเลย

เสียหายครับ เสียหาย ยิ่ง "นิด้าโพล" เพิ่งสำรวจความคิดเห็นในหัวข้อ “ความเชื่อมั่นต่อองค์กรตำรวจในสายตาของประชาชน” ประชาชนส่วนใหญ่ 35.19% บอกไม่ค่อยเชื่อมั่น ส่วนอีก 34.81% บอกค่อนข้างเชื่อมั่น  ตามมาด้วย 18.40% บอกเชื่อมั่นน้อย 

มีเพียง 10.69% ที่บอกเชื่อมั่นมาก

นอกจากนี้เมื่อถามถึงความรู้สึกหวาดกลัวต่อภัยอาชญากรรมของประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่ 37.25%  บอกค่อนข้างหวาดกลัว รองลงมา 33.05% บอกหวาดกลัวมาก 20.92% บอกไม่ค่อยหวาดกลัว และ 8.78% บอกหวาดกลัวน้อย

เหนื่อยแทน ผบ.ต่อ-พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้นำสีกากี จะเรียกศรัทธากลับคืนมาจากประชาชนอย่างไร

หนทางที่จะกู้ชื่อเสียง กู้ความเชื่อมั่นจากประชาชนกลับคืนมา นอกจากพฤติกรรมส่วนตัวที่ "ผบ.ต่อ" ต้องเข้มงวดกับลูกน้องชนิดหวดกันด้วยไม้เรียวแล้ว

ก็ต้องทำให้ประชาชนคลายความกังวล คลายความหวาดกลัว รวมทั้งทำในสิ่งที่ประชาชนต้องการ และอยากได้จากตำรวจ

โดยนิด้าโพลได้สอบถามถึงลักษณะตำรวจที่ดีในมุมมองของประชาชน ปรากฏว่า ส่วนใหญ่ 31.14% บอกมีคุณธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ โปร่งใส ตรวจสอบได้ รองลงมา 25.27% บอกทำงานรวดเร็ว เสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ ตามด้วย 18.09% บอกการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี  สุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส ในการให้บริการประชาชน ส่วน 14.04% บอกบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง และ 5.50% บอกสามารถควบคุมอารมณ์และการแก้ไขสถานการณ์ได้ดี รวมทั้ง 3.36% บอกมีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติงาน อีก 1.45% บอกมีบุคลิกภาพ มีความเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างที่ดี

หากทำได้ตามนั้น ถึงแม้จะไม่ได้ความศรัทธาคืนมาแบบ 100% แต่ความเชื่อใจ ความไว้วางใจก็น่าจะเพิ่มขึ้นอักโข

เพียงแต่ "ตำรวจ" ต้องรวมใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างจริงใจ จริงจัง

ไม่สร้างภาพเท่านั้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปราม...แหกกฎ!

เอ๊ะ! มีอะไรในก่อไผ่มากกว่าหน่อไม้หรือเปล่า?

844 สีกากีลุ้น 'นายพล'

ยืนยันชัดเจนจาก ผบ.ต่าย-พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ แม่ทัพใหญ่สีกากี กลางวงประชุมมอบนโยบายการบริหารราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568 ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา การแต่งตั้ง "นายพล" วาระประจำปี 2567

'ผกก.-ผบช.' เฮ!

น่าจะได้ยินเสียงเฮ! จากเหล่า "สีกากี" กว่า 5,600 ตำแหน่ง ระดับ ผู้กำกับการ (ผกก.)-ผู้บัญชาการ (ผบช.) ทั่วประเทศ หลังจากวงประชุม ก.ตร. ครั้งที่ 9/2567

แหกกฎ ก.ตร.!

นี่ซิ... "สีกากี" ของแทร่! ขนาดการแต่งตั้ง "ตำรวจ" ทุกระดับ มี พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 มีกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2567 กำหนดไว้ชัดเจน

งานหิน'บิ๊กต่าย'

ทำหน้าที่ "วันตำรวจ" ครั้งแรก ในฐานะ "ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ" เป็นผู้นำสีกากีอย่างเต็มตัว บิ๊กต่าย-พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร ผบ.ตร. ส่งสารถึง "ตำรวจ" ทั่วประเทศ

ชิงเก้าอี้ฝุ่นตลบ!

ถูกต้องแล้วอย่าไปฝืน อย่าไปศรีธนญชัย การแต่งตั้ง "ผบ.ตร." คนที่ 15 ปล่อยไปตามล็อก ตามกฎ ตามระเบียบ ตามข้อบังคับ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะได้ไม่เหนื่อย ไม่ต้องมีปัญหาวุ่นวาย