ขนส่งไร้รอยต่อ

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือเรียกว่ากันจนติดปากว่า หมอชิต 2 ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะสายเหนือ อีสาน ในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมานั้น มีประชาชนเดินทางไปใช้บริการเป็นจำนวนมาก ทำให้บริเวณสถานีหนาแน่นไปด้วยผู้คน แม้ว่าทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเตรียมความพร้อมรองรับเป็นอย่างดี ก็ไม่วายที่จะเกิดปัญหาขึ้น โดยเฉพาะปัญหาในด้านการบริการ

ซึ่งกระทรวงคมนาคมเองก็ยอมรับว่า ปัญหาการเดินทางไปยังสถานีขนส่งหมอชิต 2 ที่เข้าถึงยาก และมีการใช้พื้นที่ไม่คุ้มค่า รวมถึงปัญหาเรื่องคุณภาพของอาคาร ดังนั้น สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม ในฐานะที่กำกับดูแลบริษัท ขนส่ง  จำกัด หรือ บขส.

ได้เร่งรัดให้ บขส.ดำเนินการแก้ไขการให้บริการเพื่อให้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะมีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ซึ่งในขณะนี้ บขส.ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาในบางส่วนแล้ว เหลือเพียงการแก้ไขปัญหาเรื่องบันไดเลื่อนเก่า ซึ่งอาจจะต้องใช้ระยะเวลาเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและมีความปลอดภัยระดับสูงสุด โดยในปัจจุบัน บขส.อยู่ระหว่างการออกแบบให้มีความเหมาะสม ทั้งด้านจำนวน และตำแหน่ง รวมถึงการติดตั้งพัดลมระบายอากาศในพื้นที่ชานชาลาเพิ่มเติมด้วย

นอกจากนี้ยังเตรียมแผนการดำเนินการแก้ปัญหาสถานีขนส่งหมอชิต 2 ให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงคมนาคม ที่ได้สนับสนุนให้การเดินทางในระยะใกล้ที่มีระยะทางไม่เกิน 200 กิโลเมตร (กม.) ใช้ระบบขนส่งรอง (Feeder)  ซึ่งรถ บขส.ถือเป็นระบบขนส่งรองประเภทหนึ่ง เพื่อเชื่อมต่อกับการขนส่งระบบรางที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ซึ่งเป็นระบบหลักของการเดินทางระยะไกล ที่กระทรวงคมนาคมได้มีการพัฒนารถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่ครอบคลุมเส้นทางทั่วประเทศ

สำหรับ รูปแบบในการพัฒนาหมอชิต 2 นั้น จะต้องออกแบบให้ผู้โดยสารสามารถเดินเท้าเชื่อมต่อระหว่างอาคารกับสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และรถไฟฟ้าได้อย่างสะดวก ซึ่งจะเชื่อมต่อโดยอุโมงค์หรือทางเดินที่มีหลังคาคลุม นอกจากนั้นแล้วการให้บริการของรถ บขส.จะต้องเป็นรูปแบบเดียวกันกับสนามบิน หรือจะต้องใช้ประตูทางออกร่วมกัน (Shared Gate) เพื่อใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีประสิทธิภาพ โดยรถ บขส.จะต้องเข้ามารับผู้โดยสารตามเวลาที่กำหนด และออกจากสถานีภายในเวลา เพื่อให้การให้บริการในเส้นทางอื่นๆ สามารถเข้ามาใช้ Gate ต่อเนื่องได้

และที่สำคัญ บริเวณสถานีขนส่งกรุงเทพแห่งใหม่ จะต้องไม่มีอู่จอดรถในพื้นที่อาคาร โดยรถที่ให้บริการจะเข้ามารับ-ส่งผู้โดยสารตามเวลาเท่านั้น เพื่อแก้ปัญหาความแออัดของพื้นที่ และลดปัญหามลพิษ และที่สำคัญคือ จะพัฒนาอาคารเป็นมิกซ์ยูส โดยมีการออกแบบอาคารให้ใช้ร่วมกัน เช่น ใช้พื้นที่ชั้นล่างเป็นสถานีรถโดยสาร และพัฒนาพื้นที่ชั้นบนเป็นสำนักงาน รวมถึงพื้นที่เชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้ และเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นต้น รวมทั้งจัดให้มีพื้นที่รอคอย และพื้นที่ซื้อตั๋วในตัวอาคาร พร้อมทั้งป้ายแสดงข้อมูลรถที่จะเข้ายังชานชาลาต่างๆ ในลักษณะ Shared Gate ดังเช่นต้นแบบในต่างประเทศ

 นายสุริยะยึดว่า รูปแบบการพัฒนาสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพแห่งใหม่ได้หยิบยกโมเดลจากต่างประเทศเพื่อนำมาประกอบแผนในการพัฒนาในประเทศไทย อาทิ ประเทศญี่ปุ่น ณ สถานีฮากาตะ ที่พัฒนาสถานีโดยสารเป็นอาคารสูง และเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟได้อย่างสมบูรณ์แบบ, สถานีโตเกียว ที่มีการพัฒนาสถานีโดยสารที่เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟโตเกียว เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะให้มีมาตรฐาน เชื่อมขนส่งไร้รอยต่อแล้ว ในด้านความปลอดภัยต้องตามมาด้วย โดยเฉพาะภายในสถานีขนส่ง รถโดยสารสาธารณะประเภทอื่นๆ ต้องมีมาตรฐานความปลอดภัย ไม่ใช่แค่รถโดยสารเท่านั้น ระบบขนส่งสาธารรณะต่างๆ ต้องมีความปลอดภัย 100%

และที่สำคัญ ต้องเข้มงวดกวดขันอย่างตรงไปตรงมา คุณภาพต้องมา ไม่ใช่พอมีข่าวอย่างสถานีขนส่งหมอชิต 2 ที่ทั้งด้านคุณภาพของชานชาลา บันไดเลื่อน ไฟฟ้าส่องสว่าง ป้ายบอกทาง การเชื่อมต่อการเดินทาง จุดดับเพลิง และห้องพยาบาล รวมถึงห้องให้นมบุตรนั้น ยอดแย่มาก แล้วค่อยออกมาแก้ข่าว เฉไปไฉมาเหมือนเก่าก่อนคงจะไม้ได้เสียแล้ว เพราะยุคท่านนายกฯ "เศรษฐา ทวีสิน" คนโกงต้องหมดไป.

 

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร