ใกล้สิ้นปี 2023 ทั้งโลกกำลังมองไปที่ 2024 ด้วยความไม่แน่ใจว่าปีหน้าจะเป็นปี “มังกรทอง” หรือ “มังกรพ่นไฟ” หรือ “มังกรอาละวาดฟาดหาง” หรือไม่
เอาเฉพาะในเวทีระหว่างประเทศก็มี “จุดพร้อมปะทุ” ที่อาจกลายเป็นสงครามบานปลายได้ในหลายๆ จุดทีเดียว
บางคนเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “สงครามเย็นรอบสอง” แต่อีกบางคนกลัวว่ามันจะเป็น “จุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สาม”
และสงครามคราวหน้าอาจจะมาในรูปแบบที่แปลกและแตกต่างไปจากเดิมอย่างน่าหวาดหวั่นยิ่งนัก
เพราะมันจะไม่มีเฉพาะมิติของการทหารเท่านั้น หากแต่ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ, สังคมและสิ่งแวดล้อม จะเป็นตัวแปรที่ทำให้ทุกอย่างซับซ้อนและร้อนแรงเกินกว่าที่คาดได้อย่างน่ากลัว
วันก่อน ผมแลกเปลี่ยนกับคุณวิกรม กรมดิษฐ์ ในรายการ “โลกเปลี่ยนสี” โดยตั้งหัวข้อว่า “ปีหน้าจะดีขี้นหรือแย่ลง” โดยมองจากหลายๆ มิติ
มีประเด็นๆ คาดการณ์สำหรับปีหน้าที่น่าสนใจบางแง่มุมดังนี้
เชื่อว่าสงครามยูเครนมีโอกาสบานปลายสู่สงครามมหาประลัย ถ้าตะวันตกยังขยายตัวสนับสนุนอาวุธเพิ่มขึ้น
-ถ้าความขัดแยังทะเลแดงขยายตัวสู่อ่าวเปอร์เซีย จะกระทบเศรษฐกิจโลกและพลังงานอย่างหนัก
-ถ้าโดนัลด์ ทรัมป์ ได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ อีกครั้ง ความขัดแยังกับจีนจะขยายตัวจากปัญหาเศรษฐกิจ (สงครามการค้ารอบใหม่?) สู่น่านน้ำทะเลจีนใต้กับฟิลิปปินส์และไต้หวัน จะกระทบเศรษฐกิจเอเชียอย่างหนัก
-ความขัดแยังภายในพม่าอาจจะขยายตัวถ้ารัฐบาลทหารเอาไม่อยู่ จะกระทบไทยและจีนอย่างหนัก
-ถ้าคิม จองอึน ของเกาหลีเหนือ ยิงขีปนาวุธเพิ่มและหนักขึ้นอย่างที่เห็นมาตลอดปีที่ผ่านมา ปัญหาในเอเชียตะวันออกจะขยายตัวและบานปลายกว้างขวางยิ่งขึ้น
-ด้านเศรษฐกิจก็น่ากังวลไม่ใช่น้อย ปัญหา NPL ของอสังหาริมทรัพย์จีนกำลังลุกลามลากเศรษฐกิจจีนที่มีผลทำให้จีนลดการเติบโต ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจจีนและการท่องเที่ยวลดลง และเดินทางออกนอกประเทศจะหดตัว อีกทั้งกำลังซื้อจะต่ำเตี้ย
-ความสัมพันธ์จีนกับอินเดียก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นอ่อนไหว ไม่มีความแน่นอนว่าสองยักษ์แห่งเอเชียนี้จะร่วมมือกันได้มากน้อยเท่าไร สำหรับอินเดียแล้วไม่มีข่าวดีมากนักในความสัมพันธ์กับจีน เพราะอยู่ในระดับที่ไม่ดีเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะในด้านการค้าขายระหว่างกัน เพราะขาดดุลการค้ากับจีนหลายเท่าตัว อินเดียจึงหันมาเดินนโยบายตามอเมริกามากขึ้นพอสมควรเพื่อที่จะคานอำนาจของปักกิ่ง
-ส่วนที่มีภาพเป็นทางบวกมากขึ้นข้างก็น่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับเวียดนาม
สี จิ้นผิง เพิ่งไปเยี่ยมผู้นำเวียดนามและลงนามใน MOU 35 ฉบับ ซึ่งมีผลที่น่าจะเชื่อได้ว่าการลงทุนจีนในเวียดนามจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อย
-ด้านบวกอีกมิติหนึ่งน่าจะเป็นความสัมพันธ์จีนกับรัสเซียและอาหรับ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีความใกล้ชิดมากที่สุดในประวัติศาสตร์
นั่นคือขั้วอำนาจใหม่ที่จะมาสร้างอำนาจการต่อรองตะวันตกเพิ่มขึ้น
-ในอีกอ้านหนึ่ง ไม่เกินอีก 3-5 ปีข้างหน้านี้ ขนาดเศรษฐกิจและความเจริญของจีนจะเท่าเทียมหรือแซงอเมริกา ซึ่งหมายความว่าความเป็นประเทศมหาอำนาจโลกจะค่อยๆ เปลี่ยนมือ อย่างน้อยก็จะไม่ใช่โลกที่มีพระเอกคนเดียว อาจจะเป็นโลกสองขั้ว แปรจาก unipolar world เป็น multipolar world
-ปีหน้าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่เราจะเห็นว่าเอเชียจะไม่เหมือนเดิมในทุกๆ ด้าน และหนึ่งในมิติใหม่คือความขัดแยังกับอเมริกาจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นไปกว่าเดิม
-อีกด้านหนึ่งที่เกี่ยวกับไทยโดยตรงคือการค้าการลงทุนจีนในอาเซียนมีมากที่สุด ทำให้อิทธิพลจีนในอาเซียนจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพราะจีนจะมีบทบาทคึกคักที่สุดแง่ความสัมพันธ์ระดับภูมิภาค
-สำหรับประเทศไทย จะมีโอกาสที่ไทยเป็นสะพานแห่งการคมนาคมและการค้าการลงทุนที่สำคัญที่ของจีนสู่อาเซียน หากเราวางยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติอย่างถูกต้อง แม่นยำและจริงจัง
-อีกด้านหนึ่งจะมีชาวจีนดีและจีนเทามาอยู่กันในไทยเพิ่มขึ้น มากกว่าทุกวันนี้อีกมากมายมหาศาล จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจไทยทั้งบวกและลบมากสุด
-รัฐบาลไทยต้องมาวางแผนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้ให้รัดกุมที่สุด เพื่อลดการขาดทุนหรือล้มละลายของธุรกิจไทยให้มากสุด
-การคบค้าสมาคมกับจีนมีทั้งบวกและลบในวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ ไทยต้องมาคิดในระบบป้องกันในระยะยาวแต่เนิ่นๆ ต้องไม่ปล่อยให้ปัญหาบานปลายจนแก้ไม่ได้
-การเปลี่ยนแปลงของอนาคตในภูมิภาคไม่ว่าเป็นขั้วอำนาจเก่าหรือใหม่ คนไทยทุกคนต้องเรียนรู้ให้มากที่สุด
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนของภาพใหญ่ระดับโลก, ภูมิภาคและประเทศไทยที่จะต้องเตรียมการตั้งรับสถานการณ์ที่พอจะมองเห็นจากวันนี้
แต่ในความเป็นจริงนั้น ยังมีความเป็นไปได้ที่โลกจะเข้าสู่ภาวะผันผวนปรวนแปรที่คาดไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจที่อาจชะงักงันเพราะความขัดแย้งในภูมิภาคต่างๆ
หรืออาจเกิดโรคระบาดร้ายแรงแบบเดียวกับโควิด-19 หรือหนักกว่านั้น
หรืออาจจะเกิดภัยธรรมชาติที่หนักหน่วงรุนแรงที่มาตรการที่มีอยู่ในระดับโลกไม่อาจจะรับได้
ทั้งหมดนี้สรุปได้ว่าเราจะต้องเตรียมการตั้งรับ “ความไม่แน่นอน” ที่ไม่มีใครคาดคะเนล่วงหน้าได้
บทเรียนอันเจ็บปวดจากกรณีโควิด-19 สอนเราว่า
ถึงคราววิกฤตจริงๆ เราได้แต่พึ่งพาตัวเราเองเท่านั้น
นโยบาย “ตัวใครตัวมัน” ยังใช้ได้ในทุกวิกฤตระดับภูมิภาคและระดับโลก!.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ