ความขัดแย้งระหว่างจีนกับฟิลิปปินส์ที่ร้อนแรงขึ้นในปีนี้ทำท่าจะลามเข้าสู่ปีใหม่ค่อนข้างแน่นอน
ประธานาธิบดีเฟอร์ดินันด์ มาร์กอส จูเนียร์ ของฟิลิปปินส์ประกาศกร้าวสัปดาห์ก่อนว่า
“ความตึงเครียดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในทะเลจีนใต้สมควรได้รับการตอบสนองแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเช่นกัน
เป็นถ้อยประโยคที่กล่าวหลังจากเจ้าหน้าที่ฟิลิปปินส์รายงานว่าจีนใช้ปืนฉีดน้ำยักษ์โจมตีเรือในพื้นที่พิพาทในทะเลสองแห่งเป็นเวลาสองวันติดต่อกัน
ทั้งหมดเหตุการณ์เผชิญหน้าอย่างนั้นเกิดขึ้นแล้ว 4 ครั้ง
ล่าสุดนำไปสู่การที่ฟิลิปปินส์ยื่นประท้วงทางการทูตต่อจีนครั้งที่ 64 ในปีนี้
จากทั้งหมดกว่า 130 ครั้งนับตั้งแต่นายมาร์กอส จูเนียร์ ขึ้นสู่อำนาจในเดือนมิถุนายน ปีที่แล้ว
เหตุการณ์บางส่วนที่รายงานโดยฝ่ายฟิลิปปินส์ ได้แก่:
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ หน่วยยามฝั่งจีนยิงเลเซอร์ "ระดับใช้ในกิจการทหาร" ไปที่ลูกเรือของเรือหน่วยยามฝั่งฟิลิปปินส์
เรือประมงหรือเรือทหารติดอาวุธทางทะเลของจีนมากกว่า 100 ลำ “จับกลุ่มกัน” ในน่านน้ำรอบแนวปะการัง สันดอน และลักษณะอื่นๆ ที่เป็นข้อพิพาท
เหตุทำนองนี้เกิดขึ้นอย่างน้อยสองครั้งคือในเดือนมิถุนายนและธันวาคม
จีนติดตั้งแผงกั้นลอยน้ำสูง 300 เมตรใกล้สันดอนสการ์โบโรห์ในน่านน้ำที่ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์เมื่อเดือนกันยายน
ฟิลิปปินส์สั่งรื้อออก ระบุว่าเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ
เรือของจีนใช้เครื่องฉีดน้ำในเดือนสิงหาคม พฤศจิกายน และธันวาคมในภารกิจที่ปักกิ่งอ้างว่าได้ล่วงเข้าน่านน้ำของตนโดยไม่ได้รับอนุญาต
การปะทะยังนำไปสู่การกระทำอื่น ๆ ซึ่งส่งผลให้เกิดการชนกันและทำให้เรือเสียหายอย่างน้อยสองครั้ง
แต่ละเหตุการณ์ที่ว่านี้มาพร้อมกับสงครามวาทกรรม
ฟิลิปปินส์เรียก “การบังคับขู่เข็ญที่ไม่ได้เกิดจากการยั่วยุของฝ่ายเรา” ของจีนว่าเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินทางทะเล และทำให้ลูกเรือชาวฟิลิปปินส์ตกอยู่ในความเสี่ยง
ปักกิ่งยันกลับว่ากำลังใช้ “กิจกรรมบังคับใช้กฎหมาย” เพื่อจัดการกับการละเมิดอธิปไตยของจีนที่ “ไม่อาจโต้แย้งได้” การกล่าวอ้างนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เรียกว่า "สิทธิทางประวัติศาสตร์" ในทะเลจีนใต้
เกิดคำถามว่าทะเลจีนใต้เป็นของจีนเจริงหรือไม่?
คำตอบขึ้นอยู่กับว่าคุณถามใคร
ย้อนกลับไปในปี 2009 จีนเปิดเผยต่อสหประชาชาติว่าเส้นประ 9 เส้น ทำให้ปักกิ่งสามารถอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ทะเลจีนใต้มากกว่าร้อยละ 80
นอกจากฟิลิปปินส์แล้ว ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวียดนาม มาเลเซีย และบรูไนยังอ้างสิทธิในบางส่วนของมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ ซึ่งเป็นเส้นทางเดินทะเลที่สำคัญสำหรับการค้าโลกมูลค่ากว่า 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และเป็นแหล่งสำคัญของทั้งการประมงและก๊าซสำรอง
หลังจากการเผชิญหน้ากันในปี 2555 ระหว่างฟิลิปปินส์และจีนในสันดอนสการ์โบโรห์ มะนิลาได้นำเรื่องนี้ไปสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการในกรุงเฮกในปีต่อมา
ฟิลิปปินส์ต้องการให้จีนปฏิบัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลหรือ UNCLOS ซึ่งกำหนดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศหรือ EEZ ไว้ที่ 200 ไมล์ทะเลจากแผ่นดินใหญ่ของประเทศ
คำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการครั้งประวัติศาสตร์ในปี 2016 ระบุว่าข้อเรียกร้องของจีนมี “ไม่มีพื้นฐานทางกฎหมาย”
ปักกิ่งไม่ยอมรับคำวินิจฉัยนั้น ประกาศว่าคำตัดสิน “ไม่มีผลและเป็นโมฆะ”
ถ้าย้อนกลับไปอีกทศวรรษ - ถึงปี 2002 เมื่อจีนและสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ลงนามในปฏิญญา (ซึ่งไม่มีข้อผูกมัดด้านกฎหมาย) โดยให้คำมั่นที่จะไม่อาศัยหรือพัฒนาพื้นที่ที่ไม่มีคนอาศัยอยู่ในทะเลจีนใต้
แต่พอถึงปี 2007 ปักกิ่งเริ่มส่งกำลังทางทะเลและสร้างฐานทัพทหารในหมู่เกาะหมู่เกาะสแปรตลีย์ที่เป็นข้อพิพาท
เป็นข้อมูลที่บันทึกโดยทนายความ เจย์ บาตงบาคัล ผู้อำนวยการสถาบันกิจการทางทะเลและกฎหมายทะเล แห่งมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์
ในเดือนธันวาคม 2022 รายงานของสื่อตะวันตกระบุว่า จีนกำลังดำเนินโครงการถมทะเลใหม่ในทะเลจีนใต้
ปักกิ่งปฏิเสธข้อกล่าวหานั้นอย่างขึงขัง
คำแถลงในปี 2545 กำหนดให้ทุกฝ่ายเห็นพ้องที่จะหลักปฏิบัติหรือ Code of Conduct เพื่อกำหนดบรรทัดฐานในเส้นทางน้ำ
เชื่อไหมว่าประเด็นนี้ยังเป็นเรื่องเจรจาต่อรองกันโดยไม่มีข้อสรุปชัดเจนอะไร
แม้รายงานล่าสุดจะระบุว่าควรจะเจรจากันให้เสร็จสิ้นในสามปี
คำถามก็คือทั้งจีนและฟิลิปปินส์ได้พยายามจะแก้ปัญหานี้อย่างไร
รัฐบาลฟิลิปินส์ก่อนที่นำโดยประธานาธิบดีดูเตอร์เตหันมาตีสนิทกับจีน โยนคำวินิจฉัยของอนุยาโตตุลาการทิ้งและประกาศให้สหรัฐฯถอนตัวออกไปจากความสัมพันธ์กับฟิลิปปินส์
ปักกิ่งยื่นมือมาจับอย่างรวดเร็วและตอบสนองท่าทีที่เป็นมิตรของดูเตอร์เตด้วยการลงนามในข้อตกลที่จะพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติในบริเวณนั้นด้วยกัน
แต่สถานการณ์ก็พลิกผันไปอย่างรวดเร็วเมื่อมาร์กอส จูเนียร์ชนะเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศฟิลิปปินส์
เกมก็เปลี่ยนเป็นการเผชิญหน้าระหว่างฟิลิปปินส์กับจีนในระดับที่ร้อนแรงขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า
(พรุ่งนี้: ความขัดแย้งนี้จะบานปลายกลายเป็นเรื่องใหญ่กว่านี้หรือไม่?)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ