หนึ่งในประเด็นการเมืองที่ต้องจับตามองสำหรับปีหน้าคือ สถานภาพของสมาชิกวุฒิสภาที่จะเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ
เพราะจะไม่มีอำนาจในการร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีอีก
จึงมีข่าวว่าบรรดาพรรคการเมืองทั้งหลายกำลังวางแผนที่จะสอดแทรกเข้าไปเพื่อมีบทบาท, หากทางตรงทำไม่ได้ก็จะทำกันในทางอ้อมเพื่อให้คนที่ตนสนับสนุนได้เข้ามานั่งในวุฒิสภา
แม้อำนาจของ สว.จะลดน้อยลงในภาพรวม แต่ก็ยังมีกิจกรรมทางการเมืองหลายมิติที่ สว.จะเสริมอิทธิพลของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้
สิ่งที่จะเกิดขึ้นที่คนไทยทั้งประเทศจะต้องจับตาเฝ้ามองเรื่อง สว.จากนี้ไปคือ
11 พฤษภาคม 2567 สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ชุดพิเศษ 250 คน ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็จะมีอายุครบ 5 ปีตามบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญ 2560
หลังจากนั้นความเปลี่ยนแปลงก็จะเกิดขึ้น
ทั้งหน้าตาและที่มาของ สว. ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้กลั่นกรองกฎหมายก็จะเปลี่ยนแปลงไป
iLaw ได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ สว.ชุดใหม่ไว้อย่างน่าสนใจ จึงขออนุญาตนำมาเล่าต่อเพื่อช่วยกันวิเคราะห์และติดตามกันต่อไป
สว.ชุดใหม่จะมีจำนวน 200 คน มีวาระ 5 ปี จาก 250 คนในชุดที่กำลังจะหมดอายุลง
อำนาจพิเศษแบบ สว.จาก คสช.ก็จะลดลงไป โดยเฉพาะไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับ สส.ได้เหมือนที่ผ่านมา
สว. 200 คนจะมาจาก “การเลือกกันเอง”
และยังคงอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติหลายอย่างทีเดียว
ก่อนอื่นต้องรับรู้ก่อนว่า สว.ชุดใหม่ 200 คน มาจากกลุ่มอาชีพต่างๆ และกลุ่มพิเศษที่จะคัดเลือกกันเอง
แตกต่างจาก สว.ชุดพิเศษตามบทเฉพาะกาลที่มีถึง 250 คน
ในการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปีของ สว.ชุดใหม่นั้นจะเริ่มนับอายุตั้งแต่วันที่กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศผล
ผู้สมัครจะแยกเป็นกลุ่มอาชีพเพื่อ “เลือกกันเอง”
โดยเน้นที่บุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะหรือประโยชน์ร่วมกัน ทำงานหรือเคยทำงานด้านต่างๆ ที่หลากหลายของสังคม
รายละเอียดการจัดสรรกลุ่มอาชีพต่างๆ จำนวนและหลักเกณฑ์ขั้นตอนการเลือกกันเองอย่างชัดเจนถูกระบุไว้ใน
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งวุฒิสภา พ.ศ.2561 (พ.ร.ป.วุฒิสภา)
พ.ร.ป.วุฒิสภา มาตรา 10 และมาตรา 11กำหนดให้ผู้สมัคร สว.สามารถเลือกสมัครเป็นตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ ได้
โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มอาชีพต่างๆ ซึ่งมีจำนวน 18 กลุ่ม และกลุ่มพิเศษอีก 2 กลุ่มคือ กลุ่มสตรี และกลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการหรือผู้ทุพพลภาพ รวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์ รวมจำนวนทั้งหมด 20 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง เช่น อดีตข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
กลุ่มกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เช่น ผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
กลุ่มการศึกษา เช่น ครู อาจารย์ นักวิจัย ผู้บริหารสถานศึกษา หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
กลุ่มการสาธารณสุข เช่น แพทย์ทุกประเภท เทคนิคการแพทย์ พยาบาล เภสัชกร หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
กลุ่มอาชีพทำนา ปลูกพืชล้มลุก หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
กลุ่มอาชีพทำสวน ป่าไม้ ปศุสัตว์ ประมง หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
กลุ่มพนักงานลูกจ้างที่ไม่ใช่ราชการหรือหน่วยงานรัฐ ผู้ใช้แรงงาน หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาฯ และสาธารณูปโภค ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
กลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อยตามกฎหมาย หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
กลุ่มผู้ประกอบกิจการอื่นนอกจาก (9)
กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว เช่น มัคคุเทศก์ ผู้ประกอบกิจการอื่น หรือพนักงานโรงแรม หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
กลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
กลุ่มสตรี
กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการหรือผู้ทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
กลุ่มประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์ หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
กลุ่มอื่นๆ
ผู้สมัครจะต้องมีไม่มีลักษณะต้องห้ามต่างๆ ตามมาตรา 14 เช่น ไม่เป็นข้าราชการ ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง และต้องมีคุณสมบัติครบตามมาตรา 13 ดังนี้
มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี ในวันสมัครรับเลือก
มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ หรือทำงานในด้านที่สมัครไม่น้อยกว่า 10 ปี
ผู้สมัครต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ
เกิดในอำเภอที่สมัครรับเลือก
มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในอำเภอที่สมัครรับเลือกเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือก
เคยทำงานหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือก แล้วแต่กรณีเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี
เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในอำเภอสมัครรับเลือกเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา
แต่คุณสมบัติเรื่องความรู้ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ หรือทำงานไม่น้อยกว่า 10 ปีนั้น จะไม่ถูกนำมาใช้กับผู้ที่สมัครในกลุ่มสตรีหรือกลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการหรือผู้ทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ และกลุ่มอัตลักษณ์อื่น
นอกจากนี้ หากเป็นผู้ประกอบอาชีพที่อยู่ในข่าย “อื่นๆ หรือในทำนองเดียวกัน” จะต้องเป็นไปตามประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้วย
(พรุ่งนี้ : ที่มาของการเลือก สว.ที่ค่อนข้างจะสลับซับซ้อน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ