อุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบันเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้น และมีแนวโน้มในการพัฒนายานยนต์แห่งอนาคตทั้งรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) หรือรถยนต์ไฮโดรเจน ที่มีการใช้พลังงานที่รักษ์โลก ไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยในประเทศไทยมีความชัดเจนเรื่องการผลักดันสัดส่วนยานยนต์สมัยใหม่แล้ว และออกเป็นมาตรการที่ครอบคลุมทั้งการผลิตและการกระตุ้นการใช้งาน อย่างมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ 2 หรือ EV3.5 ซึ่งจะสนับสนุนให้เกิดการลงทุนที่ครอบคลุมทั้งรถยนต์นั่ง กระบะไฟฟ้า และจักรยานยนต์ไฟฟ้า
และด้วยแผนงานที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนยานยนต์สมัยใหม่นี้ ทำให้ภาคอุตสาหกรรมที่ดำเนินงานด้านนี้ในประเทศไทยก็ต้องการทำให้การเดินหน้างานเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งยังส่งผลดีและตรงจุดให้กับกลุ่มนักลงทุนทั้งผู้ผลิต
และผู้ใช้งานด้วย ทำให้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) โดย Cluster of FTI Future Mobility-ONE หรือ CFM-ONE ได้จัดทำข้อเสนอต่อแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย ที่มุ่งเน้นให้ภาครัฐรักษาและต่อยอดความเป็นฐานการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนของโลก สร้างอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนสมัยใหม่เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน
โดย ยุพิน บุญศิริจันทร์ ประธาน Cluster of FTI Future Mobility-ONE และประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท. กล่าวว่า ได้มีแนวทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนไทย โดยคาดว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ในปี 2573 (ค.ศ. 2030) รวม 2,500,000 คัน จะมีสัดส่วนการผลิตที่เป็นรถยนต์ Future ICE คิดเป็น 70% หรือ 1,750,000 คัน และรถยนต์ประเภท ZEV คิดเป็น 750,000 คัน โดยเห็นว่าการที่จะส่งเสริมให้มีการผลิตยานยนต์ทั้งสองประเภทนี้ ภาครัฐจะต้องมีแนวทางในการส่งเสริม ผ่านมาตรการสนับสนุนที่จำเป็น โดยจะขอนำเสนอ อาทิ
1.ข้อเสนอสำหรับ Future ICE (70@30) : รักษาและต่อยอดความเป็นฐานการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยผลักดันให้เกิดการขยายตลาดการส่งออกยานยนต์และชิ้นส่วนในกลุ่มอะไหล่ทดแทน (REM) ไปยังกลุ่มประเทศที่ยังมีการใช้เครื่องยนต์ประเภทสันดาปภายใน (ICE) โดยเร่งรัดการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ในกลุ่มประเทศที่ยังมีการใช้เครื่องยนต์ ICE
ขณะเดียวกัน ต้องหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เพื่อออกมาตรการส่งเสริมการผลิตยานยนต์ในกลุ่ม Future ICE สนับสนุนแนวทางการกำหนดโครงสร้างภาษีสรรพสามิตสำหรับยานยนต์ที่จะบังคับใช้ปี 2569 และสร้างกลไกการจับคู่บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยกับต่างชาติ เพื่อเพิ่มโอกาสสำหรับการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ รวมทั้งผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐมีการกำหนดมาตรฐานมลพิษ ได้แก่ Euro 5 สำหรับรถจักรยานยนต์ และ Euro 6 สำหรับรถยนต์ขนาดใหญ่ให้มีความเหมาะสม
2.ข้อเสนอสำหรับ ZEV (30@30) : สร้างอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนสมัยใหม่ เตรียมพร้อมทิศทาง Carbon Neutrality โดยผลักดันนโยบายและมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าทั้งระบบนิเวศไปยังคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ สนับสนุนและอำนวยความสะดวกมาตรการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า การผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในทุกมิติ และนำเสนอให้เกิดการสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำหรือสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้กับผู้ประกอบการที่ผลิต EV Niche Market เช่น รถเมล์ เรือ รถบัส รถตุ๊กๆ
3.ข้อเสนอสำหรับการผลักดันให้ชิ้นส่วนยานยนต์ไทยปรับตัวสู่อุตสาหกรรมสมัยใหม่ (Parts Transformation) ผลักดันให้อุตสาหกรรมชิ้นส่วน พัฒนาไปอุตสาหกรรมใกล้เคียงเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ เปลี่ยนผ่านตัวเองได้ เช่น ระบบราง เครื่องมือแพทย์ โดยหารือร่วมกับกรมบัญชีกลางในผลักดันมีการกำหนดสัดส่วนปริมาณการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ และเพิ่มทักษะแรงงานด้านเครื่องกล ไปสู่ด้านอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมใหม่
ซึ่งเมื่อพิจารณาจากแผนงานดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่นั้นไม่ใช่เพียงแค่สนับสนุนให้มียอดซื้อและยอดใช้งานในประเทศเท่านั้น แต่ต้องมีการบูรณาการร่วมกันกับอุตสาหกรรมหรือแผนงานอื่นๆ ที่จะเข้ามาสนับสนุนให้เกิดการผลักดันที่ชัดเจน.
ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ผ่าแผนรับมือรถติดสร้างสายสีส้ม
จากการที่รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะผู้อำนวยการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เตรียมจัดการจราจรเพื่อดำเนินงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม
เปิดขุมทรัพย์จากพฤติกรรมสุดขี้เกียจ
เชื่อหรือไม่ว่า มีคนจำนวนไม่น้อยที่กดสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันเดลิเวอรี ทั้งที่ร้านอยู่ใกล้แค่ใต้คอนโดฯ สั่งซื้อของจากร้านสะดวกซื้อทั้งที่ร้านอยู่แค่ฝั่งตรงข้าม หรือยอมจ่ายเงินจ้างคนไปต่อคิวเพื่อซื้อของ ทำธุระ
สงครามการค้าเวอร์ชัน 2.0
อย่างที่ทราบกันดีว่า ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐล่าสุด ผู้ชนะก็คือ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนจากพรรครีพับลิกัน ซึ่งคว้าชัยแบบทิ้งห่างคู่แข่งอย่างนางกมลา แฮร์ริส ตัวแทนจากพรรคเดโมแครต
แห่ส่งเสริมนวัตกรรมพลิกโลก
เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ออฟ ติงส์ หรือ IoT(ไอโอที) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญในยุคสมัยนี้ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นนวัตกรรมที่ทำให้การสื่อสารระหว่างมนุษย์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไร้รอยต่อยิ่งขึ้น
OCAแก้วิกฤตพลังงานไทย
ปัจจุบันปริมาณสำรองก๊าซของไทยลดลงอย่างต่อเนื่องจนเข้าขั้นวิกฤต ส่งผลให้ต้องนำเข้าก๊าซ LNG ในราคาที่ผันผวนเพิ่มมากขึ้น มีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นของประชาชนและรายได้งบประมาณของรัฐลดลง
แอ่วเหนือ...คนละครึ่งบูมเศรษฐกิจ
จากสถานการณ์อุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ ทั้งในแง่ของการคมนาคม เดินทางเข้าสู่พื้นที่และความเสียหายต่อแหล่งท่องเที่ยว