4เทรนด์อสังหาปี67

การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะในภาคธุรกิจอสังหริมทรัพย์ ซึ่งผู้บริโภคมองหาความปลอดภัยในการมีที่อยู่อาศัยในรูปแบบที่ปกป้องคนในครอบครัวมากขึ้น คนส่วนใหญ่ก็ยังมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยใหม่เพื่อรองรับการอยู่อาศัย ทํางาน และต้องมีพื้นที่สําหรับทํากิจกรรมภายในบ้านได้ด้วย เพราะพฤติกรรมการอยู่อาศัยในบ้านของคนยุคนี้ที่หันมาให้ความสําคัญกับสุขภาพทางใจ ใส่ใจเรื่องอาหารการกิน และต้องการพื้นที่สําหรับออกกําลังกายภายในบ้าน

ทั้งนี้ ชูรัชฏ์ ชาครกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)

ผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ระบุว่า แม้โลกจะก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วแต่การสำรวจเทรนด์ผู้บริโภคในปี 2024 กลับพบว่า ท่ามกลางความรวดเร็วนั้น การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคกลับใช้เวลาเพิ่มขึ้นเพื่อวิเคราะห์ว่า “ตัวเลือกใดเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าที่สุด”

ซึ่งความคุ้มค่านั้นต้องสามารถตอบสนองได้ทั้งคุณภาพ ราคา และมอบประสบการณ์ที่แปลกใหม่ สิ่งสำคัญ ต้องใช้ประโยชน์ได้ยาวนานกว่าเก่า ซึ่งสอดคล้องกับเทรนด์การตลาดในปี 2024 ที่แบรนด์ระดับแถวหน้าต่างให้ความสำคัญกับ 3 ปัจจัยหลัก คือ ผู้บริโภค (Consumer), “ฐานข้อมูล (Data)” และ “กระแสความยั่งยืน (Sustainability)” เพราะเป็น 3 กุญแจสำคัญที่จะไขประตูสู่ความสำเร็จได้ด้วยการนำข้อมูลต่างๆ มาพัฒนากลยุทธ์ให้เข้าถึงและเข้าใจผู้บริโภคแต่ละกลุ่มได้ดียิ่งขึ้น

 “ในปี 2024 เทรนด์ของผู้บริโภคจะเริ่มเปลี่ยนเข้าสู่ยุคประหยัด โดยเฉพาะกลุ่มตลาดบ้าน real demand หรือกลุ่มที่มีกำลังซื้อที่แท้จริง เป็นกำลังซื้อที่มีความต้องการที่อยู่อาศัย มีรายได้เพียงพอที่จะซื้อ มีเครดิตเพียงพอที่จะกู้แบงก์ผ่าน ดังนั้นการทำความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับเทรนด์ผู้บริโภคจึงเป็นเรื่องสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ โดยสรุปเทรนด์ของผู้บริโภคในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้ 4 ประเด็นหลักๆ ได้แก่ 1.ให้ความสำคัญต่อประสบการณ์ใหม่ 2.ให้ความสำคัญกับสุขภาพกายและใจเป็นหลัก 3.ให้ความสำคัญต่อการสร้างชีวิตที่สมดุลกว่าเดิม และ 4.ให้ความสำคัญต่อการแสวงหาและเพิ่มคุณค่าสูงสุดอย่างสมเหตุสมผล”

สำหรับ เทรนด์แรก การส่งมอบประสบการณ์ใหม่สู่มือผู้บริโภคยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องใส่ใจ จะเห็นได้ทั้งกรณีที่แบรนด์เป็นผู้พัฒนาประสบการณ์นั้นขึ้นเอง หรือเป็นการจับมือร่วมกับแบรนด์อื่นๆ เพื่อมอบประสบการณ์และสิทธิพิเศษใหม่ๆ ก็ยังเป็นแนวทางที่ผู้บริโภคตอบรับ นอกจากนี้การใช้เครื่องมือในการจับกระแสโซเชียลเพื่อคอยอัปเดตเทรนด์ที่กำลังมา และหยิบสิ่งเหล่านั้นมานำเสนอเป็นสินค้าและบริการที่อินเทรนด์ ก็เป็นอีกโอกาสทางการตลาดที่ไม่ควรมองข้าม

เทรนด์ที่ 2 การพัฒนาสุขภาพกายและใจไปพร้อมๆ กัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าการให้ความสำคัญต่อสุขภาพกายและใจเป็นอีกหนึ่งกระแสนิยมที่ชัดเจนขึ้นมากหลังเกิดสถานการณ์โควิด-19 ดังนั้นคำว่า บ้านสุขภาพ จึงต้องเกิดขึ้นได้จริงอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อดูดซับกำลังซื้อในกลุ่มนี้ที่มักคัดสรรสิ่งที่ดีที่สุดต่อทั้งใจและกาย แสวงหาผลิตภัณฑ์และบริการที่สามารถสะท้อนการอยู่กับปัจจุบันได้อย่างดี ท่ามกลางธรรมชาติที่สัมผัสได้เต็มที่

เทรนด์ที่ 3 การสร้างชีวิตที่สมดุลกว่าเดิม ปัจจุบันคนในสังคมส่วนใหญ่จะทุ่มเทเวลาไปกับงาน ทำให้เกิดการขาดสมดุลในการใช้ชีวิต และเมื่อถึงขีดสุดที่ชีวิตจะรับได้คนส่วนใหญ่จะหยุดนิ่งและหันกลับมามองและหาวิถีสร้างสมดุลชีวิตให้เกิดขึ้น ปฏิเสธไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบและขับเคลื่อนด้วยเงินเพียงอย่างเดียว หลายคนเริ่มมองหาความสุขจากสิ่งพื้นฐานและการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ยืดหยุ่นกับตัวเองได้มากขึ้น ดังนั้นการมองหาที่อยู่อาศัยก็ต้องยืดหยุ่นกับทุกโมเมนต์การใช้ชีวิตได้ด้วยเช่นกัน

และ เทรนด์สุดท้าย การแสวงหาและเพิ่มคุณค่าสูงสุดอย่างสมเหตุสมผล เทรนด์นี้จะชัดเจนมากในกลุ่มผู้บริโภคเจนใหม่ๆ ที่การตัดสินใจแต่ละครั้งจะอยู่บนความรอบคอบและชาญฉลาดเสมอ สิ่งที่คนกลุ่มนี้มองหาคือ การเพิ่มคุณค่าสูงสุดอย่างสมเหตุสมผลระหว่างคุณภาพและราคา รวมไปถึงการออกแบบฟังก์ชันภายในบ้านที่สามารถรองรับไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย นับเป็นปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านในกลุ่มคนรุ่นใหม่.

 

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร